บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2021

"การมอบหมาย" ให้เป็น "นายทะเบียน" ตามกฎหมายการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค

รูปภาพ
กรณีที่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มอบหมาย ข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นนายทะเบียนกลาง และกรณีผู้ว่าราชการจังหวัด มอบหมาย ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด ตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 หากผู้ซึ่งได้รับมอบหมายดังกล่าว ออกคำสั่งไม่รับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ผู้ใดจะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 บัญญัตินิยามคำว่า "นายทะเบียนกลาง" หมายความว่า ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมาย และคำว่า "นายทะเบียนประจำจังหวัด" หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย  คำว่ามอบหมายในที่นี้ ไม่ได้มีความหมายว่าเป็นการมอบอำนาจ ตามความหมายของกฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการ แต่หมายถึง การมอบหมายให้เป็น "นายทะเบียนกลาง" หรือ "นายทะเบียนประจำจังหวัด" เมื่อได้รับมอบหมายแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจึงมีฐานะเป็น "นายทะเบียนกลาง" หรือ

กระทรวงการคลังพิจารณาความรับผิดทางละเมิด แตกต่างจากหน่วยงานและคณะกรรมการ ป.ป.ท. ?

รูปภาพ
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้มีความเห็นเรื่อง การดำเนินการของสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สป.พม) กรณีกระทรวงการคลังมีความเห็นเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่แตกต่างจากหน่วยงาน และคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลความผิดทางวินัยและทางอาญาเจ้าหน้าที่ ซึ่งกระทรวงการคลังไม่มีความเห็นให้รับผิดทางละเมิด โดยมีประเด็นที่น่าสนใจหลายกรณีดังนี้ ประเด็นแรก สป.พม. ได้มีคำสั่งเรียกให้ นาง ป. และ นางสาว พ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คนละ 171,000 บาท แต่กระทรวงการคลังมีความเห็นให้ นาง ป. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 68,400 บาท และไม่ได้ให้ นางสาว พ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด และศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่า คำสั่งของ สป.พม. ที่เรียกให้ นาง ป. และ นางสาว พ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด สป.พม. จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลังหรือไม่ อย่างไร คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นในประเด็นนี้ว่า สป.พม. ต้องมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ตามข้อ 18 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบสำนักน

กฎหมายใหม่ เดือนเมษายน 2564

รูปภาพ
1.พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่อัตราดอกเบี้ยที่มิได้กำหนดโดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง และอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน โดยมิได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจ ทำให้ลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อนจากภาระดอกเบี้ยเกินสมควร สมควรปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยและกำหนดวิธีการในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้เหมาะสม ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้ประชาชนจำนวนมากมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงเป็นภาระอย่างมากต่อลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งประชาชนทั่วไป และก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ส