บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2022

เจ้าหน้าที่เรียกรับเงิน เพื่อช่วยเหลือไม่ให้รับโทษหนัก หรือไม่ตรวจสอบการกระทำผิด ไม่ใช่การขู่เข็ญ ไม่ผิดกรรโชก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2564)

รูปภาพ
การที่จำเลยบอกผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายกระทำความผิดที่มีอัตราโทษหนัก ต้องจำคุกหลายปีและมีโทษปรับเป็นเงินหลายแสนบาท จำเลยสามารถช่วยเหลือผู้เสียหายให้ไม่ต้องรับโทษหนักและจะดำเนินคดีในความผิดที่มีอัตราโทษน้อย แต่ผู้เสียหายต้องชำระเงินให้จำเลย มิใช่การขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้เสียหาย เพราะผู้เสียหายถูกเจ้าพนักงานจับกุมดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายในความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งการถูกจับกุมดำเนินคดีย่อมส่งผลกระทบต่อเสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้เสียหาย จำเลยเพียงแต่บอกให้ผู้เสียหายทราบถึงโทษทัณฑ์ที่จะได้รับตามกฎหมาย และการเรียกเงินก็เพื่อช่วยเหลือในการดำเนินคดีมิให้ผู้เสียหายได้รับโทษหนัก ซึ่งหากผู้เสียหายไม่ให้เงินตามที่จำเลยเรียกร้อง ก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป เมื่อการกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการขู่เข็ญ คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบของการกระทำความผิดฐานกรรโชก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคหนึ่ง ส่วนคำฟ้องที่ว่า จำเลยขู่เข็ญอีกว่าจำเลยจะมาตรวจสอบที่ร้านค้าของผู้เสียหายทุกเดือน และหากพบการกระทำความผิดก็จะดำเนินคดีกับผู้เสี

จำเลยไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขคุมความประพฤติ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2564)

รูปภาพ
คดีนี้สืบเนื่องมาจาก ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) , มาตรา 157 จำคุก 6 เดือน และปรับ 6,000 บาท ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 เดือน และปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลย 1 ปี โดยให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรเป็นเวลา 12 ชั่วโมง และกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 มาตรา 30 ต่อมาจำเลยไม่ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปตามจำนวนและระยะเวลาตามบันทึกข้อตกลง ผู้เสียหายจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการลงโทษจำเลย ศาลชั้นต้นนัดสอบถาม ผู้เสียหายให้โอกาสจำเลยผ่อนชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย โดยนัดพร้อมตามระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว ไม่ชำระอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขบันทึกข้อตกลง อันเป็นเงื่อนไ

ข้าราชการครูเล่นการพนันประเภทที่ห้ามเด็ดขาด (ไพ่ป๊อกแปด - เก้า) ถูกลงโทษปลดออกจากราชการ เหมาะสมกับความผิดแล้ว

รูปภาพ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการ กรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องถุกจับกุมดำเนินคดีอาญาในข้อกล่าวหาว่าร่วมเล่นการพนันไพ่ป๊อกแปด - เก้า อันเป็นการพนันประเภทห้ามขาด ตามบัญชี ก อันดับที่ 11 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยมิได้มีพระราชกฤษฎีกาอนุญาตให้เล่นได้  โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่าพนักงานอัยการจังหวัดได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด และศาลพิจารณาแล้วพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง 3 เดือน โดยไม่รอการลงโทษต่อมาศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด ข้าราชการครูดังกล่าวถูกกักขังตามคำพิพากษาตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ (ที่ทำการแทน ก.ค.ศ.) เห็นว่า กรณีดังกล่าว ไม่ถือว่าข้าราชการครู ผู้อุทธรณ์ ต้องโทษให้จำคุกจริง ๆ เนื่องจากผลของคดีถึงที่สุดได้ถุกเปลี่ยนจากโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 มาตรา 23 และมาตรา 24 สำหรับประเด็นก

ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง แต่ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 114/2564)

รูปภาพ
เอกชนยื่นฟ้องกรมที่ดิน ที่ 1 และอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 2 ต่อศาลปกครองอุดรธานี และศาลมีคำสั่งกำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยฟ้องว่าตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนด ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 ออกคำสั่งให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว อ้างว่าเป็นการออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ที่อยู่ในเขตเขา ต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดิน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้เพิกถอนโฉนด และให้ผู้ถูกฟ้องคดีออกโฉนดที่ดินตามที่ได้เพิกถอนไปให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า โฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากออกในพื้นที่ที่อยู่ในเขตเขา ต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ดินของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ว่าเจ้าของที่ดินเดิมและผู้ฟ้องคดีจะได้ครอบครองที่ดินพิพาทนานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับรัฐได้ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล

กฎหมายใหม่ เดือนกุมภาพันธ์ 2565

รูปภาพ
1. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565 หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Copyright Treaty) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นไปตามสนธิสัญญาดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการและเจ้าของลิขสิทธิ์ในการแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต และเพื่อให้การคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 2. พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 254 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิเข้าชื่อกันเพ