บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2024

จัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่  ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา ซึ่งประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (19 มีนาคม 2567) โดยมีหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญาเนื่องจากปัจจุบันอาชญากรรมที่ใช้วิธีการทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีรูปแบบการกระทำความผิดที่ซับซ้อนตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และพยานหลักฐานในคดีส่วนมากอยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับการใช้มาตรการตามกฎหมายนบางกรณีเพื่อป้องกันหรือรับมืออาชญากรรมประเภทนี้และภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยอาศัยคำสั่งศาล ดังนั้น เพื่อให้คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญาและคำร้องขอใช้มาตรการตามกฎหมายได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและทันท่วงที อันจะทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องจัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขึ้นในศาลอาญา โดยมีสาระสำคัญดังนี้ คดีอาชญากรรม

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ ในปัจจุบันการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียมมีความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อันอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกัน หรือรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที สมควรกําหนดลักษณะของภารกิจหรือบริการที่มีความสําคัญ เป็นโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศทั้งหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน ที่จะต้องมีการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในด้านต่าง ๆ รวมทั้งให้มีหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการประสานการปฏิบัติงานร่วมกัน ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าในสถานการณ์ทั่วไปหรือสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง ตลอดจนกําหนดให้มีแผนปฏิบัติการและมาตรการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีเอกภาพและต่อเนื่อง  อันจะทําให้การป้องกันและการรับมือกับภ

ความเป็นมา สมาชิก และเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

เมื่อปี พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็น ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง (Central Provident Fund) จึงนำมาสู่การจัดตั้ง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 โดยข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. เมื่อออกจากราชการหรือเกษียณอายุราชการ จะได้รับเงินก้อน กบข. และบำเหน็จหรือบำนาญ ซึ่งเงินก้อน กบข. เป็นส่วนผสมระหว่างเงินออมของสมาชิก กับเงินสมทบและเงินชดเชยจากบำนาญของรัฐ และผลประโยชน์จากการลงทุนที่ กบข. บริหารจัดการ สมาชิก กบข. ประกอบด้วยข้าราชการ 13 ประเภท ดังนี้   1) ข้าราชการพลเรือน   2) ข้าราชการฝ่ายตุลาการ   3) ข้าราชการฝ่ายอัยการ   4) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานมหาวิทยาลัย   5) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา   6) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ   7) ข้าราชการตำรวจ   8) ข้าราชการทหาร   9) ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ   10) ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง   11) ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน   12) ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต   13) ข้าราชการในพระองค์ เง

ผู้ก่อสร้างคอนโดมิเนียมทำละเมิด เจ้าของโครงการต้องร่วมรับผิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2565)

โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารคอนโดมิเนียมพิพาทและผู้ดำเนินการก่อสร้างโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ  รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมเพื่อก่อสร้างเสาเข็มทำฐานรากอาคารและก่อสร้างอาคารสูง 37 ชั้น ทำให้อาคารเรียนของโจทก์เสียหายและสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ครู นักเรียน และบุคลากรของโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย   จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าประสงค์ให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 เพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใครและมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร  แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยว่าจ้างบุคคลภายนอกรวมทั้งจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้ทำการก่อสร้างคอนโดมิเนียมพิพาท ก็ไม่มีปัญหาให้ต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยตามมาตรา 428 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย (จำเลยฎีกาว่าฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย  แม้จะมิได้ยกขึ้นอ้างในคำให้การ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนด ต่อมาสั่งรับฎีกา จึงไม่ชอบ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2565)

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ จำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์พ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่อาจฎีกาได้ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 (1) , มาตรา 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่มา  - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2565 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง   มาตรา 242 "เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนความและฟังคู่ความทั้งปวง หรือสืบพยานต่อไป ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 240 เสร็จแล้ว ให้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์โดยประการใดประการ

วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ใช้ระบบไต่สวน รวดเร็ว ศาลสืบพยานเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2566)

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ทางไต่สวนข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งเกษตรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบให้ใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้และข้อบังคับของประธานศาลฎีกา…" หาได้ใช้ระบบกล่าวหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแต่อย่างใดไม่  พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 22 บัญญัติว่า "ในคดีที่อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ให้ศาลนำรายงานและสำนวนการสอบสวนหรือสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของโจทก์ มาเป็นหลักในการแสวงหาความจริง และอาจสืบพยา

คู่มือกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยสำหรับประชาชน (โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

รูปภาพ
วันนี้ผมได้อ่านหนังสือ  "คู่มือกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยสำหรับประชาชน"  ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย ตั้งแต่ความหมายของ "พินัย" ความแตกต่างระหว่าง ค่าปรับเป็นพินัย ค่าปรับทางอาญา และค่าปรับทางปกครอง จนถึงการบังคับคดีตามคำสั่งศาล.. ท่านที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดมาอ่านกันได้ฟรีครับ .. คลิกดาวน์โหลด

ผู้พิพากษามีคำสั่งไม่ชอบ ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4257/2566)

คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าว จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221  แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวโดยตรง และรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้  ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้น มีคำสั่งในคำร้องดังกล่าวว่า "สั่งในฎีกา" และมีคำสั่งในฎีกาของจำเลยว่า "จำเลยยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลขยายให้โดยมาแสดงตนต่อศาล รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาฎีกา ปิดได้" จึงไม่ชอบ  ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสีย และมีคำสั่งเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั

คำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุให้ลงโทษปรับรายวัน แต่ฟ้องและคำขอท้ายฟ้องได้อ้างเลขมาตรา ศาลลงโทษปรับรายวันได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2566)

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 52 วรรคหก มาตรา 57 หรือมาตรา 60 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และวรรคสอง บัญญัติว่า “นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 34 หรือมาตรา 57 ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง”  ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะมิได้ระบุคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวัน แต่โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ประกอบมาตรา 65 มาแล้ว และเมื่อฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 21 จึงต้องระวางโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง และลงโทษปรับเป็นรายวันมานั้น จึงไม่เกินคำขอของโจทก์ ที่มา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2566 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2566)

คณะกรรมการ ป.ป.ช. โจทก์ มีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชน จำกัด มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เกินกว่าร้อยละ 50 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีวัตถุประสงค์ทำการขนส่งคน สิ่งของและไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศและกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน มีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการและมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นใดให้ดำเนินกิจการของบริษัทภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหรือมอบอำนาจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรเพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของคณะกรรมการ ขณะเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และได้รับแต่งตั้งจากประธานกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำเลย และภริยาจำเลยเดินทางโดยสารเครื