บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2020

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

รูปภาพ
คลิกดาวน์โหลดไฟล์พระราชบัญญัติฯ (PDF166หน้า) #นักเรียนกฎหมาย 27 กุมภาพันธ์ 2563

พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562

รูปภาพ
   ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แต่งตั้งข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 โดยมีหน้าที่และอำนาจปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย     1. สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม       (1) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด       (2) ข้าราชการในสังกัดสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ในตำแหน่ง นักวิชาการป่าไม้ เจ้าพนักงานป่าไม้ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ หรือปฏิบัติงาน     2. กรมป่าไม้        (1) อธิบดี        (2) รองอธิบดี        (3) ผู้ตรวจราชการกรม        (4) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน        (5) ผู้อำนวยการสำนัก        (6) ผู้อำนวยการกอง        (7) ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้        (8) ข้าราชการในตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักจัดการงานทั่วไป เจ้าพนักงานธุรการ นิติก ร นักวิชาการป่าไม้ เจ้าพนักงา

โครงสร้างกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

รูปภาพ
   พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวม 4 ฉบับ ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งสิ้น 46 มาตรา มีโครงสร้างกฎหมายดังนี้    บทบัญญัติทั่วไป    หมวด 1  ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์    หมวด 2  ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์    หมวด 3  ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์    หมวด 3/1  ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล    หมวด 4  ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ    หมวด 5  คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์    หมวด 6  บทกำหนดโทษ คลิกดาวน์โหลดไฟล์ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม #นักเรียนกฎหมาย 13 กุมภาพันธ์ 2563

สิทธิที่จะได้รับแจ้งข้อเท็จจริง และโอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน

รูปภาพ
   สิทธิของผู้ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่จะได้รับแจ้งข้อเท็จจริงและโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานเรื่องนี้ สืบเนื่องมาจากการที่สถาบันการพลศึกษาได้มีคำสั่งเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีมีโอกาสให้ถ้อยคำชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนก่อน    กรณีจึงเป็นไปตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่สามารถแก้ไขได้    อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า กระบวนพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของผู้ฟ้องคดีได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยสถาบันการพลศึกษาไม่ได้ดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ไขความไม่สมบูรณ์ของคำสั่ง ก่อน สิ้นสุดกระบวนพิจารณาอุทธรณ์     แม้ภายหลังสถาบันการพลศึกษาจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวอีก กรณีจึงไม่อาจแก้ไขความไม่สมบูรณ์ของคำสั่งได้ ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎห

การใช้ระบบคณะกรรมการโดยไม่จำเป็น

รูปภาพ
   คณะกรรมการพัฒนากฎหมายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย ตามนัยมาตรา 5 และมาตรา 21 (6) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 ซึ่งกำหนดให้การจัดทำร่างกฎหมาย หน่วยงานของรัฐพึงใช้ระบบคณะกรรมการเฉพาะกรณีที่จำเป็น และไม่ใช้ระบบคณะกรรมการ เว้นแต่เพื่อกำหนดนโยบาย หรือกำกับ หรือกำหนดหลักเกณฑ์ หรือเพื่อการอื่นที่จำเป็น โดยให้คำแนะนำว่า ระบบคณะกรรมการในกฎหมายที่ก่อให้เกิดผล ดังต่อไปนี้ เป็นการใช้ระบบคณะกรรมการโดยไม่จำเป็น    1. ทำให้คณะกรรมการเป็นผู้บริหารงานโดยตรง หรือรับผิดชอบต่อการบริหารงานโดยตรง เว้นแต่เป็นผู้ควบคุมกำกับผู้บริหารในมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน    2. ทำให้คณะกรรมการมีหน้าที่หรืออำนาจซ้ำซ้อนกับหน่วยงานหรือคณะกรรมการอื่น    3. ทำให้การบริการประชาชนหรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดขั้นตอนมากขึ้นหรือเกิดความล่าช้า    4. ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนมากร่วมเป็นกรรมการด้วย    5. ทำให้เกิดผลเป็นการเบี่ยงเบนความรับผิดชอบ (accountability) ในผลของการกระทำได้โดยง่าย    6. เป็