บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2022

อายุความเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กรณีมีการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา

รูปภาพ
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้มีความเห็นเรื่องอายุความในการดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีทั่วไปและกรณีมีการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ดังนี้ 1. กรณีทั่วไป การเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อหน่วยงานของรัฐ ต้องกระทำภายในกำหนด อายุความ 2 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  เว้นแต่กรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนด อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง แต่ทั้งนี้ในทุกกรณีต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ "การรู้"  ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดัง กล่าว อาจรู้ได้ใน 2 กรณี คือ  1) รู้ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ หรือ 2) รู้จากรายงานผลการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดโดยคณะกร

ระบายรหัสประจำตัวสอบผิด ยังมีสิทธิได้รับคะแนน (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.479/2558)

รูปภาพ
คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการครู ได้เข้าสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา ผลการสอบภาค ก. ไม่มีชื่อผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงขอดูผลคะแนนสอบ ทำให้ทราบว่าตนทำข้อสอบวิชาภาคเช้าได้ 62 คะแนน แต่ระบายรหัสประจำตัวสอบผิด ส่วนวิชาภาคบ่ายได้ 67 คะแนน ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่นำคะแนนในวิชาที่ระบายรหัสประจำตัวสอบผิดมารวมกับคะแนนอีกวิชา ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่มีชื่อเป็นผู้สอบผ่านภาค ก. ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แนวปฏิบัติในการตรวจกระดาษคำตอบและประมวลผลการสอบแข่งขันด้วยเครื่องจักร ที่นำมาใช้ขณะเกิดข้อพิพาท เป็นระเบียบภายในเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจกระดาษคำตอบและประมวลผลการสอบ แต่การคัดเลือกข้าราชการครู เพื่อดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถของผู้เข้ารับการคัดเลือก การกระทำที่จะมีผลถึงขนาดให้การทดสอบความรู้ความสามารถเสียไป ต้องเป็นการกระทำที่กระทบต่อสาระสำคัญของการทดสอบความรู้ความสามารถ เช่น การทุจริตในการสอบ ดังนั้น การระบายรหัสประจำตัวสอบไม่ตรงกับเลขรหัสประจำตัวสอบ ไม่กระทบต่อสาระสำคัญของการทดสอบ

ริบรถพ่วงและตัวรถกึ่งพ่วง ซึ่งบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2562)

รูปภาพ
คดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 61 วรรคหนึ่ง มาตรา 73/2 และริบของกลางคือ รถบรรทุกพ่วง และตัวรถกึ่งพ่วง เนื่องจากบรรทุกน้ำหนักเกิน 800 กิโลกรัม ผู้ร้องยื่นคำร้อง ขอให้คืนรถบรรทุกพ่วงและตัวรถกึ่งพ่วงของกลางแก่ผู้ร้อง พนักงานอัยการโจทก์ ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ผู้ร้องฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถบรรทุกพ่วง และตัวรถกึ่งพ่วง ของกลาง จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง วันเกิดเหตุจำเลยนำรถบรรทุกพ่วงและตัวรถกึ่งพ่วงของกลางไปบรรทุกมันสำปะหลังไปส่งที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในทางการที่จ้าง ระหว่างทางเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยในข้อหาใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบรถบรรทุกพ่วงและตัวรถกึ่งพ่วงของกลาง คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องและนางสาว น.ประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางการเกษตรร่วมกัน  การท

ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะกำหนดโทษ จึงไม่ต้องให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8387/2563)

รูปภาพ
ในคดีอาญาหากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะกำหนดโทษได้แล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยก็ได้ เป็นดุลพินิจของศาล คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 336 ทวิจำเลยให้การรับสารภาพ  ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (8) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้วางโทษจำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือน ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 9 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยฎีกาขอให้มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยนั้น เห็นว่า ในคดีอาญาเมื่อศาลเห็นสมควรจะสั่งให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจจำเลยหรือไม่ก็ได้ อันเป็นดุลพินิจของศาล ไม่มีกฎหมายบังคับว่

ประเภทของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

รูปภาพ
กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ 1. พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เป็นการคุ้มครองสิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะทำการใด ๆ ต่องานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ได้แก่ งานวรรณกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานสิ่งบันทึกเสียงและงานแพร่เสียงแพร่ภาพ 2. พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ทรงสิทธิจะได้รับความคุ้มครองในสิ่งประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้น 3. พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้น ๆ มีผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า และทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าได้ 4. พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 กฎหมายมุ่งคุ้มครองข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยปกติเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ 5. พ.ร.บ.คุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวม พ.ศ. 2543 ผู้ออกแบบผังภูมิที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเองและไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรม และแบบผังภูมิที่ผู้ออกแบบได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ 6

ใส่รหัส (PIN) เบิกถอนเงินสด เท่ากับลงลายมือชื่อตามกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8089/2556)

รูปภาพ
ตัวอย่างคดีนี้ มีปัญหาว่า การที่จำเลยเบิกเงินสดจากเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เป็นการกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานการกู้ยืม อันจะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ? ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อจำเลยนำบัตรกดเงินสด ไปใช้เบิกถอนเงินสดรวม 8 ครั้ง ซึ่งการถอนเงินสดดังกล่าวจำเลยจะต้องทำตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือการใช้บริการ ต้องใส่รหัสผ่าน (PIN) 4 หลัก เลือกรายการถอนเงินจากบัญชีสินเชื่อเงินสด เลือกระยะเวลาการผ่อนชำระ 6 ถึง 36 เดือน ระบุจำนวนเงินที่ต้องการ (5,000 ถึง 20,000 บาท ต่อรายการ) และรับเงินสดพร้อมสลิปไว้เป็นหลักฐานซึ่งในสลิปจะปรากฏอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในแต่ละครั้งอยู่ด้วย แสดงว่า จำเลยสมัครใจกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามเงื่อนไขที่โจทก์กำหนด กรณีดังกล่าว ถือเป็นธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 4 มีผลใช้บังคับตามมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับมาตรา 8 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า

ไม่แสดงหลักฐานว่าได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อใด ต้องสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 249/2558 ประชุมใหญ่)

รูปภาพ
คดีนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้มี หนังสือลงวันที่ 27 กันยายน 2554 แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยให้ผู้ฟ้องคดีทราบ ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า ได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2554 แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้แสดงพยานหลักฐานประกอบข้ออ้างดังกล่าว จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2554 จริง และเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ตั้งแต่เมื่อใด จึงต้องสันนิษฐาน ตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่บัญญัติให้ การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น ดังนั้น จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์อย่างช้า ในวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ผู้ฟ้องคดีจึงต้องยื่นฟ้องภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่เนื่องจากวันครบกำหนดดังกล่าวจนถึงวันที่ 3 มกราคม 2555 เป็นวันหยุดราชการ ผู้ฟ้องคดีจึงต้องยื่นฟ้องภายในวันท