บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2022

ข้าราชการครูไปให้การและสืบพยานในฐานะจำเลย ต้องลากิจ ไม่ถือเป็นการไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ

รูปภาพ
การที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลยุติธรรม แม้ว่ากรณีเป็นการฟ้องคดีอันสืบเนื่องจากการกระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูก็ตาม แต่เมื่อเป็นการฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันยักยอก ร่วมกันปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ซึ่งเป็นการดำเนินคดีส่วนตัว กรณีดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยส่วนรวมโดยตรง และไม่ถือว่าเป็นการไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปศาล ที่ให้ถือว่าเป็นการไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2526 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0201/ว 56 ลงวันที่ 18 เมษายน 2626 ซึ่งกำหนดไว้เฉพาะกรณีเดินทางไปศาลเพื่อเป็นพยานตามหมายเรียกศาล กรณีที่ส่วนราชการหรือพนักงานอัยการเป็นโจทก์หรือจำเลย และได้อ้างข้าราชการเป็นพยาน   ดังนั้น เมื่อศาลมีหมายเรียกให้จำเลยไปให้การแก้ข้อกล่าวหาต่อศาล ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจำต้องลากิจส่วนตัว ต่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุมัติ ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ

สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ส.ช.น.)

รูปภาพ
สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ส.ช.น.) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ผู้ทรงพระราชทานกำเนิดเนติบัณฑิตยสภา เพื่อส่งเสริมความรู้ในวิชานิติศาสตร์ และควบคุมมรรยาทของผู้ประกองวิชาชีพกฎหมาย รวมทั้งให้อนุเคราะห์แก่บุคคลผู้ยากจน หรือมีรายได้น้อย ได้มีโอกาสป้องกันสิทธิของตนและให้ประชาชนมีสิทธิได้รับความยุติธรรมตามกฎหมายโดยเสมอภาคและทั่วหน้ากัน ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย 2 ประเภท คือ 1. การให้คำแนะนำและปรึกษาปัญหากฎหมาย แก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เสียค่าบริการใด ๆ ซึ่ง ส.ช.น. ได้จัดให้มีทนายความอาสา เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาประจำทุกวันในเวลาราชการ สำหรับประชาชนที่ต้องการคำปรึกษาสามารถเดินทางมาขอรับคำปรึกษาด้วยตนเอง หรือทางโทรศัพท์ 02-887-6811 , 02-887-6801-7 ต่อ 104, 108, 109 2. การให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดี  ทั้งคดีแพ่ง อาญา หรือเรื่องอื่นใด โดยไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น (ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะต้องเสียให้แก่ศาลหรือทางราชการ เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าคำร้องคำขอ ค่าอ้

ใบแต่งทนายความไม่ระบุอำนาจโดยชัดแจ้ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2564)

รูปภาพ
หากใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุเรื่องกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความแล้ว ทนายความย่อมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้น มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใดเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านี้ได้โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจชัดแจ้งเช่นว่านี้ จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายความสำหรับคดีเรื่องนั้น..." เช่นนี้ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา และกระบวนพิจารณาใดที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ จึงต้องได้รับมอบอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ทนายความจึงจะมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวแทนตัวความได้ ดังนั้น เมื่อตาม

องค์กรบริหารศาลยุติธรรม

รูปภาพ
ศาลยุติธรรมประกอบด้วยองค์กรบริหารงานของศาล จำนวน 3 องค์กร ได้แก่ 1. คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 36 ก.ต. เป็นองค์คณะทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของข้าราชการตุลาการ (ลักษณะทำนองเดียวกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ.) มีบทบาทหน้าที่ในการวางแผนกำลังคนในด้านตุลาการ เช่น การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การสรรหาบุคลากร การบรรจุแต่งตั้ง การพัฒนาบุคลากร การควบคุมให้ข้าราชการตุลาการอยู่ในกรอบแห่งจริยธรรม และมาตรการในการรักษาวินัยโดยอาศัยระบบคุณธรรม เพื่อให้ผู้พิพากษามีหลักประกันว่าจะได้รับการสนับสนุนและการคุ้มครองให้มีความอิสระอย่างแท้จริง ก.ต. ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลฎีกา 6 คน ศาลชั้นอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากการเลือกตั้งของผู้พิพากษาทั่วประเทศซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการอีก 2 คน มีวาระในการดำรงตำแนห่งคราวละ 2 ปี 2. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 10 ก.บ.ศ. เป

