บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2023

กำหนดเวลาเปิด-ปิดสถานบริการ

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของคำว่า "สถานบริการ" หมายถึง สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้า และมาตรา 17 บัญญัติให้การกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ การจัดสถานที่ภายนอกและภายในเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อความสะอาดหรือเพื่อความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ การใช้โคมไฟหรือการให้พนักงานติดหมายเลขประจำตัวในสถานบริการ เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  สำหรับการกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการในแต่ละประเภท เป็นไปตาม กฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ซึ่งสรุปวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการได้ดังนี้ (1) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง เป็นปกติธุระประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ     - สถานบริการที่ตั้งอยู่ ในเขต พื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยพระราชกฤษฎีกา ให้เปิดทำการได้ ระหว่างเวลา 21.00 น. ถึง 02.00 น. ของวันรุ่งขึ้น     - สถานบริการที่ตั้งอยู่ นอกเขต พื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ หรือ

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 2566

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ได้มีการเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็น กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ เป็นหน่วยงานเพื่อรองรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ตามพ ระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 รวมทั้งได้มีการออก  กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 โดยกำหนดให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมีหน้าที่และอำนาจดังนี้ 1. เสนอแนะและจัดทำนโยบายล แผน และมาตรการ เกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และขับเคลื่อนการปฏิบัต

อดีต-ปัจจุบัน โรคต้องห้ามของการเป็นข้าราชการ (อัพเดต กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566)

ในอดีต กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้ ให้อำนาจ  คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนดโรคที่เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน   โดย ในยุคนั้นได้มีการออก กฎ ก.พ. ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ว่าด้วยโรค  กำหนดห้ามบุคคลที่เป็นโรค 4 ชนิด เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน  ได้แก่   1. โรคเรื้อน   2. วัณโรคในระยะอันตราย   3. โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง   4. โรคพิษสุราเรื้อรัง ต่อมา ได้มีการยกเลิกกฎ ก.พ. ฉบับนี้ และให้ใช้ กฎ ก.พ. ฉบับที่ 155 (พ.ศ. 2500) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ว่าด้วยโรค ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติม โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม เป็นโรคที่ต้องห้ามอีก 1 โรค รวมกับโรค 4 ชนิดเดิม เป็น 5 ชนิด  ภายหลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจึงได้ออก กฎ ก.พ. เพื่อกำหนดโรคที่ต้องห้ามสำหรับการเป็นข้าราชการพลเรือนขึ้น คือ กฎ ก.พ. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบีย

การชำระหนี้ด้วยเหรียญกษาปณ์

รูปภาพ
พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 11 บัญญัติให้ เหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้จะต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดตามกฎกระทรวง ซึ่งมีกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องหลายฉบับกำหนดให้สามารถชำระหนี้ด้วยเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่าง ๆ ในแต่ละคราวสรุปได้ดังนี้ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน เหรียญ 1 สตางค์ ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 5 บาท เหรียญ 5 , 25 , 50 สตางค์ ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 10 บาท เหรียญ 1 , 2 , 5 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 500 บาท เหรียญ 10 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 1,000 บาท เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญ 20 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 500 บาท เหรียญ 50 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 1,000 บาท เหรียญ 100 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 2,000 บาท เหรียญ 150 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 3,000 บาท การกำหนดจำนวนการใช้เหรียญในแต่ละครั้งก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกลั่นแกล้งกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในการชำระหนี้  เหรียญที่ระลึก 130 ปี องค์กรอัยการ จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ เหรียญที่ระลึก 130 ปี องค์กรอัยการ จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ สำหรับเหรียญกษาปณ์เนื้อเงิน ราคาตั้งแต่ 200 บาท ขึ้นไป และเหรียญกษ