บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2021

ยักยอกทรัพย์ที่ผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิด

รูปภาพ
เจ้าหน้าที่ของธนาคาร (ผู้เสียหาย) ได้นำเงินฝาก จำนวน 60,000 บาท ของลูกค้ารายอื่น เข้าบัญชีของจำเลยโดยผิดพลาด  ปรากฏว่าจำเลยประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งเป็นกิจการเล็กๆ มีเงินทุนหมุนเวียนเข้าออกบัญชีจำนวนเล็กน้อย สามารถตรวจสอบและรู้ถึงการนำเงินเข้าออกบัญชีได้โดยง่าย  จึงฟังได้ว่า จำเลยรู้ ว่ามีการนำเงินของผู้อื่นเข้าบัญชีของจำเลยโดยผิดพลาด การที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินดังกล่าวออกไปจากบัญชีของจำเลย เป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง ที่มา  - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2539 -  ประมวลกฎหมายอาญา   มาตรา 352 บัญญัติว่า   "ผู้ใดครอบครองทรัพย์ ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้น เป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ   ถ้าทรัพย์นั้น ได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระว

เอาทรัพย์สินหาย ในระหว่างเจ้าของกำลังติดตามเอาคืน ผิดลักทรัพย์

รูปภาพ
ทรัพย์สินหาย เป็นเรื่องที่ทรัพย์หลุดพ้นไปจากความยึดถือของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง  โดยมิได้ตั้งใจ ไม่ใช่เรื่องสละการครอบครอง  ผู้ใดเก็บเอาทรัพย์นั้นไป จะเป็นลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สินหาย ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นรายๆ ไป คือ ถ้าเก็บเอาไปโดยรู้หรือควรรู้ว่าทรัพย์นั้นเจ้าของกำลังติดตามหรือจะติดตามเพื่อเอาคืน ก็เป็นลักทรัพย์  ถ้าไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ ก็เป็นยักยอกทรัพย์สินหาย รถทหารคว่ำ ทำให้ปืนทหารตกน้ำ 1 กระบอก ทหารงมหา 2 ครั้งไม่พบ จึงไปแจ้งความที่อำเภอ ต่อมาตอนค่ำวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยไปงมเอาปืนนั้นมาขายเสีย แสดงว่าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่ารถทหารคว่ำ ปืนจมน้ำอยู่ แล้วถือโอกาสตอนปลอดผู้คน ไปงมเอาปืนที่อยู่ในระหว่างเจ้าของกำลังติดตามเพื่อเอาคืน จึงผิดฐานลักทรัพย์ ที่มา  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2503 (ประชุมใหญ่)

สรุปคำบรรยาย กฎหมายอาญา 3 (ครั้งที่ 3)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยาย วิชากฎหมายอาญา 3 LAW3101 (LAW3001 เดิม) ภาคเรียน 2/2563 ครั้งที่ 3 : วันที่ 29 ธันวาคม 2563 บรรยายโดยท่านอาจารย์ มาโนช สุขสังข์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง *****************  1. ความผิดฐานลักทรัพย์ มีองค์ประกอบการกระทำคือ การเอาไปซึ่งทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองของผู้อื่น โดยผู้กระทำไม่มีส่วนในการครอบครอง ซึ่งเป็นจุดแบ่งแยกระหว่าง ความผิดฐานลักทรัพย์ กับ ฐานยักยอกทรัพย์*** ถ้าผู้กระทำไม่ได้ครอบครอง เมื่อเอาทรัพย์ไป ก็เป็นการแย่งทั้งกรรมสิทธิ์และการครอบครอง เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ถ้าผู้กระทำได้ครอบครองแล้ว ก็มีเพียงการแย่งกรรมสิทธิ์อย่างเดียว เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ดังนั้น การครอบครองอยู่กับใคร จึงเป็นเรื่องสำคัญ การครอบครองอยู่กับใครนั้น ไม่ได้ดูว่าตัวทรัพย์อยู่ที่ใคร ซึ่งมาตรา 1367 ป.พ.พ. บุคคลยึดถือทรัพย์โดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ถ้ายึดถือแทนบุคคลอื่น จึงไม่มีการครอบครองแต่อย่างใด ตัวอย่าง เอ และ บี นั่งเรือมาด้วยกัน เอจะเข้าห้องน้ำ จึงฝากกระเป๋าไว้กับบี บีเอากระเป๋าไป กรณีนี้ กระเป๋าอยู่กับบี แต่การครอบครองไม่ได้อยู่กับบี เพราะบียึดถื

