บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2019

สรุปคำบรรยาย กฎหมายล้มละลาย (ครั้งที่ 6)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยาย วิชากฎหมายล้มละลาย LAW3010 ครั้งที่ 6 :: วันที่ 24 เมษายน 2562 ภาคเรียน summer/2561 บรรยายโดยท่านอาจารย์ ภัทรวรรณ ทองใหญ่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เนื้อหาในส่วนที่อาจารย์จะบรรยาย และเป็นข้อสอบ 1 ข้อ    1. การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้    2. การหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย        2.1 การประนอมหนี้หลังล้มละลาย        2.2 การปลดจากล้มละลาย        2.3 การยกเลิกการล้มละลาย    3. ภาพรวมของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ สรุป กระบวนการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย    ในคดีล้มละลายจะมีกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่าการประนอมหนี้ คือ การที่ลูกหนี้ขอทำความตกลงเรื่องของหนี้สินกับบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยขอชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือขอชำระหนี้ด้วยวิธีการอื่น กฎหมายล้มละลายพยายามจะหาทางออกซึ่งเป็นทางสายกลางให้กับบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่อยากได้รับชำระหนี้ของตน ในขณะที่ตัวลูกหนี้เองมีปัญหาทางการเงิน มีหนี้สินล้มพ้นตัวหรือว่ามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายทุกคนได้ครบเต็มจำนวน 100% กฎหมายเลยหาทางออกสายกลาง คือ การให้ลูกหนี้ได้เ

สรุปคำบรรยาย กฎหมายล้มละลาย (ครั้งที่ 5)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยาย วิชากฎหมายล้มละลาย LAW3010 ครั้งที่ 5 :: วันที่ 22 เมษายน 2562 ภาคเรียน summer/2561 บรรยายโดยท่านอาจารย์นันทรัตน์ เตชะมา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คราวนี้เราจะมาดูมาตรา 45 แบบจริงจัง การประนอมหนี้ก่อนละล้มละลาย    มาตรา 45 เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินโดยวิธีขอชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่น ให้ทำคำขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดให้     คำขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความแห่งการประนอมหนี้ หรือวิธีจัดกิจการหรือทรัพย์สินและรายละเอียดแห่งหลักประกัน หรือผู้ค้ำประกัน ถ้ามี และอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้     (1) ลำดับการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัตินี้     (2) จำนวนเงินที่ขอประนอมหนี้     (3) แนวทางและวิธีการในการปฏิบัติตามคำขอประนอมหนี้     (4) กำหนดเวลาชำระหนี้     (5) การจัดการกับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ถ้ามี     (6) ผู้ค้ำประกัน ถ้ามี     ถ้าคำขอประนอมหนี้มีรายการไม่ครบถ

สรุปคำบรรยาย กฎหมายล้มละลาย (ครั้งที่ 4)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยาย วิชากฎหมายล้มละลาย LAW3010 ครั้งที่ 4 :: วันที่ 19 เมษายน 2562 ภาคเรียน summer/2561 บรรยายโดยท่านอาจารย์นันทรัตน์ เตชะมา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อจากคราวที่แล้ว หน้าที่ของบุคคลต่างๆ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ 1. หน้าที่ของเจ้าหนี้  ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตามมาตรา 27 + มาตรา 91 (พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด) เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ต่อเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเท่านั้น คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวจะยื่นขอรับชำระหนี้ยังไม่ได้ (หน้าที่ของเจ้าหนี้ จะเรียนกับอาจารย์ภัทรวรรณฯ) 2. หน้าที่ของลูกหนี้  หน้าที่ 1 ส่งมอบทรัพย์สิน ตามมาตรา 23 (พิทักษ์ทรัพย์)    มาตรา 23 เมื่อลูกหนี้ได้รับทราบคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ แล้ว ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารอันเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนซึ่งอยู่ในความครอบครองให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น       - มาตรา 23 ใช้ทั้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อลูกหนี้ได้รับทราบคำสั่งแล้ว มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อให้เจ้

สรุปคำบรรยาย กฎหมายล้มละลาย (ครั้งที่ 3)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยาย วิชากฎหมายล้มละลาย LAW3010 ครั้งที่ 3 :: วันที่ 17 เมษายน 2562 ภาคเรียน summer/2561 บรรยายโดยท่านอาจารย์นันทรัตน์ เตชะมา  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง - อาจารย์ทบทวนเนื้อหาที่บรรยายครั้งที่แล้ว มาตรา 8-10 และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง  - คำถาม ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกัน จะฟ้องคดีล้มละลายจะใช้หลักเกณฑ์ใด (เจ้าหนี้ไม่มีประกัน หลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 , 8, 9 ส่วนเจ้าหนี้มีประกัน หลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 , 8 , 9 , 10 ต้องใส่ในคำฟ้องให้ครบถ้วน) หน้าที่ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์    มาตรา 11 เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลเป็นจำนวนห้าพันบาทในขณะยื่นคำฟ้องคดีล้มละลาย และจะถอนคำฟ้องนั้นไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต    - ระวัง คำว่า "เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์" ไม่ใช้คำว่า "โจทก์" เฉยๆ คำว่า เจ้าหนี้ คือเป็นเจ้าหนี้แต่ไม่ได้ฟ้อง คนฟ้องคือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์    - ต้องวางค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีล้มละลาย 5,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนำไปใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ เมื่อใช้จ่ายไม่พอ เจ้าพนักงานจะเรียกให้วางค

สรุปคำบรรยาย กฎหมายล้มละลาย (ครั้งที่ 2)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยาย วิชากฎหมายล้มละลาย  LAW3010 ครั้งที่ 2 :: วันที่ 10 เมษายน 2562 ภาคเรียน summer/2561 บรรยายโดยท่านอาจารย์ นันทรัตน์ เตชะมา  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว    มาตรา 8 ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว    (1) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร    (2) ถ้าลูกหนี้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนไป โดยการแสดง เจตนาลวง หรือโดยการ ฉ้อฉล ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร     - เป็นการโอนให้แก่บุคคลภายนอก    -   การโอนโดยเจตนาลวง ไม่มีเจตนาในการโอนทรัพย์สินกัน การโอนจึงเป็นโมฆะ     -   การโอนโดยฉ้อฉล มีเจตนาในการโอนทรัพย์สินกัน แต่โอนไปเพื่อให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ     (3) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะต้องถือว่าเป็นการให้เปรียบ ไม่ว่าได้กระทำกา