บทความ

จัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่  ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา ซึ่งประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (19 มีนาคม 2567) โดยมีหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญาเนื่องจากปัจจุบันอาชญากรรมที่ใช้วิธีการทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีรูปแบบการกระทำความผิดที่ซับซ้อนตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และพยานหลักฐานในคดีส่วนมากอยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับการใช้มาตรการตามกฎหมายนบางกรณีเพื่อป้องกันหรือรับมืออาชญากรรมประเภทนี้และภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยอาศัยคำสั่งศาล ดังนั้น เพื่อให้คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญาและคำร้องขอใช้มาตรการตามกฎหมายได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและทันท่วงที อันจะทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องจัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขึ้นในศาลอาญา โดยมีสาระสำคัญดังนี้ คดีอาชญากรรม

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ ในปัจจุบันการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียมมีความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อันอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกัน หรือรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที สมควรกําหนดลักษณะของภารกิจหรือบริการที่มีความสําคัญ เป็นโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศทั้งหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน ที่จะต้องมีการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในด้านต่าง ๆ รวมทั้งให้มีหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการประสานการปฏิบัติงานร่วมกัน ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าในสถานการณ์ทั่วไปหรือสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง ตลอดจนกําหนดให้มีแผนปฏิบัติการและมาตรการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีเอกภาพและต่อเนื่อง  อันจะทําให้การป้องกันและการรับมือกับภ

ความเป็นมา สมาชิก และเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

เมื่อปี พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็น ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง (Central Provident Fund) จึงนำมาสู่การจัดตั้ง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 โดยข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. เมื่อออกจากราชการหรือเกษียณอายุราชการ จะได้รับเงินก้อน กบข. และบำเหน็จหรือบำนาญ ซึ่งเงินก้อน กบข. เป็นส่วนผสมระหว่างเงินออมของสมาชิก กับเงินสมทบและเงินชดเชยจากบำนาญของรัฐ และผลประโยชน์จากการลงทุนที่ กบข. บริหารจัดการ สมาชิก กบข. ประกอบด้วยข้าราชการ 13 ประเภท ดังนี้   1) ข้าราชการพลเรือน   2) ข้าราชการฝ่ายตุลาการ   3) ข้าราชการฝ่ายอัยการ   4) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานมหาวิทยาลัย   5) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา   6) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ   7) ข้าราชการตำรวจ   8) ข้าราชการทหาร   9) ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ   10) ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง   11) ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน   12) ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต   13) ข้าราชการในพระองค์ เง

ผู้ก่อสร้างคอนโดมิเนียมทำละเมิด เจ้าของโครงการต้องร่วมรับผิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2565)

โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารคอนโดมิเนียมพิพาทและผู้ดำเนินการก่อสร้างโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ  รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมเพื่อก่อสร้างเสาเข็มทำฐานรากอาคารและก่อสร้างอาคารสูง 37 ชั้น ทำให้อาคารเรียนของโจทก์เสียหายและสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ครู นักเรียน และบุคลากรของโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย   จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าประสงค์ให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 เพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใครและมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร  แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยว่าจ้างบุคคลภายนอกรวมทั้งจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้ทำการก่อสร้างคอนโดมิเนียมพิพาท ก็ไม่มีปัญหาให้ต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยตามมาตรา 428 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย (จำเลยฎีกาว่าฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย  แม้จะมิได้ยกขึ้นอ้างในคำให้การ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนด ต่อมาสั่งรับฎีกา จึงไม่ชอบ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2565)

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ จำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์พ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่อาจฎีกาได้ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 (1) , มาตรา 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่มา  - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2565 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง   มาตรา 242 "เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนความและฟังคู่ความทั้งปวง หรือสืบพยานต่อไป ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 240 เสร็จแล้ว ให้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์โดยประการใดประการ

วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ใช้ระบบไต่สวน รวดเร็ว ศาลสืบพยานเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2566)

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ทางไต่สวนข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งเกษตรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบให้ใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้และข้อบังคับของประธานศาลฎีกา…" หาได้ใช้ระบบกล่าวหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแต่อย่างใดไม่  พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 22 บัญญัติว่า "ในคดีที่อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ให้ศาลนำรายงานและสำนวนการสอบสวนหรือสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของโจทก์ มาเป็นหลักในการแสวงหาความจริง และอาจสืบพยา

คู่มือกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยสำหรับประชาชน (โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