สรุปคำบรรยาย กฎหมายอาญา 3 (ครั้งที่ 2)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยาย วิชากฎหมายอาญา 3 LAW3101 (LAW3001 เดิม) ภาคเรียน 2/2563 ครั้งที่ 2 : วันที่ 22 ธันวาคม 2563 บรรยายโดยท่านอาจารย์ มาโนช สุขสังข์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง *****************  ป.อาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า "ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์..."  มาตรา 334 ต้องเป็นการกระทำต่อทรัพย์ (วัตถุมีรูปร่าง และเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ซึ่งจะถูกลักให้เคลื่อนที่ไปได้) โดยการแย่งไปทั้งกรรมสิทธิ์และการครอบครอง (ทั้ง 2 อย่าง) ตัวอย่าง เอ เช่าที่ดินจาก บี ต่อมาเอ ให้รถตักขุดเอาดินไป ดินที่ขุดขึ้นมาย่อมเป็นสังหาริมทรัพย์ เมื่อเอาดินไป จึงผิดลักทรัพย์ ตัวอย่าง บี มีที่ดินโดยปลูกต้นยางพารา ต้นยางที่ปลูกจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ ต่อมา เอ แอบไปกรีดน้ำยาง ทำให้น้ำยางไหลลงมาที่ถ้วยรอง แต่ยังไม่ได้เอาไป กรณีนี้ถือว่า น้ำยางเป็นสังหาริมทรัพย์ แยกออกต่างหากจากต้นยางพารา แต่เมื่อยังไม่ได้เอาน้ำยางให้เคลื่อนที่ไป จึงผิดเพียงพยายามลักทรัพย์ ถ้าไม่ใช่วัตถุมีรูปร่างเลย ก็ไม่อาจถูกลักทรัพย์ได้ เช่น สิทธิเรียกร้อง ตัวอย่าง

แนวปฏิบัติของกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการฟ้องคดีตามสัญญาทางปกครอง

รูปภาพ
กระทรวงการคลังกำหนดให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ เกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตามสัญญาทางปกครอง ดังนี้ 1. เมื่อคู่สัญญาหรือคู่กรณีตามสัญญาทางปกครอง จะทำผิดหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขของสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐเกิดสิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งอย่างใด ให้หน่วยงานของรัฐแห่งนั้น รีบดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้องให้คู่สัญญาหรือคู่กรณี ดำเนินการจัดการแก้ไขให้เป็นไปตามสัญญา หรือชดใช้ความเสียหายให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นโดยเร็ว อย่างช้าไม่ควรเกิน 30 วัน นับแต่วันที่มีการกระทำผิดหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขตามสัญญาดังกล่าว  หากคู่สัญญาหรือคู่กรณีปฏิเสธ บิดพลิ้ว หรือไม่รีบจัดการแก้ไขหรือชดใช้ความเสียหายตามสัญญาให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้จัดการแก้ไขหรือชดใช้ความเสียหาย ไม่ว่าด้วยเหตุหรือกรณีใด ให้หน่วยงานของรัฐนำข้อพิพาทตามสัญญาทางปกครองนั้น ฟ้องต่อศาลปกครองอย่างช้าไม่ควรเกิน 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาที่ให้คู่สัญญาหรือคู่กรณีจัดการแก้ไขหรือชดใช้ความเสียหาย อย่างไรก็ดี ทั้งนี้รวมแล้วไม่ควรเกิน 90 วัน 2. การนำข้อพิพาททางปกครองฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เนื่องจากกระบวนการพิจ

