บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2022

การอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือห้องเรียนโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ (ใช้บังคับ 1 พ.ย. 2565)

รูปภาพ
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ออก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ พ.ศ. 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ให้สอดคล้องกับสภาพบริบทปัจจุบันของโรงเรียนหรือห้องเรียน ที่มีความจำเป็นต้องใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการและช่วยลดความสูญเปล่าของงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อสื่อการเรียนรู้ที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงกับโรงเรียนหรือห้องเรียนเหล่านั้นได้ ระเบียบฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ต่อมาได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้ "สื่อการเรียนรู้" หมายความว่า หนังสือเรียน แบบฝึกหัด ชุดการเรียนรู้ หนังสือเสริมประสบการณ์ สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาอื่น ๆ สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนหรือ

ผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2564)

รูปภาพ
อันโมฆะกรรมนั้นเป็นการกระทำที่เสียเปล่า ไม่มีผลอย่างใดในทางกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ทั้ง ผู้มีส่วนได้เสียไม่จำกัดเฉพาะคู่กรณีที่ทำนิติกรรมเท่านั้น แต่บุคคลใดที่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์อันเกี่ยวกับโมฆะกรรม ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งสิ้น  ดังนี้ หากจำเลยที่ 1 บังคับคดียึดทรัพย์จำนอง ที่ดินพิพาทขายทอดตลาดในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิ มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่เป็นโมฆะ (โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเสียก่อน) ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา