บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2019

การใช้บังคับกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่บางประการไม่เหมาะสม ตามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)

รูปภาพ
     คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) มีข้อสังเกตว่า เมื่อพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บัญญัติให้อาจมีการตราพระราชกฤษฎีกา กำหนดหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำพระราชบัญญัติดังกล่าวไปใช้บังคับกับหน่วยงานทุกประเภท        กรณีจึงสมควรนำหลักเกณฑ์ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ทั้งฉบับ ไปใช้กับการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ทุกหน่วยงานโดยเสมอกันด้วย      ดังนั้น การที่ข้อ 30 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กำหนดให้ใช้บังคับบทบัญญัติในหมวด 2 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก กับหน่วยงานของรัฐที่เป็นราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย         จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพราะทำให้การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐทั้งระบบไม่มีมาตรฐานเดียวก

กระทรวงการคลังตรวจสอบสำนวนละเมิด เพราะอะไร?

รูปภาพ
      ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ข้อ 17 และข้อ 18 กำหนดให้กระทรวงการคลังทำหน้าที่ตรวจสอบผลการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ และเมื่อกระทรวงการคลังมีความเห็นเป็นประการใดแล้ว หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายย่อมต้องผูกพันตามความเห็นของกระทรวงการคลัง      ขั้นตอนการส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบและการวินิจฉัยสั่งการของกระทรวงการคลัง เป็นกระบวนการตรวจสอบภายในฝ่ายปกครอง เพื่อกลั่นกรองการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งให้มีมาตรฐานเดียวกัน      ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 722/2562  คลิกดาวน์โหลดไฟล์   #นักเรียนกฎหมาย 17 ตุลาคม 2562