บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2020

เจ้าหน้าที่ของรัฐอาศัยเหตุส่วนตัวทำละเมิด ต้องฟ้องศาลยุติธรรม

รูปภาพ
   เจ้าหน้าที่รัฐตำแหน่งหัวหน้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าเรือ ใช้ให้ราษฎรทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นการกระทำโดยอาศัย เหตุส่วนตัว มิใช่เป็นการกระทำละเมิดโดยใช้อำนาจตามกฎหมายในฐานะหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ     ดังนั้น ถ้าผู้เสียหายเห็นว่าการกระทำของหัวหน้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าเรือทำละเมิดทำให้ได้รับความเสียหาย ก็สามารถฟ้องคดีต่อ ศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 อ้างอิง - คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 20/2545 - พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 บัญญัติว่า     "ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้" #นักเรียนกฎหมาย 24 มกราคม 2563

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ชุดที่ 1)

รูปภาพ
ข้อ 1 การส่งลูกจ้างไปรับการเพิ่มพูนความรู้ ฝีมือ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จัดอยู่ในความหมายตามข้อใด ก. ทดสอบฝีมือ ข. ฝึกงาน ค. อบรม ง. ทัศนศึกษา ข้อ 2 ปัจจุบันผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 คือผู้ใด ก. นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล ข. นายอภิญญา สุจริตตานันท์ ค. หม่อมราชวงศ์ จัตุมงคล โสณกุล ง. นายธวัช เบญจาทิกุล ข้อ 3 ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตจัดหางานในประเทศ ก. มีหลักประกันการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ 100,000 บาท ข. ไม่เป็นผู้รับอนุญาตจัดหางาน ค. มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ ง.  ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน   ข้อ 4 โดยปกติ ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศสามารถเรียกหรือรับค่าบริการจากคนหางานไว้เป็นการล่วงหน้าก่อนเดินทางได้ในกำหนดระยะเวลาใด  ก. 20 วัน ข. 40 วัน ค. 45 วัน ง. 60 วัน ข้อ 5 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้ขออนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ ก. เป็นบริษัทจำกัด ข. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ค. มีหลักประกันการปฏิบัติตามกฎหมาย 5,000,000

รูปภาพกฎหมาย (หน้า 4)

รูปภาพ
รูปภาพ  หน้า 1  ,  หน้า 2  ,  หน้า 3  ,  หน้า 4  ,  หน้า 5  ,  หน้า 6   ,  หน้า 7  ,  หน้า 8  ,  หน้า 9  ,  หน้า 10

ออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

รูปภาพ
    การที่หน่วยงานของรัฐออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนดำเนินการส่งสำนวนการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังตัวอย่างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.252/2557    ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กองทัพบกหน่วยงานของรัฐผู้เสียหาย ได้มีคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ก่อน ส่งสำนวนการพิจารณาของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ถือเป็นการข้ามขั้นตอนในสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในข้อ 17 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ส่งผลให้คำสั่งของกองทัพบกดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย    แม้ต่อมาภายหลังกองทัพบกจะมีการส่งสำนวนการสอบข้อเท็จจริงให้กระทรวงการคลังตรวจสอบและแก้คำสั่งเดิมเฉพาะจำนวนเงินตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ก็ถือว่าเป็นการแก้ไขเพียงบางส่วนของคำสั่ง ไม่มีผลทำให้คำสั่งเดิมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กลับมาเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายได้     หมายเหตุ คดีนี้สำนวนการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดอยู่ในข่ายที่จะต้องส่งให้กระ

ร่วมระลึกถึงพระคุณครู : วันครูตามกฎหมาย

รูปภาพ
   ร่วมระลึกถึงพระคุณที่สาม พระคุณครู ผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้อบรมสั่งสอนแก่ลูกศิษย์ วันนี้ผมได้ค้นหาจุดเริ่มต้นของวันครู พบว่าได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2499 โดยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณากำหนดให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็นวันครู ด้วยเหตุผลดังนี้    "บรรดาครูทั้งหลาย เป็นผู้ที่ได้ประกอบคุณงามความดีเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นอันมาก สมควรที่จะได้กำหนดให้มีวันครูเพื่อให้มีการระลึกถึงความสำคัญของครู"         ส่วนเหตุผลที่กำหนดเป็นวันที่ 16 มกราคมนั้น เนื่องจากตรงกับวันที่ พระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และกำหนดให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า "คุรุสภา" ที่มา  - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา - วิกิพีเดีย ร่วมระลึกถึงพระคุณครู #นักเรียนกฎหมาย 15 มกราคม 2563