สรุปคำบรรยาย กฎหมายอาญา 3 (ครั้งที่ 1)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยาย วิชากฎหมายอาญา 3 LAW3101 (LAW3001 เดิม) ภาคเรียน 2/2563 ครั้งที่ 1 : วันที่ 15 ธันวาคม 2563 บรรยายโดยท่านอาจารย์ มาโนช สุขสังข์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง *****************   กฎหมายอาญา 3 จะเรียนตามประมวลกฎหมายอาญา  ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย , ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง และลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในส่วนของอาจารย์ จะบรรยายลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ กฎหมายต้องการคุ้มครอง ตัวทรัพย์ ซึ่งความผิดเกี่ยวกับทรัพย์นี้ ไม่ได้หมายถึงทรัพย์อย่างเดียว เนื่องจากมาตรา 334, มาตรา 352 ใช้คำว่า "ทรัพย์" มาตรา 341 ใช้คำว่า "ทรัพย์สิน" และมาตรา 337 ใช้คำว่า "ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน" แต่เนื่องจาก ป.อาญา ไม่มีนิยามความหมายคำว่า "ทรัพย์" และ "ทรัพย์สิน" จึงต้องนำกฎหมายที่ใกล้เคียงมาใช้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  - มาตรา 137 บัญญัติว่า "ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง"  - มาตรา 138 บัญญัติว่า " ทรัพย์สิน หมายความรวมถึงทรัพย์ และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาแล

การดำเนินการทางวินัยข้าราชการ ไม่มีอายุความ

รูปภาพ
ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำพิพากษา ให้เพิกถอนคำสั่งที่ลงโทษทางวินัย (คำสั่งตัดเงินเดือนผู้ฟ้องคดี) เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น  แต่ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้บังคับบัญชาที่จะดำเนินการทางวินัยใหม่ ให้ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ต่อไปได้ ซึ่ง ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อมีการกระทำความผิดวินัย ย่อมต้องถูกดำเนินการทางวินัยเสมอ เนื่องจากการดำเนินการทางวินัยไม่มีอายุความ ผู้บังคับบัญชามีอำนาจดำเนินการทางวินัยได้ แม้ว่าข้าราชการผู้นั้นจะได้กระทำความผิดวินัยมานานแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ มิได้กำหนดเรื่องอายุความของการดำเนินการทางวินัยไว้ หมายเหตุ - คำวินิจฉัยข้างต้นเป็นตัวอย่างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.456/255 6 - ต่อมา พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ได้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 100 และมาตรา 100/1 ดังนี้      มาตรา 100 "ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่

วัตถุประสงค์ของกฎหมายควบคุมอาคาร

รูปภาพ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้ไว้ 8 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อประโยชน์ด้เานความมั่นคงแข็งแรง เป็นวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัย อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายควบคุมอาคาร 2. เพื่อความปลอดภัย กำหนดให้การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายให้เป็นไปตามที่กำหนด รวมทั้งในระหว่างการก่อสร้างอาคาร ต้องมีการตรวจสอบความแข็งแรงปลอดภัยของนั่งร้านที่สร้างขึ้นเป็นประจำด้วย 3. เพื่อป้องกันอัคคีภัย มีการออกกฎกระทรวงควบคุมป้องกันเพลิงไหม้ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ กำหนดให้มีระบบท่อยื่นที่เก็บสำรองน้ำดับเพลิง ระบบบันไดหนีไฟ และช่องทางเฉพาะกิจสำหรับบุคคลภายนอกเข้าบรรเทาสาธารณภัยในอาคาร 4. เพื่อการสาธารณสุข มีการกำหนดแบบและจำนวนห้องน้ำ ห้องส้วม ระบบการจัดแสงสว่าง การระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 5. เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดข้อบังคับในการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการควบคุมอาคารมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรรมการด้วย 6. เพื่อการผังเมือง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย

การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (ก่อนออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือน) ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง

รูปภาพ
ปลัดอำภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง และนายอำเภอ ได้ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของนาง ส. ในรอบการประเมินที่ 2 (วันที่ 1 เมษายน 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557) ก็เพื่อเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่นาง ส. ในรอบการประเมินดังกล่าวอันเป็นคำสั่งทางปกครอง การกระทำของปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง และนายอำเภอ จึงเป็นเพียงการพิจารณาทางปกครอง เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ยังไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของ นาง ส. แต่ประการใด นาง ส. จึงมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำของปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง และนายอำเภอ ที่จะมีสิทธินำคดีข้อหานี้มาฟ้องต่อศาลปกครองได้ ตามนัยมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่มา คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คบ. 158/2560