บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2024

ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลและในมูลละเมิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2566)

โจทก์จะไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องให้ชัดเจนว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ให้รับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ทำการเป็นตัวแทนหรือทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812  แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด  ซึ่งสหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 37 วรรคสอง และโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ความเกี่ยวพันระหว่างสหกรณ์ น. กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 77  ข้อเท็จจริงที่โจทก

เรียกดอกเบี้ยจากจำเลย ในฐานะผู้ค้ำประกันและฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2566)

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 720,400.35 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 586,686.45 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 21,087.50 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 720,400.35 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของต้นเงิน 607,773.95 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 29 มกราคม 2564) ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินคงเหลือนับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้มีผลบังคับ แต่ดอกเบี้ยทุกช่วงเวลาให้ไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทน ส่วนดอกเบี้ยให้ร่วมรับผิดนับแต่วันที่ 29 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2563 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุ

การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บรายได้จากค่าบริการการใช้สนามบิน (ความเห็นคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่องเสร็จที่ 1055/2566)

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบ และพบว่า พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 25 (16) กำหนดให้กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้จากค่าธรรมเนียมสนามบินตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ ตามอัตราและวิธีการที่คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด จึงหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าบทบัญญัติดังกล่าวอาจเข้าข่ายต้องเร่งรัดดำเนินการออกกฎกระทรวงหรือประกาศ ตาม มาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพัฒนากฎหมายพิจารณาแล้ว มีความเห็นในการให้คำปรึกษาแก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเห็นว่า การกำหนดอัตราและวิธีการในการจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมสนามบินตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ สำหรับเทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 23 (15) และสำหรับกรุงเทพมหานครตามมาตรา 25 (16) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 นั้น โดยที่ พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 255

ร่วมกันลักลอบพาคนต่างด้าวเข้าประเทศ ผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติด้วย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2566)

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 5 (2) มีองค์ประกอบของความผิด คือ สมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดร้ายแรงอันเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติ คำว่า "องค์กรอาชญากรรม" หมายความว่า คณะบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปรวมตัวกันช่วงระยะเวลาหนึ่งและร่วมกันกระทำการใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำความผิดร้ายแรงและเพื่อได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ทางวัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม คำว่า "องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ" หมายความว่า องค์กรอาชญากรรมที่มีการกระทำความผิดซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ความผิดที่กระทำในเขตแดนรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ... และคำว่า "ความผิดร้ายแรง" หมายความว่า ความผิดอาญาที่กฎหมายกำหนดโทษจำคุกขั้นสูงตั้งแต่สี่ปีขึ้นไปหรือโทษที่สถานหนักกว่านั้น  ความผิดฐานร่วมกันนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 63 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ส่วนความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้นและช่วยเหลือคนต่างด้

คำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ขาดอายุความ) (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 689/2565)

เรื่องนี้สืบเนื่องจาก นาย พ. อดีตเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ยื่นฟ้อง สตง. เป็นคดีแพ่ง อ้างว่า เจ้าหน้าที่ของ สตง. ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินในขณะนั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด เป็นเหตุให้นาย พ. ได้รับความเสียหาย จึงขอให้ สตง. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท และได้ยื่นหนังสือถึง สตง. เพื่อขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท สตง. จึงหารือต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าตามคำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว หากเป็นคำขอทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กำหนดระยะเวลายื่นคำขอ จะต้องนำอายุความอาญาที่ยาวกว่าตามมาตรา 448 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับด้วยหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ 2539 บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 5 หรือจะยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 11 ก็ได้ โดยการใช้สิทธิเรียกร้อง ด้วย