การแบ่งชั้นนักโทษเด็ดขาด

รูปภาพ
   นักโทษเด็ดขาด คือ ผู้ที่ถูกขังไว้ตามหมายจำคุกภายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด รวมทั้งผู้ที่ถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย ซึ่งนักโทษเด็ดขาดจะถูกแบ่งชั้นไว้ทั้งหมด 6 ชั้น ตาม กฎกระทรวงกำหนดประโยชน์นักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562   (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)   ดังนี้    1. ชั้นเยี่ยม    2. ชั้นดีมาก    3. ชั้นดี    4. ชั้นกลาง    5. ชั้นต้องปรับปรุง    6. ชั้นต้องปรับปรุงมาก    ทั้งนี้โดยปกติทั่วไป นักโทษเด็ดขาดเข้าใหม่ จะต้องจัดอยู่ในชั้นกลาง เว้นแต่มีเหตุอื่นที่กำหนดไว้ให้จัดนักโทษเด็ดขาดเข้าใหม่อยู่ในชั้นอื่นๆ แทน ซึ่งผมจะได้สรุปสาระสำคัญในโอกาสต่อไปครับ    #นักเรียนกฎหมาย 15 มกราคม 2563

ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ พ.ศ. 2562

รูปภาพ
   สาระสำคัญ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ พ.ศ. 2562    ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563) โดยยกเลิก ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2552     หน่วยงานของรัฐไม่ต้องรายงาน ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ดังนี้     1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ ครั้งละไม่เกิน 1,000,000 บาท    2. ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ ครั้งละเกินกว่า 1,000,000 บาท สำหรับความเสียหายประเภท         2.1 ความเสียหายจากสาเหตุทั่วไป ที่มิได้มีสาเหตุจากการทุจริต เงินขาดบัญชีหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือข้อบังคับต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ เพลิงไหม้ ทรัพย์สินเสียหายหรือสูยหาย เป็นต้น และหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาให้ผู้ต้องรับผิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่ร้อยละ 75 ของความเสียหา

แนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ประจำปี พ.ศ. 2561

รูปภาพ
แนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ประจำปี พ.ศ. 2561 (120 หน้า) ที่มา เว็บไซต์ศาลปกครอง คลิกดาวน์โหลดไฟล์ PDF #นักเรียนกฎหมาย 13 มกราคม 2563

อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลปกครอง (เลยกำหนด 1 วัน)

รูปภาพ
   การยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น แม้เลยกำหนดเพียง 1 วัน ศาลปกครองย่อมมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา ดังตัวอย่างคำสั่ง ศาลปกครองสูงสุดที่ 608-609/2555     คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2555 ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง คือ ภายในวันที่ 27 เมษายน 2555     เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ EMS เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555  (เลยกำหนด 1 วัน) เป็นการยื่นคำอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำพิพากษา ตามมาตรา 73 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542     เมื่อศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงชอบด้วยข้อ 104 วรรคสอง แห่ง ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด  ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 อ้างอิง      พระราชบัญญัติจัดตั้ง

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 (ว่าด้วยสุรา)

รูปภาพ
ข้อ 1 ตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต บัญญัติให้เครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เท่าใดถือเป็นสุรา ก. 0.5 ดีกรี ข. 1 ดีกรี ค. 15 ดีกรี ง. ข้อ ข. และ ค. ข้อ 2 ผู้ที่ประสงค์จะผลิตสุรา ต้องยื่นคำขออนุญาตต่อใคร ก. อธิบดีกรมสรรพากร ข. เจ้าพนักงานสรรพสามิต ค. อธิบดีกรมสรรพสามิต ง. ข้อ ข. และ ค. ข้อ 3 ผู้ที่ประสงค์จะขายสุรา ต้องยื่นคำขออนุญาตต่อใคร ก. อธิบดีกรมสรรพากร ข. เจ้าพนักงานสรรพสามิต ค. อธิบดีกรมสรรพสามิต ง. ข้อ ข. และ ค. ข้อ 4 ผู้ที่ประสงค์จะนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องยื่นคำขออนุญาตต่อใคร ก. อธิบดีกรมสรรพากร ข. เจ้าพนักงานสรรพสามิต ค. อธิบดีกรมสรรพสามิต ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง ข้อ 5 โดยปกติใบอนุญาตให้ขายสุรามีอายุกี่ปี  ก. 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ข. 1 ปี นับแต่วันที่ขออนุญาต ค. 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ง. 3 ปี นับแต่วันที่ขออนุญาต ข้อ 6 การขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร ต้องใช้ใบอนุญาตขายสุราประเภทใด ก. ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 ข.  ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 2 ค.  ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 3 ง.   ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 2 หรือ 3

7ประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม

รูปภาพ
   ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม ดังนี้    1. ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค    2. ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร    3. ประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพ    4. ประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย    5. ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร    6. ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ    7. ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ยกเว้นผู้ประกันตนตามมาตรา 39    ทั้งนี้ สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนดังกล่าวไม่อาจโอนกันได้ และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ จะพึงได้ตามกฎหมายอื่นอีกด้วย ตามมาตรา 54 และมาตรา 54/1 #นักเรียนกฎหมาย 7 มกราคม 2563

โครงสร้าง กฎหมายภาษีสรรพสามิต

รูปภาพ
   พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ตราขึ้นจากการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต เช่น กฎหมายสุรา กฎหมายยาสูบ และกฎหมายไพ่ เป็นต้น โดยรวบรวมให้อยู่ภายในกฎหมายฉบับเดียวกัน และให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ทำให้พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ ประกอบด้วยบทบัญญัติถึง 213 มาตรา ดังนั้น การศึกษาโครงสร้างของกฎหมายนี้ จะช่วยสร้างความเข้าใจภาพรวมได้ง่ายขึ้น โดยประกอบด้วย โครงสร้างดังนี้ บทบัญญัติทั่วไป  หมวด 1 การจัดเก็บภาษีสรรพสามิต    ส่วนที่ 1 บททั่วไป    ส่วนที่ 2 การเสียภาษีสรรพสามิต    ส่วนที่ 3 การจดทะเบียนสรรพสามิต    ส่วนที่ 4 คลังสินค้าทัณฑ์บน    ส่วนที่ 5 การยื่นแบบรายการภาษีและการชำระภาษี    ส่วนที่ 6 แสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี    ส่วนที่ 7 การประเมินและการวางประกันค่าภาษี    ส่วนที่ 8 การอุทธรณ์การประเมินภาษี    ส่วนที่ 9 การยกเว้น การลดหย่อน การลดอัตรา และการคืนภาษี    ส่วนที่ 10 บัญชีหลักฐานและการปฏิบัติ    ส่วนที่ 11 พนักงานเจ้าหน้าที่    ส่วนที่ 12 การเปรียบเทียบคดี    ส่วนที่ 13 เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม    ส่วนที่ 14 กา

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 1)

รูปภาพ
ข้อ 1 การจัดทำรายงานการประชุม ต้องมีรายละเอียดตามที่กำหนด โดยหัวใจสำคัญของรายงานการประชุม คือข้อใด ก. ความสวยงาม เรียบร้อยของรายงานการประชุม ข. การบันทึกความคิดเห็น และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ค. การบันทึกหลักฐานไว้เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ง. ต้องลงชื่อและตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมไว้ด้วย ข้อ 2 ผู้ใดมีอำนาจหน้าที่แก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข. นายกรัฐมนตรี ค. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ง. ไม่มีข้อใดถูก ข้อ 3 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดโดยกฎหมายใด ก. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ข.   ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ค.   ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ง.   ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2564 ข้อ 4 ข้อใดไม่ถูกต้อง ก. หนังส

ความสำคัญในการพิจารณาฐานะของ "ผู้ต้องหา"

รูปภาพ
   หนังสือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของท่านอาจารย์สหรัฐ กิติ ศุภการ เล่มนี้ ผมมีความชอบเป็นพิเศษ เพราะเนื้อหากระชับ สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย จึงขออนุญาตท่านอาจารย์หยิบยกตัวอย่างข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญในการพิจารณาฐานะผู้ต้องหา เพื่อเป็นวิทยาทาน ดังนี้    "การพิจารณาว่าบุคคลใดตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหา มีความสำคัญในแง่ของการได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของผู้ต้องหาที่จะไม่ให้ถ้อยคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง     เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาแล้ว...แม้ให้การเท็จ ก็ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ หรือแม้จะใช้หรืออ้างเอกสารปลอม ก็ไม่มีความผิด...     แต่ถ้าให้การเท็จหรือใช้เอกสารปลอม ก่อน ตกเป็นผู้ต้องหา ไม่ถือว่าให้การในฐานะผู้ต้องหา จึงมีความผิดได้" ที่มา ข้อสังเกตของท่านอาจารย์ สหรัฐ กิติ ศุภการ. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พิมพ์ครั้งที่ 11 หน้า 11 #นักเรียนกฎหมาย  2 มกราคม 2563

งานวันเด็กครั้งแรกในไทย

รูปภาพ
   การจัดงานวันเด็กครั้งแรกในไทย ปรากฏตามหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 81 วันที่ 11 ตุลาคม 2498 คำตอบคำถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คำถามที่ ส.57/2498 ของนายน้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการฉลองวันเด็กสากล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ตอบคำถามความตอนหนึ่งไว้ว่า     รัฐบาลได้ตกลงจัดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติพร้อมกับวันเด็กสากล คือ ในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม การจัดฉลองวันเด็กประจำปี 2498 เนื่องจากเป็นปีแรก มีเวลาจัดเตรียมงานน้อย เห็นสมควรจัดทำเท่าที่สามารถจะเตรียมงานได้ภายในระยะเวลาอันสั้น กล่าวคือ    1. ให้เด็กได้พักการเรียนในวันนั้น แต่ให้ไปโรงเรียนฟังสาส์นจากท่านนายกรัฐมนตรีในตอนเช้า และจัดให้มีการรื่นเริงภายในโรงเรียน    2. ขอร้องให้สวนสัตว์ที่เขาดินเปิดสำหรับเด็กโดยไม่คิดมูลค่า และขอให้โรงภาพยนตร์บางโรงฉายภาพยนตร์สำหรับเด็กเป็นพิเศษ ขอให้เปิดพิพิธภัณฑ์สถาน เปิดวัดพระแก้วฯ เป็นพิเศษ สมาคม Y.M.C.A. ร่วมมือจัดงานเด็กและฉายภาพยนต์ ณ สมาคมที่วรจักร    3. จัดรายการวิทยุสำหรับวันเด็กเป็นพิเศษ โดยมีสาส์นจากท่านนายกรัฐมนตรีถึงประธาน เกี่ยวกับความสำคัญของเ