บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2022

ผู้ประกันตนฟ้องเรียกเงินบำนาญชราภาพ ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.15/2564)

รูปภาพ
ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ประกันตน ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ ประเภทเงินบำนาญชราภาพต่อสำนักงานประกันสังคม ผู้ถูกฟ้องคดี  แต่ผู้ถูกฟ้องคดีสั่งจ่ายเงินบำนาญชราภาพสำหรับปี 2562 ให้แก่ผู้ฟ้องคดี เป็นระยะเวลา 11 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงธันวาคม 2562  ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การสั่งจ่ายเงินบำนาญชราภาพดังกล่าว เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากยังขาดเงินบำนาญชราภาพของเดือนมกราคม 2562 อีก 1 เดือน จึงนำคดีมาฟ้อง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินบำนาญชราภาพที่ยังขาดอยู่ ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสั่งจ่ายเงินบำนาญชราภาพ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่พอใจในคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และหากผู้ฟ้องคดียังไม่พอใจผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องยังศาลแรงงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ตามมาตรา 85 วรรคหนึ่ง และมาตรา 87 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ข้อพิพาทในคดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศา

ความเห็นของกระทรวงการคลังในการตรวจสอบสำนวนการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ถือเป็นวัตถุแห่งคดี (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 290/2559 (ประชุมใหญ่))

รูปภาพ
เมื่อหน่วยงานของรัฐส่งสำเนารายงานการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดไปให้กระทรวงการคลังพิจารณา ตามข้อ 17 วรรคสอง ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 แล้ว กระทรวงการคลังมีความเห็นเช่นใด หน่วยงานของรัฐต้องมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ตามข้อ 18 วรรคหนึ่ง ของระเบียบดังกล่าว  โดยหน่วยงานของรัฐไม่มีอำนาจมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น   ความเห็นของกระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง จึงเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เนื่องจากก่อให้เกิดคำสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเป็นวัตถุแห่งคดีที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอน ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิฟ้องกระทรวงการคลังหรือกรมบัญชีกลาง ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ประกอบกับกรณีนี้ หากศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในส่วนที่ฟ้องกระทรวงการคลังหรือกรมบัญชีกลางไว้พิจารณา ก็จะทำให้กระทรวงการคลังหรือกรมบัญชีกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองที่มีความเห็นให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ได้เข้ามาต่อสู

ฟ้องเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 95/2554 (ประชุมใหญ่))

รูปภาพ
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง เป็นขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวหา  ซึ่งต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ ต้องรายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยตามข้อกล่าวหาหรือไม่ การที่ผู้ถูกกล่าวหานำคดีมายื่นฟ้องต่อศาล เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง โดยที่ ผู้บังคับบัญชายังมิได้วินิจฉัยว่าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยตามข้อกล่าวหาและมีคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาจึงยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น) ที่มา - คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 95/2554 (ประชุมใหญ

ฟ้องเพิกถอนการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2564)

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น  เมื่อข้อบังคับจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ระบุว่า หุ้นของบริษัทเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อ ส่วนข้อ 3 ระบุด้วยว่า การโอนหุ้นนั้น ผู้จะโอนจะต้องบอกกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อน และหลังจากนั้นแล้ว 30 วัน หากไม่มีผู้ใดประสงค์จะรับโอน จึงจะโอนให้แก่บุคคลภายนอกได้ และจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการด้วย  แม้จำเลยที่ 1 ไม่มีการจัดทำใบหุ้นให้ผู้ถือหุ้นแต่ละราย แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ด้วย และแม้จำเลยที่ 1 ไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการ แต่เมื่อ ข้อบังคับบริษัทซึ่งได้จดทะเบียนไว้และผูกพันเป็นสัญญาในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท กำหนดให้การโอนหุ้นต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ย่อมเป็นหน้าที่ของบริษัทต้องดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริษัทเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับ  การไม่มีคณะกรรมการบริษัท มิใช่เหตุที่จะยกขึ้นปฏิเสธการปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกั

หนังสือทวงถามให้ชำระเงิน ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 427/2559 (ประชุมใหญ่))

