บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2020

การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด กรณีบุคคลภายนอกฟ้องคดีเรียกให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชดใช้เงินฐานผิดสัญญาหรือฐานละเมิด

รูปภาพ
     กรณีบุคคลภายนอกฟ้องคดีเรียกให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชดใช้เงินไม่ว่าจะเป็นการฟ้องในฐานผิดสัญญาหรือฐานละเมิดก็ตาม จะต้องดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดหรือไม่ อย่างไรนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีความเห็น เรื่องเสร็จที่ 757/2552 ดังนี้       1.กรณีบุคคลภายนอกฟ้องคดีเรียกให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชดใช้เงินในฐานละเมิด (เช่นฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก) ผู้มีอำนาจจะต้องดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ตามข้อ 35 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยไม่จำต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือรอให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนว่าหน่วยงานของรัฐจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกหรือไม่      เนื่องจากระเบียบดังกล่าว มีเจตนารมณ์ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดขึ้น ทำหน้าที่สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดแล้วเสนอความเห็นต่อผู้แต่งตั้งเพื่อพิจารณาตัดสินใจในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ว่าความเสียหายตามที่บุคคลภายนอกกล่าวอ้างในคำฟ้องนั้น เกิดจาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6518/2562 : ชำระเงินตามสัญญาประกันโดยรู้ว่าไม่มีความผูกพัน

รูปภาพ
     ฎีกาของผู้ประกันเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกัน ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า การที่ผู้ประกันนำเงิน 500,000 บาท มาชำระตามสัญญาประกันในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 ทั้งที่ผู้ประกันอ้างในคำร้องฉบับลงวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ว่า ศาลชั้นต้นสิ้นสิทธิในการบังคับคดีเพราะไม่บังคับคดีภายใน 10 ปี จึงเป็นเรื่องที่ ผู้ประกันชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407       การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ประกัน ย่อมเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ที่มา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6518/2562 #นักเรียนกฎหมาย 9 มิถุนายน 2563

ความหมายของคณะกรรมการ

รูปภาพ
     คณะกรรมการ คือ กลุ่มบุคคลที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ดำเนินการด้านบริหารหรือกระทำการบางอย่างโดยมีเป้าหมายร่วมกัน มีความสัมพันธ์ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเป็นอิสระในการแลกเปลี่ยนแนวความคิดระหว่างกรรมการด้วยกัน รวมทั้งต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน       โดยสมาชิกในคณะกรรมการมักจะถูกกำหนดให้การทำงานในรูปคณะกรรมการเป็นพิเศษจากการทำงานตามปกติ ซึ่งในทางการบริหารนั้น ถือว่าคณะกรรมการเป็นการกระทำของกลุ่ม และถือว่าคณะกรรมการเป็นกลุ่มก่อให้เกิดการรวมพลัง ผลรวมของงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานเป็นกลุ่มย่อยมีมากกว่าผลรวมของงานที่เกิดจากต่างคนต่างทำในทางทฤษฎี       คณะกรรมการเป็นกลุ่มบุคคลที่เกิดจากการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ มีหน้าที่และอำนาจหรือภาระที่ได้รับมอบหมายอย่างชัดเจน อาจได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการถาวรหรือคณะกรรมการถาวรเฉพาะกิจก็ได้ ที่มา เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง บทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการ โดยกองหลักนิติบัญญัติ และสถาบันพัฒนานักกฎหมายมหาชน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (พ.ศ. 2561) #นักเรียนกฎหมาย 5 มิถุนายน 2563

คำคม วารสารจุลนิติ

รูปภาพ
#คำคม วารสารจุลนิติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 5 กันยายน-ตุลาคม 2562  (ดาวน์โหลดไฟล์ทั้งฉบับ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5715/2562 : ตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญโดยละเมิดลิขสิทธิ์

รูปภาพ
     ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้ประกอบการร้านคาราโอเกะ แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยมิได้อยู่ในร้าน แต่จำเลยในฐานะเจ้าของร้านซึ่งประกอบกิจการร้านคาราโอเกะ ย่อมมีหน้าที่ ต้องตรวจตราดูแลและควบคุมการดำเนินกิจการของร้านให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและไม่ผิดกฎหมาย       การที่จำเลยเป็นผู้ติดต่อให้เจ้าของตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญที่มีงานเพลงซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาติดตั้งที่ร้านคาราโอเกะของจำเลย จำเลย ย่อมอยู่ในวิสัย ที่จะตรวจสอบได้ว่างานเพลงที่ติดตั้งในหน่วยความจำของตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือไม่  จำเลยจึงรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานดังกล่าวทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย         เมื่อมีการเปิดเพลงดังกล่าวจากตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญโดยแบ่งปันผลประโยชน์กัน (เพลงละ 5 บาท) จึงเป็นความผิดสำเร็จ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเพื่อหากำไรอันเป็นการกระทำเพื่อการค้า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง จำคุก 3 เดือน ป