บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2019

พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562

      พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ตราขึ้นเนื่องจากกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว การจัดเก็บภาษีตามกฎหมายทั้งสองฉบับ ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรยกเลิกกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว และให้ใช้กฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบการจัดเก็บภาษีดังกล่าว 1. พระราชบัญญัติประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 30 ก/หน้า 22/12 มีนาคม 2562 โดยให้บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ วันที่ 13 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป      เว้นแต่การจัดเก็บภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป 2. กฎหมายที่ถูกยกเลิก ประกอบด้ว ย     - พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475     - พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475     - พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2485     - พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534

พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2562

          พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 28 ก/หน้า 1/9 มีนาคม 2562 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป) โดยยกเลิกพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ซึ่งใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทำให้การบริหารจัดการที่ราชพัสดุไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร และขาดความคล่องตัวในการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ ประกอบกับไม่มีหน่วยงานใดทำหน้าที่ในการปกครอง ดูแล และบำรุงรักษาที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกที่ดินดังกล่าว และยังขาดหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักรและทรัพย์สินนอกราชอาณาจักร สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายของรัฐบาล โดยกรณีจำเป็นที่ต้องให้มีคณะกรรมการที่ราชพัสดุ เพื