รูปภาพ
หนังสือของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือเกินสิทธินั้น เป็นเพียงหนังสือทวงถามให้ชําระเงิน ไม่มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าผู้ออกหนังสือมีเจตนาที่จะให้หนังสือดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่อาจนำมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือดังกล่าวได้ ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบกับมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่มา คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 427/2559 (ประชุมใหญ่)

ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 458/2558 (ประชุมใหญ่))

รูปภาพ
คดีก่อนห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในคดีนี้ ได้ยื่นฟ้องกรมชลประทานซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีในคดีนี้ เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองบางแก้ว ตามสัญญาลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 โดยคดีดังกล่าว ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ได้มีคำขอให้กรมชลประทานชำระค่าจ้างงานงวดที่ 6 และงวดที่ 7 และขอให้คืนเงินประกันผลงานและหนังสือค้ำประกัน ส่วนคดีนี้กรมชลประทานเป็นผู้ฟ้องคดี ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. นาย ธ. หุ้นส่วนผู้จัดการ และบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ค้ำประกัน ให้ร่วมกันชำระค่าปรับอันเกิดจากการผิดสัญญาก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองบางแก้ว ตามสัญญาลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 เหตุแห่งข้อพิพาททั้ง 2 คดี จึงเป็นข้อพิพาทตามสัญญาทางปกครองฉบับเดียวกัน ส่วนประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยก็เป็นประเด็นเดียวกัน คือห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ได้ส่งมอบงานตามสัญญาจ้างล่าช้า ซึ่งจะต้องรับผิดชำระค่าปรับเป็นเงินเท่าใด ส่วนกรมชลประทานซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างต้องชำระค่าจ้างแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ตามผลงานจำนวนเท่าใด ประเด็นข้อพิพาททั้ง 2 คดี จึงเป็นประเด็นเดียวกัน  เมื่อคดีก่อน ศาลปกครองชั้นต้นได้พ

ฟ้องเพิกถอนกฎที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องฟ้องภายใน 90 วัน (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.260/2564)

รูปภาพ
ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน ประกาศกรมศุลกากร ที่ 17/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยื่น การพิจารณา และการแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดของ และพิกัดอัตราศุลกากร ล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม 2561 การฟ้องคดีในข้อหานี้ ต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เมื่อประกาศดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 3 เมษายน 2561 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2561 กรณีจึงต้องถือว่า ผู้ฟ้องคดีรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ในวันที่ 3 เมษายน 2561 อันเป็นวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา การที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลในวันที่ 2 กันยายน 2563 จึงเป็นการยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่มา คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.260/2564

สัญญาเช่าพื้นที่จำหน่ายอาหาร ภายในศูนย์อาหารของเทศบาล ไม่ใช่สัญญาทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 48/2564)

รูปภาพ
เทศบาลตำบล (ผู้ฟ้องคดี) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มีสถานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามบทนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แม้เทศบาลตำบลกับผู้ถูกฟ้องคดี จะได้ทำ  สัญญาเช่าพื้นที่จำหน่ายอาหารภายในศูนย์อาหารตลาดสดของเทศบาลตำบล ก็ตาม แต่วัตถุประสงค์ในการทำสัญญา นี้ เป็นเพียงการยินยอมให้ผู้ถูกฟ้องคดีเข้าใช้พื้นที่ของผู้ฟ้องคดี เพื่อจำหน่ายอาหารให้แก่ประชาชนผู้มาใช้บริการภายในศูนย์อาหารตลาดสดของผู้ฟ้องคดีเท่านั้น และผู้ถูกฟ้องคดีตกลงชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นการตอบแทน จึงมีลักษณะเป็นการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ ดังเช่นผู้ประกอบกิจการธุรกิจทั่วไป "มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือมีลักษณะเป็นสัญญาที่ผู้ฟ้องคดีตกลงให้ผู้ถูกฟ้องคดีเข้าดำเนินการ หรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะของผู้ฟ้องคดีโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญาซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐแต่อย่างใด"  สัญญาเช่าพื