ป.ป.ช. ไต่สวนการกระทำผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หลังเกิดเหตุ 14 ปี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2564)

รูปภาพ
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกานี้ เป็นการวินิจฉัยอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการยกกรณีการกระทำผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นไต่สวน หลังจากเกิดเหตุแล้ว 14 ปีเศษ โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้ ขณะเกิดเหตุ ปี 2546  จำเลยได้ดำเนินการประกวดราคาซื้อรถตักฯ เป็นเหตุทำให้ราชการได้รับความเสียหาย ช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยเป็นนายกเทศบาลตำบลสมัยที่ 2 จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ในวันที่ 24 มีนาคม 2547 เมื่อลงเลือกตั้งในสมัยต่อมา ก็ได้รับเลือกติดต่อกันอีกหลายสมัย จนถึงปี 2561 โดยในปี 2560 มีผู้ร้องเรียนการกระทำเมื่อปี 2546 ดังกล่าว สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจึงเข้าตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานแล้วเสนอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำการไต่สวนข้อเท็จจริง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาพยานหลักฐานแล้ว มีคำสั่งแต่งตั้งองค์คณะพนักงานไต่สวนทำการไต่สวนข้อเท็จจริง วันที่ 30 มีนาคม 2561 องค์คณะพนักงานไต่สวนข้อเท็จจริงแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลย จนกระทั่งวันที่ 14 มิถุนายน 2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาว่าการกระทำของจำเลยมีมูลตามที่ถูกกล่าวหา ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 มาตรา 151 มาตรา 157 ศ

ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันผู้เข้าทำงาน ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ไม่ขัดต่อกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2564)

รูปภาพ
ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันผู้เข้าทำงาน ที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันผู้เข้าทำงาน ไม่ขัดต่อกฎหมาย ตามตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน ดังนี้ นาย ก. เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของ นาง A เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 และ นาย ข. เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของ นาง B เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 แต่มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้นาย ก. และนาย ข. รับผิด เป็นความเสียหายที่ นาง A และนาง B ก่อให้เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม 2557 อันเป็นเวลาก่อนหน้าที่นาย ก. และนาย ข. เข้าเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งขณะทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าว นาย ก. และนาย ข. รับทราบและยินยอมผูกพันตนรับผิดในหนี้ ที่ นาง A และนาง B  ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ ตั้งแต่วันที่ นาง A และนาง B  ทำสัญญาเข้าทำงาน กับโจทก์เป็นต้นมา ซึ่งหมายความรวมถึง การค้ำประกันโดยยอมรับผิดในความเสียหายที่ นาง A และนาง B  ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว ก่อนหน้าวันที่นาย ก. และนาย ข. ตกลงยอมเป็นผู้ค้ำประกัน   อีกทั้งข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันรับผิดในความเสียหายหรือหนี้ที่ นาง A และนาง B  ก่อให้เกิดขึ้นก่อนว

การทำงานโดยไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับบัญชา-ลงโทษวินัย ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2564)

รูปภาพ
การพิจารณาสถานะความเป็นลูกจ้างนายจ้าง จะต้องพิจารณาถึงอำนาจบังคับบัญชา และอำนาจลงโทษวินัยด้วย ดังตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย อ. ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวของจำเลย ได้รับค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท กำหนดจ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน ต่อมาจำเลยเสนอให้ นาย อ. และเพื่อนร่วมงาน ทำสัญญาใหม่เป็นสัญญาจ้างทำของ นาย อ. และเพื่อนร่วมงานไม่ยินยอม เป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างนาย อ. และเพื่อนร่วมงานดังกล่าว นาย อ. จึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย ประกอบด้วย   - ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 450,000 บาท   - ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคม 32,250 บาท   - ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 38,700 บาท   - ค่าเสียหายจากการเสียสิทธิในการรักษาพยาบาลตามประกันภัยกลุ่ม 43,000 บาท   - จ่ายเงินเพิ่มพิเศษหรือโบนัสประจำปี 90,000 บาท จำเลยให้การว่า ไม่ได้ทำสัญญาจ้างนาย อ. เป็นลูกจ้าง เป็นการจ้างเหมาทำงานฟรีแลนซ์ (Freelance) การทำงานไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การทำงานของนาย อ. ไม่ต้องมีการบันทึกเวลาเข้าออก

