บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2023

ข้าราชการเบิกค่าเช่าบ้าน ต้องไม่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ตลอดเวลาที่ใช้สิทธิ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2565)

พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 (2) กำหนดหลักเกณฑ์ไม่ให้สิทธิข้าราชการที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่เบิกค่าเช่าบ้าน โดยไม่มีบทบัญญัติให้ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรานี้เฉพาะในขณะที่ข้าราชการยื่นขอใช้สิทธิ จึงต้องตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าว ต้องบังคับใช้ตลอดเวลาที่ข้าราชการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการ กล่าวคือ ข้าราชการผู้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านนั้นต้องไม่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ตนไปประจำในช่วงเวลาที่ขอใช้สิทธินี้ ไม่ใช่ตีความว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวบังคับใช้แต่เฉพาะเวลาที่ยื่นคำขอใช้สิทธิ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนดเลขที่ 2416 พร้อมบ้าน เลขที่ 146 ทั้งส่วนของบิดาและส่วนของน้องชายมาโ ดยไม่มีภาระหนี้ เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าว จำเลยย่อมเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้อย่างสมบูรณ์   กรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ข้างต้นว่าจำเลยมีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองในท้องที่ที่ตนไปประจำ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการ จำเลยต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าบ้านที่ได้รั

ไม่รับเงินวางศาลภายใน 5 ปี เงินตกเป็นของแผ่นดิน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2565)

คดีนี้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2558  จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อบรรเทาผลร้ายให้โจทก์  ศาลชั้นต้นได้แจ้งให้โจทก์ทราบในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลในวันที่ 3 สิงหาคม 2559 ว่าจำเลยนำเงินมาวางศาลและให้โจทก์ติดต่อรับเงิน (แม้โจทก์ไม่ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา แต่ศาลชั้นต้นได้จดแจ้งเหตุที่โจทก์ไม่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 50 (2) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว)  ทั้งต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ โจทก์ก็ระบุในอุทธรณ์ว่าจำเลยนำเงินมาวางศาล 5,000 บาท  ต้องถือว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยนำเงินมาวางศาลและโจทก์มีสิทธิขอรับเงินดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2559 แล้ว ( การที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งให้โจทก์มารับเงินที่จำเลยวางไว้ที่ศาลในภายหลัง เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 อีก ไม่ทำให้วันที่โจทก์ทราบว่าจำเลยนำเงินมาวางศาลและโจทก์มีสิทธิขอรับเงินดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป)   เงินที่จำเลยนำมาวางศาลและโจทก์ยังไม่มาขอรับ จึงเป็นเงินค้างจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอรับเงิน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทราบว่ามีการว

ฉ้อโกงประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ครั้งเดียว แม้ผู้เสียหายหลงเชื่อหลายครั้ง ก็เป็นความผิดกรรมเดียว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2566)

การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าผู้กระทำความผิดประสงค์ต่อผลในการหลอกลวงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง  คดีนี้ไม่มีการสืบพยาน จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชนทั่วไปทางแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก ซึ่งเปิดเป็นสาธารณะชักชวนบุคคลทั่วไปให้นำเงินมาลงทุนกับจำเลยและพวก และหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อว่าจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก  เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้จำเลยหลายครั้งตามวันเวลาที่โจทก์แยกบรรยายฟ้อง ซึ่งในแต่ละข้อที่โจทก์แยกบรรยายมานั้นมีข้อความทำนองเดียวกันว่า ผู้เสียหายหลงเชื่อจากการหลอกลวงของจำเลยกับพวกดังกล่าว และโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยกับพวก  แม้การโอนเงินของผู้เสียหายดังกล่าวจะกระทำหลายคราว แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภายหลัง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงในครั้งแรก ซึ่งไม่ปรากฏตามฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้กล่าวข้อความหลอกลวงใด ๆ ขึ้นใหม่ จึงต้องฟังว่าจำเลยกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวโดยมีเจตนาเดียว