บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2021

ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในคดีอาญา เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2564)

รูปภาพ
จำเลยฎีกาว่า จ่าสิบเอก ก. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน โดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจจากกองทัพบก ผู้เสียหาย ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในคดีอาญา แม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง แต่เมื่อปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 อย่างไรก็ตาม ความผิดฐานรับของโจร ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย และฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดต่อแผ่นดิน พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนในความผิดดังกล่าวได้เอง โดยไม่จำต้องอาศัยคำร้องทุกข์หรือการมอบคดีจากผู้เสียหาย  แม้จ่าสิบเอก ก. ร้องทุกข์โดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย ไม่มีผลกระทบต่ออำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน ซึ่งสามารถดำเนินการสอบสวนความผิดดังกล่าวได้โดยชอบ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบ

ศาลชั้นต้นไม่ส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงให้ผู้พิพากษาสั่ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2564)

รูปภาพ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และนับโทษต่อจากคดีอื่น ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง  จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและให้นับโทษต่อ ตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาและสั่งคำร้องดังกล่าว ซึ่งรวมถึงผู้พิพากษา ช. ส. และ ธ. ด้วย  แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ผู้พิพากษาดังกล่าว ศาลฎีกาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่า ช. และ ส. เกษียณราชการแล้ว จึงไม่อาจสั่งคำร้องดังกล่าวได้ คงเหลือ ธ. ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในชั้นไต่ส่วนมูลฟ้องที่ยังไม่ได้พิจารณาคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการตามความประสงค์ของจำเลยให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการ

หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป

รูปภาพ
หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป 7 ประการ คือ 1. หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ส่งมอบ และส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 642 บัญญัติว่า "ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบ และค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย" - ค่าส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สิน ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ยืมจะต้องเป็นผู้เสีย - การส่งมอบและส่งคืน ถ้าไม่ได้กำหนดสถานที่ใดไว้ ต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ที่ทรัพย์นั้นอยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น ตามมาตรา 324 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมิได้มีแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะพึงชำระหนี้ ณ สถานที่ใดไซร้ หากจะต้องส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น ส่วนการชำระหนี้โดยประการอื่น ท่านว่าต้องชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้" 2. หน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์สิน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือน

ผู้ยืมต้องรับผิดเมื่อทำผิดหน้าที่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7416/2548)

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม เฉพาะแต่ในกรณีผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้

สิทธิคนพิการด้านการศึกษา ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on thi Rights of Persons with Disabilities : CRPD)  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2551 เพื่อส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งปวง ส่งเสริมการเคารพในศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิด ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ข้อ 24 ได้กำหนดสิทธิด้านการศึกษาไว้ดังนี้ 1. รัฐภาคียอมรับสิทธิของคนพิการด้านการศึกษา และเพื่อให้สามารถใช้สิทธิเหล่านี้ได้จริงโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ และบนพื้นฐานของโอกาสที่เท่าเทียมกัน ให้รัฐภาคีประกันการมีระบบการศึกษาแบบเรียนร่วมในทุกระดับและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมุ่งเพื่อ    (A) การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์และการสำนึกในศักดิ์ศรีและคุณค่าของตนอย่างเต็มที่ และการเสริมสร้างการเคารพในสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐานและความหลากหลายของมนุษย์    (B) การให้คนพิการได้พัฒนาบุคลิกภาพ พรสวรรค์ และความคิดสร้างสรรค์ของตน รวมทั้งความสามารถด้านจิตใจและร่างกายให้ถึงศักยภาพสูงสุด    (C) การให้คนพิการสามารถเข้ามีส่วนร่วมในสังคมเสรีได้อย่างมีประสิทธิผล

รูปภาพกฎหมาย (หน้า 9)

รูปภาพ

สถานที่เกิดมูลหนี้เดิม เป็นสถานที่มูลคดีตามเช็คเกิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2548)

รูปภาพ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร โดยทำสัญญาและก่อสร้างอาคารที่ จังหวัดเชียงใหม่ และจำเลยได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค ธนาคารทหารไทย จำกัด สาขาท่าอากาศยาน ในท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ลงวันที่สั่งจ่าย 15 กรกฎาคม 2536 จำนวนเงิน 2,693,970 บาท มอบให้โจทก์ ตามมูลหนี้ค่าก่อสร้างเกี่ยวกับสัญญาจ้างดังกล่าว ถือว่ามูลคดีตามเช็คเกิดจากสัญญาจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง   มูลหนี้จึงเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1) ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2548, ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 บัญญัติว่า "เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น   (1) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่   (2) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่

คุณสมบัติพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

รูปภาพ
ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (1) เป็นข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ หรือประเภททั่วไประดับชำนาญงาน หรือเทียบเท่า (2) เคยปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การตรวจแรงงาน การตรวจสถานประกอบการ การตรวจคุ้มครองคนหางาน การคุ้มครองสิทธิเด็ก สตรี คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน หรือการจัดสวัสดิการสังคม มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี (3) ผ่านการอบรมการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามหลักสูตรที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และปลัดกระทรวงแรงงานให้ความเห็นชอบ อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าราชการตาม (1) ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ รองหัวหน้าส่วนราชการ ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงแรงงาน อาจได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยไม่ต้องผ่านหลักสูตรตาม (3) แต่ต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุ

ศาลแพ่ง "แผนกคดีซื้อขายออนไลน์"

รูปภาพ
คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)  ได้ออกประกาศให้จัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง เนื่องจากปัจจุบันการซื้อขายสินค้าหรือบริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นที่แพร่หลายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อพิพาทตามมาเป็นจำนวนมาก แต่ช่องทางระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อการที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงได้โดยสะดวก เป็นผลให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สุจริต  จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ขึ้นในศาลแพ่ง ให้เป็นระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ ซึ่งผู้ที่มีข้อพิพาทอันเกิดจากการบริโภควิถีใหม่ สามารถเข้าถึงศาล และใช้สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเองได้โดยสะดวก เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างเป็นธรรมและเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยยกระดับมาตรฐานการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศ ให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้อีกทางหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. คดีซื้อขายออนไลน์ หมายความว่า คดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 (1) ที่เก

ข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2564)

รูปภาพ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นต่อประชาชนและต่อผู้เสียหาย ในลักษณะเป็นขบวนการ มีการวางแผนร่วมกันเป็นขั้นตอน (แก๊ง call center) ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 , 83 , 92 , 341 , 342 , 343 และเพิ่มโทษ จำเลยทั้งสี่ ให้การรับสารภาพในข้อหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 , 342 แต่ปฏิเสธข้อหาตามมาตรา 343 และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ต่อมาในชั้นฎีกา จำเลยที่ 2 และที่ 4 ยื่นฎีกาว่า จำเลยทั้งสองได้ทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับประโยชน์หรือมีส่วนในเงินของผู้เสียหาย และโจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้หลอกลวงผู้เสียหาย อันเป็นฎีกาในทำนองว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงผู้เสียหาย เห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 อ้างขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง ที่รับว่าจำเลยทั้งสองร่วมกับพวกฉ้อโกงผู้เสียหายโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตา

หน่วยงานของรัฐออกคำสั่งผิดพลาดร้ายแรง ถือว่าไม่มีการออกคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.47/2546 ประชุมใหญ่)

รูปภาพ
คดีปกครองเรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีกับพวกได้กำหนดค่าปรับผู้รับจ้างต่ำกว่าข้อกำหนดในประกาศสอบราคา เป็นเหตุทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย  หน่วยงานของรัฐ (ผู้ถูกฟ้องคดี) จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และมีความเห็นว่าผู้ฟ้องคดีกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ร้ายแรง ความเสียหายที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และผู้ถูกฟ้องคดีก็ไม่มีอำนาจเรียกให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามนัยมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 การที่ผู้ถูกฟ้องคดี มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้เงินจากความเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจ และขัดต่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ถือเป็นการกระทำที่มีลักษณะผิดพลาดอย่างชัดแจ้งและร้ายแรงในทางกฎหมาย จึงถือเสมือนว่าไม่มีการออกคำสั่งทางปกครอง ศาลปกครองจึงไม่จำต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว เพราะคำสั่งนั้นย่อมไม่มีผลบ

สัญญาจ้างแรงงานไม่ต้องทำเป็นหนังสือ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2564)

รูปภาพ
สัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น ซึ่งคดีนี้ศาลฎีกาได้อธิบายความหมายของสัญญาจ้างแรงงาน และพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น โดยวินิจฉัยว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ไม่ได้บัญญัติว่า สัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น  สัญญาจ้างแรงงานย่อมเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน โดยฝ่ายหนึ่งตกลงทำงานและอีกฝ่ายหนึ่งตกลงจ่ายสินจ้างหรือค่าตอบแทนการทำงานตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้ เมื่อปรากฏว่า โจทก์ยื่นใบสมัครงานต่อจำเลย ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล และระบุเงินเดือนที่ต้องการ ใบสมัครงานเป็นการแสดงเจตนาทำคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยสัมภาษณ์งานโจทก์ โดยมีผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของจำเลยร่วมสัมภาษณ์  เมื่อโจทก์ผ่านการสัมภาษณ์รอบแรก และได้รับแบบทดสอบจากจำเลย เมื่อโจทก์ทำแบบทดสอบเสร็จแล้ว ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลนำแบบทดสอบไปให้ ภ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย แล้วนำโจทก์ไปที่ห้องสัมภาษณ์อีกครั้งหน่ง มี ภ. กับผู้จัดการโรงงานในเครือของจำเลยเข้าร่วมรับฟังอยู่ด้วย จนกระทั่ง ภ. เขีย

ผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ข้อมูลไม่เป็นประโยชน์แก่การปราบปราม ไม่มีเหตุให้ศาลกำหนดโทษน้อยลง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2564)

รูปภาพ
ข้อเท็จจริงในคดี ปรากฏว่า ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 (ปัจจุบันคือ ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 153)  โดยอ้างว่า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 จำเลยที่ 2 ถูกจับกุมฐานมียาเสพติดให้โทษ ประเภท 1 จำนวน 39 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ที่ ต.ห้วยเหนือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ และได้ให้ข้อมูลว่าได้ซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนอีก 2,000 เม็ด ไว้ที่บ้านของตนเองที่ ต.ดองกำเม็ด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ จึงพาเจ้าหน้าที่ไปตรวจพบในวันเดียวกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อมูลที่ผู้กระทำความผิดให้ต่อเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ต้องเป็นข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์ที่จะนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษรายอื่น หรือนำไปสู่การยึดได้ยาเสพติดให้โทษจำนวนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของกลางในคดี และเจ้าพนักงานไม่สามารถค้นพบหรือยึดได้ หากไม่ได้รับข้อมูลจากผู้กระทำความผิด เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้ทั้งสองครั้งเป็นจำนวนเดียวกัน จำเลยที่ 2 ม

จำเลยได้รับเงินเดือนเกินสิทธิ หน่วยงานราชการมีสิทธิติดตามทรัพย์สินคืนโดยไม่มีอายุความ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2564)

รูปภาพ
การจ่ายเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หน่วยงานราชการจะต้องเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ หากมีการจ่ายเกินไป ก็ย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินงบประมาณแผ่นดินคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ลูกจ้างผู้ได้รับเงินเกินสิทธิ จะต่อสู้ว่าได้รับเงินในฐานลาภมิควรได้ ตามมาตรา 406 ไม่ได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2564 คดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นหน่วยงานราชการ ได้จัดระบบลูกจ้างใหม่ตามแนวทางของกระทรวงการคลัง แต่ดำเนินการไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการจ่ายค่าจ้างและเลื่อนขั้นค่าจ้างให้แก่จำเลยไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยจ่ายเงินสูงกว่าความถูกต้อง เกินความจริงที่จำเลยมีสิทธิได้รับ รวม 97,035 บาท การเบิกจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินนั้น ต้องเบิกจ่ายตามที่หน่วยงานของบประมาณแผ่นดินมาใช้ประจำปี เมื่อจำเลยเป็นพนักงานของราชการ ที่ได้รับเงินงบประมาณเป็นเงินเดือน รวมทั้งเงินตอบแทนหรือเงินรางวัลดังกล่าว ก็เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของแผ่นดิน ย่อมเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมายอย่างถูกต้องตามสิทธิที่จะได้รับ   จำเลยจะยกข้ออ้างว่า โจทก์จ่ายเง

แนวข้อสอบ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มาตรา 44 - 54)

รูปภาพ
ข้อ 64 - ข้อ 69 ให้ ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม ก. 15 วัน ข. 30 วัน ค. 60 วัน ง. 90 วัน ข้อ 64 ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตาม หลักทั่วไป ข้อ 65 ระยะเวลาในการพิจารณาอุทธรณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง ข้อ 66 ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาใดโดยไม่ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ ข้อ 67 ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์สามารถขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ได้ไม่เกินกี่วัน ข้อ 68 ระยะเวลาการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ ข้อ 69 กำหนดเวลาในการขอให้พิจารณาใหม่ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ข้อ 70 กรณีอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมออกคำสั่งทางปกครอง ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวคือใคร ก. รองปลัดกระทรวง ข. ปลัดกระทรวง ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 71 ตามบทบัญญัติว่าด้วยการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง หมายถึงการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองในเรื่องใด ก. คำสั่งที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์ ข. คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ค. คำสั่งที่เป็นการให้ประโยชน์ ง. ถูกทุกข้อ ***มาตรา 55 ถึงมาตรา 63 ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562**