บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2023

ผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี (มติคณะรัฐมนตรี 13 กันยายน 2566)

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 อนุมัติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1. กรณีนายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้   1) นายภูมิธรรม เวชยชัย   2) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน   3) นายปานปรีย์ พหิทธานุกร   4) นายอนุทิน ชาญวีรกูล   5) พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ   6) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้นจะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน ข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534    มาตรา 41 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาร

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2566)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนี้ สืบเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์ภาค 6 ส่งคำโต้แย้งของจำเลยในคดีอาญา เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ซึ่งจำเลยโต้แย้งว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่จำกัดการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษให้แก่จำเลย ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย" และ

กฎกระทรวงกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นสัตว์ พ.ศ. 2566

พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 มาตรา 3 นิยามความหมายของคำว่า "สัตว์" หมายความว่า (1) สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งไม่ใช่มนุษย์ (2) ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ที่เกิดขึ้นหลังจากไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิจนผ่านระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโต จนถึงครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการตั้งท้องหรือการฟักตัวของไข่ แล้วแต่ชนิดของสัตว์ (3) เซลล์ของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ซึ่งไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์ ที่สามารถพัฒนาเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นตัวอ่อนหรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะต่อไปได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปจากเดิม (4) สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  ตามบทนิยาม "สัตว์" (4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้  สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวด เป็น "สัตว์ " เพื่อประโยชน์ในการกำหนดให้เป็นสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และสามารถควบคุมการดำเนินการต่อสัตว์เพื

ข้อพิพาทจากการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมของ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 50/2566)

แม้ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (National Telecom Public Company Limited : NT) จำเลย จะไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา แต่จำเลยก็จัดตั้งขึ้นโดยการควบรวมกิจการของ บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทีโอที ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535  โดยที่มาตรา 152 และมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการควบบริษัทแล้ว จะมีผลทำให้บริษัทเดิมหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคลและเกิดขึ้นเป็นบริษัทใหม่ และทำให้บริษัทที่เกิดจากการควบกันและจดทะเบียนแล้ว ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบทางแพ่งของบริษัทที่ควบเข้ากันทั้งหมด ดังนั้น จำเลยจึงรับโอนภารกิจ สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเดิมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทีโอที ซึ่งเป็น บมจ. ที่แปรรูปและรับโอนกิจการมาจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการสื่อสารโทรคมนาคมทุกชนิด และอาจเป็น "หน่วยงานทางปกครอง" ประเภทหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง หรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองได้ หากได้กระทำการเกี่ยวกับการบริการสาธารณะหรือดำเนินกิจการท