ข้าราชการถูกไล่ออกจากราชการ จะอาศัยผลแห่งคดีอาญาที่เป็นคุณ เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งไล่ออก ได้หรือไม่

รูปภาพ
ข้าราชการที่ถูกฟ้องคดีอาญา และถูกดำเนินการทางวินัยควบคู่กันไปด้วย จนกระบวนการทางวินัยเสร็จสิ้น ให้ลงโทษไล่ออกจากราชการ หากต่อมาผลคดีอาญาศาลพิพากษายกฟ้อง โดยข้อเท็จจริงไม่พอรับฟังได้ว่าข้าราชการดังกล่าวกระทำความผิดทางอาญา ข้าราชการผู้นี้จะขอให้หน่วยงานเพิกถอนหรือยกเลิกคำสั่งไล่ออกจากราชการ ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ นาย ป. ข้าราชการ กรมที่ดิน ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล เป็นเหตุให้กรมที่ดินดำเนินการทางวินัยนาย ป. และมีคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ ต่อมานาย ป.ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ซึ่งผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาสั่งการให้ยกอุทธรณ์ จากนั้นนาย ป. จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษและคำสั่งยกอุทธรณ์ ซึ่งคดีปกครองถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้อง (คำสั่งลงโทษไล่ออกชอบด้วยกฎหมายแล้ว) ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์นำสืบยังไม่พอรับฟังได้ว่านาย ป. กระทำความผิดทางอาญา นาย ป. จึงได้ร้องขอให้กรมที่ดินเบิกจ่ายเงินเดือน ในระหว่างที่ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการจนถึงวันเกษียณอายุราชการ รวมทั้งเงินบำเหน็จด้วยเหตุเกษีย

คดีซื้อขายออนไลน์ ฟ้องง่าย ไม่ต้องไปศาล ไม่ต้องมีทนายความ

รูปภาพ
การซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เมื่อเกิดปัญหาหรือข้อพิพาทขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะไม่ได้รับสินค้า หรือได้ของไม่ตรงปก ผู้ซื้อก็สามารถฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง แผนกคดีซื้อขายออนไลน์ ได้ง่ายมาก ๆ ซึ่ง โพสต์นี้ จะพาไปทำความรู้จัก "แผนกคดีซื้อขายออนไลน์" ให้มากยิ่งขึ้น  (วันเปิดทำการของศาลแพ่งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ ต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง)  รับรองได้ว่าผู้ซื้อที่ถูกเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม จะสามารถฟ้องคดีได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายอย่างแน่นอนครับ 1. ระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ ศาลแพ่ง "แผนกคดีซื้อขายออนไลน์" เป็น "ระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ" คือ ตั้งแต่การยื่นฟ้อง เพียงแค่กรอกข้อมูล ระบบก็จะประมวลข้อเท็จจริง เปลี่ยนเป็นคำฟ้อง มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ขายเพื่อต่อสู้คดี รวมถึงขั้นตอนการไกล่เกลี่ย การพิจารณาและพิพากษา การอุทธรณ์และฎีกา เป็นการดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น ผู้ซื้อและผู้ขายจึงไม่ต้องเดินทางไปขึ้นศาล สะดวก รวดเร็วและประหยัดเวลามาก ๆ 2. ไม่ต้องจ้างทนายความ ผู้ซื้อไม่ต้องจ้างทนา

รูปภาพกฎหมาย (หน้า 10)

รูปภาพ
รูปภาพ  หน้า 1  ,  หน้า 2  ,  หน้า 3  ,  หน้า 4  ,  หน้า 5  ,  หน้า 6   ,  หน้า 7  ,  หน้า 8  ,  หน้า 9  ,  หน้า 10