บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2020

ตรวจรับงานที่ยังไม่เสร็จและไม่เรียกค่าปรับที่ส่งงานล่าช้ากว่ากำหนด ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับการตรวจรับงานที่ยังไม่เสร็จและไม่เรียกค่าปรับที่ส่งงานล่าช้ากว่ากำหนด ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ คดีนี้สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง กรณีหน่วยงานของรัฐได้จ้างซ่อมรถยนต์ส่วนกลาง ซึ่งผู้ฟ้องคดีเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ลงลายมือชื่อตรวจรับงานซ่อมในใบตรวจรับพัสดุ ทั้งที่งานซ่อมยังไม่แล้วเสร็จ และมีการเบิกจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้กับผู้รับจ้างก่อนที่ผู้รับจ้างจะส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนด พฤติการณ์เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ อันเป็นการทำให้ผู้รับจ้างได้รับประโยชน์ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง  ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจออกคำสั่ง จึงพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูล และมีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ  ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษไล่ออกดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุ

คำแนะนำของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยแนวทางการใช้โทษอาญา พ.ศ. 2563

รูปภาพ
เจตนารมณ์ในการออก  คำแนะนำของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยแนวทางการใช้โทษอาญา พ.ศ. 2563 เนื่องจาก การใช้โทษอาญาต้องคำนึงถึงพฤติการณ์ของการกระทำผิดกับโทษที่จะลงนั้น ให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกัน และต้องคำนึงถึงการฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้รู้สำนึกในความผิดของตน เพื่อส่งกลับคืนสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนป้องปรามมิให้ผู้กระทำผิดหรือผู้อื่นกระทำผิดซ้ำอีกด้วย เมื่อโทษอาญาสำหรับลงแก่ผู้กระทำผิดมีหลายรูปแบบ และการแก้ปัญหาอาชญากรรมไม่อาจอาศัยแต่โทษที่รุนแรงอย่างเดียว การใช้โทษอาญาย่อมต้องตระหนักถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน และพิจารณาปรับใช้โทษอาญาให้มีความเหมาะสมแก่ผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคล ประกอบกับศาลมีอำนาจบังคับใช้มาตรการที่เป็นทางเลือกอันมิใช่การคุมขังได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้การใช้โทษอาญาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ลดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ประธานศาลฎีกาจึงออกคำแนะนำ ว่าด้วยแนวทางการใช้โทษอาญา ดังนี้ ข้อ 1 การลงโทษทางอาญา พึงคำนึงถึงเรื่องการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบที่พึงมีต่อสังคม และการป้องปรามมิให้เกิดการกระทำผิดอีก ในการกำหนดโทษสถานใด เพี

หนังสือกฎหมายล้มละลาย

รูปภาพ
หนังสือ กฎหมายล้มละลาย พิมพ์ครั้งที่ 16 (26 พฤศจิกายน 2562) ของท่าน อ.เอื้อน ขุนแก้ว ผมได้ใช้เป็นหลักในการทำงาน ช่วยแก้ปัญหาการทำงานได้เป็นอย่างดีครับ ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ

"ผู้มีส่วนได้เสีย" ในสัญญาจ้างของสมาชิกสภาท้องถิ่น (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.526/2556)

รูปภาพ
การพิจารณาว่า สมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในสัญญาจ้างที่หน่วยงานเป็นคู่สัญญาหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดวางหลักในการพิจารณาดังกล่าว ว่าจะต้องพิจารณาในหลายประเด็นประกอบกัน จะพิจารณาเพียงว่าเป็นคู่สัญญาหรือไม่เท่านั้นมิได้ ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.526/2556   ความเป็นมาของคดีสืบเนื่องมาจาก  เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2551   ผู้ฟ้องคดีเข้าทำสัญญากับเทศบาล รับจ้างก่อสร้างปรับปรุงเสริมผิวจราจรลาดยาง และวางเงินหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา จำนวน 16,750 บาท ซึ่งตามสัญญากำหนดให้ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องไว้เป็นเวลา 2 ปี นับถัดจากวันที่มีการตรวจรับงาน ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินงานเสร็จสมบูรณ์และส่งมอบงานแก่เทศบาล แต่ยังคงต้องผูกพันตามสัญญาในความชำรุดบกพร่องเป็นเวลา 2 ปี  นับถัดจากวันที่มีการตรวจรับงาน  (เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตรวจรับงานวันใด และหากมีการตรวจรับเงินวันที่ส่งมอบงานนั้นเอง ผู้ฟ้องคดีจำต้องผูกพันในความชำรุดบกพร่อง จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2553) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2551 ผู้ฟ้องคดีได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล  ไม่ปรากฏว่