รูปภาพ
วันนี้ผมได้อ่านหนังสือ  "คู่มือกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยสำหรับประชาชน"  ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย ตั้งแต่ความหมายของ "พินัย" ความแตกต่างระหว่าง ค่าปรับเป็นพินัย ค่าปรับทางอาญา และค่าปรับทางปกครอง จนถึงการบังคับคดีตามคำสั่งศาล.. ท่านที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดมาอ่านกันได้ฟรีครับ .. คลิกดาวน์โหลด

ผู้พิพากษามีคำสั่งไม่ชอบ ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4257/2566)

คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าว จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221  แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวโดยตรง และรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้  ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้น มีคำสั่งในคำร้องดังกล่าวว่า "สั่งในฎีกา" และมีคำสั่งในฎีกาของจำเลยว่า "จำเลยยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลขยายให้โดยมาแสดงตนต่อศาล รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาฎีกา ปิดได้" จึงไม่ชอบ  ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสีย และมีคำสั่งเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั

คำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุให้ลงโทษปรับรายวัน แต่ฟ้องและคำขอท้ายฟ้องได้อ้างเลขมาตรา ศาลลงโทษปรับรายวันได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2566)

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 52 วรรคหก มาตรา 57 หรือมาตรา 60 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และวรรคสอง บัญญัติว่า “นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 34 หรือมาตรา 57 ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง”  ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะมิได้ระบุคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวัน แต่โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ประกอบมาตรา 65 มาแล้ว และเมื่อฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 21 จึงต้องระวางโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง และลงโทษปรับเป็นรายวันมานั้น จึงไม่เกินคำขอของโจทก์ ที่มา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2566 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2566)

คณะกรรมการ ป.ป.ช. โจทก์ มีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชน จำกัด มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เกินกว่าร้อยละ 50 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีวัตถุประสงค์ทำการขนส่งคน สิ่งของและไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศและกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน มีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการและมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นใดให้ดำเนินกิจการของบริษัทภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหรือมอบอำนาจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรเพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของคณะกรรมการ ขณะเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และได้รับแต่งตั้งจากประธานกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำเลย และภริยาจำเลยเดินทางโดยสารเครื

ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลและในมูลละเมิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2566)

โจทก์จะไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องให้ชัดเจนว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ให้รับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ทำการเป็นตัวแทนหรือทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812  แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด  ซึ่งสหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 37 วรรคสอง และโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ความเกี่ยวพันระหว่างสหกรณ์ น. กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 77  ข้อเท็จจริงที่โจทก

เรียกดอกเบี้ยจากจำเลย ในฐานะผู้ค้ำประกันและฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2566)

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 720,400.35 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 586,686.45 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 21,087.50 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 720,400.35 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของต้นเงิน 607,773.95 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 29 มกราคม 2564) ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินคงเหลือนับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้มีผลบังคับ แต่ดอกเบี้ยทุกช่วงเวลาให้ไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทน ส่วนดอกเบี้ยให้ร่วมรับผิดนับแต่วันที่ 29 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2563 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุ

การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บรายได้จากค่าบริการการใช้สนามบิน (ความเห็นคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่องเสร็จที่ 1055/2566)

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบ และพบว่า พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 25 (16) กำหนดให้กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้จากค่าธรรมเนียมสนามบินตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ ตามอัตราและวิธีการที่คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด จึงหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าบทบัญญัติดังกล่าวอาจเข้าข่ายต้องเร่งรัดดำเนินการออกกฎกระทรวงหรือประกาศ ตาม มาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพัฒนากฎหมายพิจารณาแล้ว มีความเห็นในการให้คำปรึกษาแก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเห็นว่า การกำหนดอัตราและวิธีการในการจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมสนามบินตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ สำหรับเทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 23 (15) และสำหรับกรุงเทพมหานครตามมาตรา 25 (16) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 นั้น โดยที่ พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 255

ร่วมกันลักลอบพาคนต่างด้าวเข้าประเทศ ผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติด้วย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2566)

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 5 (2) มีองค์ประกอบของความผิด คือ สมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดร้ายแรงอันเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติ คำว่า "องค์กรอาชญากรรม" หมายความว่า คณะบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปรวมตัวกันช่วงระยะเวลาหนึ่งและร่วมกันกระทำการใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำความผิดร้ายแรงและเพื่อได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ทางวัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม คำว่า "องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ" หมายความว่า องค์กรอาชญากรรมที่มีการกระทำความผิดซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ความผิดที่กระทำในเขตแดนรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ... และคำว่า "ความผิดร้ายแรง" หมายความว่า ความผิดอาญาที่กฎหมายกำหนดโทษจำคุกขั้นสูงตั้งแต่สี่ปีขึ้นไปหรือโทษที่สถานหนักกว่านั้น  ความผิดฐานร่วมกันนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 63 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ส่วนความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้นและช่วยเหลือคนต่างด้

คำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ขาดอายุความ) (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 689/2565)

เรื่องนี้สืบเนื่องจาก นาย พ. อดีตเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ยื่นฟ้อง สตง. เป็นคดีแพ่ง อ้างว่า เจ้าหน้าที่ของ สตง. ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินในขณะนั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด เป็นเหตุให้นาย พ. ได้รับความเสียหาย จึงขอให้ สตง. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท และได้ยื่นหนังสือถึง สตง. เพื่อขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท สตง. จึงหารือต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าตามคำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว หากเป็นคำขอทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กำหนดระยะเวลายื่นคำขอ จะต้องนำอายุความอาญาที่ยาวกว่าตามมาตรา 448 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับด้วยหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ 2539 บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 5 หรือจะยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 11 ก็ได้ โดยการใช้สิทธิเรียกร้อง ด้วย

การแจ้งคำสั่งทางปกครองทางเว็บไซต์ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 1722/2566)

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ค.ศ. 3 วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2559 ผู้ฟ้องคดีได้เสนอผลงานเพื่อขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ รวม 4 รายการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 13 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2556 และหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ลับ ที่ ศธ 0206.3/ว 1 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ต่อมาเลขาธิการ ก.ค.ศ. ได้มี หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ลับ ที่ ศธ 0206.3/0681 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2562 แจ้งมติของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมิน เนื่องจากมีรางวัลและผลงานไม่ครบ 3 รายการตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีกำหนด กล่าวคือ ผลงานเทียบเคียงของผู้ฟ้องคดี จำนวน 2 รายการ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ต่อมาสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มี หนังสือที่ ศธ 0206.3/0174 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 แจ้งปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเ

ผู้รับจำนำไม่ได้ยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนำ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2566)

จำเลยที่ 1 นำข้าวเปลือกและข้าวสารไปจำนำเป็นประกันหนี้ตามสัญญาสินเชื่อของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ แล้ว โจทก์ทำสัญญาเช่าโกดังของจำเลยที่ 1 เป็นที่เก็บรักษาทรัพย์จำนำ   แม้จำเลยที่ 1 ผู้จำนำมีสิทธิเข้าออกโกดังที่เก็บรักษาทรัพย์จำนำได้ตลอดเวลา แต่สัญญาจำนำไม่ได้ให้สิทธิจำเลยที่ 1 นำทรัพย์จำนำออกไปใช้ประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 ได้ การนำทรัพย์จำนำออกจากสถานที่เก็บรักษาเพื่อการไถ่ถอนทรัพย์จำนำก็ดี การนำทรัพย์จำนำไปขาย จำหน่าย จ่าย โอน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดภาระผูกพันหรือบุริมสิทธิใด ๆ กับทรัพย์จำนำก็ดี หรือการนำทรัพย์จำนำเข้าออกจากสถานที่เก็บรักษาก็ดี ล้วนแต่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ก่อนทั้งสิ้น และไม่ถือว่าทรัพย์จำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด   สัญญารักษาทรัพย์จำนำก็ระบุให้ผู้รักษาทรัพย์จำนำดูแลและรักษาทรัพย์จำนำเพื่อประโยชน์ของโจทก์และแทนโจทก์เท่านั้น อีกทั้งยังระบุไว้ชัดเจนว่าผู้รักษาทรัพย์จำนำมิได้ทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และไม่ได้ครอบครองและดูแลรักษาทรัพย์จำนำแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งผู้รักษาทรัพย์จำนำไม่มีสิทธิเคลื

คำพิพากษาศาลแรงงานที่ไม่มีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2566)

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือ และต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ  ประการแรก ต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป เพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น  ประการที่สอง จะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง  ประการที่สาม คำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดี และถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดั

ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ (สมรสเท่าเทียม ฉบับภาครัฐ)

รูปภาพ
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) ร่างกฎหมายฉบับนี้ เป็นการแก้ไขหลักกฎหมายต่าง ๆ ที่สำคัญจำนวนมาก สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาร่างกฎหมายฉบับนี้หรือต้องการแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ครับ >> ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) >> แสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย โดยผมได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ด้วย หากมีความคืบหน้าที่น่าสนใจเพิ่มเติม ผมจะนำข้อมูลมาอัพเดตนะครับ