บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2021

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (ชุดที่ 4)

รูปภาพ
ข้อ 31 ในเรื่องการไกล่เกลี่ย ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ ถูกต้อง ก. เป็นการไกล่เกลี่ยเฉพาะทางแพ่ง ข. คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค. ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจัดทำโดยคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท มีผลเช่นเดียวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ง. พนักงานอัยการมีหน้าที่ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ ข้อ 32 - ข้อ 35 ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. พระราชกำหนด ง. กฎกระทรวง ข้อ 32 จังหวัดบึงกาฬ จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายใด ข้อ 33 หลักเกณฑืและวิธีดำเนินการไกล่เกลี่ยความผิดอาญา ต้องเป็นไปตามกฎหมายใด ข้อ 34 กฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่และค่าตอบแทนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ที่ต้องทำงานเต็มเวลา คือกฎหมายใด ข้อ 35 การให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องออกกฎหมายใดเพื่อให้อำนาจดังกล่าว ข้อ 36 ผู้ใดมีอำนาจสั่งให้กรรม

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (ชุดที่ 3)

รูปภาพ
ข้อ 21 ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ผู้ใดมีอำนาจแต่งตั้งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ค. คณะรัฐมนตรี ง. ไม่มีข้อใดถูก ข้อ 22 การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ต้องออกเป็นกฎหมายใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. พระราชกำหนด ง. กฎกระทรวง ข้อ 23 ส่วนราชการต่อไปนี้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ยกเว้นข้อใด ก. จังหวัด ข. ทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ค. อำเภอ ง. กรม ข้อ 24 จังหวัดมีหน้าที่ต้องจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับเรื่องใด ก. ยุทธศาสตร์ประเทศ ข. แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับชาติ ค. ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด ง. ข้อ ข. และ ค. ถูกต้อง ข้อ 25 องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ประกอบด้วยจำนวนกรรมการสูงสุดไม่เกินเท่าใด ก. 10 คน ข. 11 คน ค. 14 คน ง. 17 คน ข้อ 26 กรณีนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ รัฐมนตรีจะเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับมอบหมายจากผู้ใด ก. นายกรัฐมนตรี ข. รองนายกรัฐมนตรีผู้มีอาวุโสราชการสูงสุด ค. คณะรัฐมนตรี ง. ศาลรัฐธรรม

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (ชุดที่ 2)

รูปภาพ
ข้อ 11 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 บัญญัติให้การจัดระเบียบราชการในกระทรวง เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ยกเว้นกระทรวงใด ก. สำนักนายกรัฐมนตรี ข. กระทรวงมหาดไทย ค. กระทรวงศึกษาธิการ ง. กระทรวงอุตสาหกรรม ข้อ 12 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสำนักนายกรัฐมนตรี ก. เป็นนิติบุคคล ข. มีฐานะเป็นกระทรวง ค. เป็นราชการบริหารส่วนกลาง ง. ไม่มีข้อใดไม่ถูกต้อง ข้อ 13 ผู้มีอำนาจหน้าที่มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ก. รองนายกรัฐมนตรี ลำดับที่ 1 ข. นายกรัฐมนตรี ค. คณะรัฐมนตรี ง. ศาลรัฐธรรมนูญ ข้อ 14 กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับล่าสุด คือ ก. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553 ข.   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559 ค.   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 ง.   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2552 ข้อ 15 ข้อใดถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ก. เ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (ชุดที่ 1)

รูปภาพ
ข้อ 1 กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมเจ้าท่า โดยออกกฎหมายใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. พระราชกำหนด ง. กฎกระทรวง ข้อ 2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด ก. 4 กันยายน 2534 ข. 5 กันยายน 2534 ค. 14 กันยายน 2534 ง. 15 กันยายน 2534 ข้อ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ประเทศไทยมีการจัดระเบียบบริหารราชการกี่ส่วน ก. 1 ส่วน ข.   2 ส่วน ค.  3  ส่วน ง.   4 ส่วน ข้อ 4 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมายปัจจุบัน ก. ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ ข. รัฐต้องจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางอาจมีสำนักงานให้บริการตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ง. การบริหารราชการส่วนกลาง เรียกอีกชื่อว่า Deconcentration ตอบคำถามข้อ 5 - 8 โดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. พระราชกำหนด ง. กฎกระทรวง ข้อ 5 การจัดตั้งกรมซึ่งไม่สังกัดกระทรวงโดยทั่วไปต้องออกเป็นกฎหมายใด

กฎหมายใหม่ เดือนกุมภาพันธ์ 2564

รูปภาพ
1. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564     เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 วินิจฉัยว่า บทบัญญัติความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ตามมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากการทำแท้งหรือการยุติการตั้งครรภ์เป็นปัญหาทั้งทางสังคม ทางการแพทย์ และทางกฎหมายที่มีความละเอียดอ่อน รวมทั้งเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและศีลธรรม ซึ่งถือว่าเป็นความผิดทางอาญาและกำหนดโทษแก่หญิงเพียงฝ่ายเดียวที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก     ทั้งนี้ ความผิดฐานทำให้แท้งลูกมีเจตนารมณ์และคุณธรรมทางกฎหมาย ที่ต้องการคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์ โดยเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ที่กำลังจะเกิดมา แต่เนื่องจากรากฐานของสังคมไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเห็นคุณค่าของชีวิตมนุษย์เพียงเท่านั้น      แต่ยังต้องมีปัจจัยอื่นที่สำคัญเป็นรากฐานของสังคมประกอบด้วย เช่นเดียวกับการคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตของทารกในค

สาระสำคัญ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564

รูปภาพ
สาระสำคัญ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 1. ระเบียบนี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป โดยให้ยกเลิกระเบียบฉบับเก่าทั้งหมด คือ ยกเลิก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2550) 2. กำหนดความหมายคำว่า "อุบัติภัย" หมายความว่า ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน หรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเคหสถานหรือในที่สาธารณะ หรือจากอุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรทางน้ำ ทางอากาศ หรือทางบก แต่ไม่หมายความรวมถึงอุบัติเหตุทางถนน 3. ให้มี คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ หรือ กปอ. มีหน้าที่และอำนาจดังนี้     1) เสนอนโยบาย มาตรการ และแนวทางเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยต่อคณะรัฐมนตรี     2) เสนอแนะแนวทางปฏิบัติ และประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐซึ่งรับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วไปดำเนินการ     3) จัดทำข้อเสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ และปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยเสนอต่อนายกรัฐมนตรี     4) เสนอความเห็นและข้อสังเก