บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2023

การรักษาการแทน เลขาธิการ ก.ล.ต.

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) ได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาการแทนเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการ สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตามความมุ่งหมายของกฎหมาย โดยกำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140/ตอนพิเศษ 97 ง/หน้า 1/26 เมษายน 2566) จึงเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันนี้ (27 เมษายน 2566) เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้      - ให้รองเลขาธิการเป็นผู้รักษาการแทนเลขาธิการ     - ถ้ามีรองเลขาธิการหลายคน ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งรองเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน     - กรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนดังกล่าว ให้รองเลขาธิการที่มีอาวุโสสูงสุดตามลำดับเป็นผู้รักษาการแทน 2. อำนาจหน้าที่ของผู้รักษาการแทน     - ผู้รักษาการแทนเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเลขาธิการ     -  กรณีมีกฎหมายหรือคำสั่งอื่น แต่งตั้งเลขาธิการเป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือกำหนดให้เลขาธิการมีอำ

บังคับคดีจากกองมรดกได้ภายใน 10 ปี ไม่ใช่เรื่องฟ้องคดีมรดก 1 ปี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16195/2556)

โจทก์ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ และเมื่อจำเลยถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของจำเลยเพิ่ม  เป็นกรณีที่โจทก์ ขอให้ดำเนินการบังคับคดีเอาจากกองมรดก ของจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 (เดิม) ซึ่งโจทก์ มีสิทธิที่จะดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลา 10 ปี ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ที่มา - คำพิพากษาฎีกาที่ 16195/2556 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง   มาตรา 271 (เดิม) "ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา)มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบั

ธุรกิจรับทำงานการต่าง ๆ เรียกเอาเงิน (หนี้บัตรเครดิต) ที่ออกทดรองไปก่อน มีอายุความ 2 ปี (คำพิพากษาฎีกาที่ 1609/2540 ประชุมใหญ่)

โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรจากสมาชิก จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์และนำบัตรเครดิตดังกล่าวไปใช้เบิกเงินสดจากโจทก์ใช้ชำระค่าสินค้าและค่าบริการแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสด โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน แล้วจึงเรียกเก็บจากสมาชิกในภายหลัง ก็เป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) ที่มา  - คำพิพากษาฎีกาที่ 1609/2540 (ป) , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 193/34 "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี   (1) ...   ...   (7) บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน (1) แต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำงานการต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรอ