บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2023

ตั้งหลานนอกสายเลือดซึ่งปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ ให้เป็นผู้อนุบาล (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2563)

ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอ ขอให้สั่งให้ นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถ และอยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง ผู้คัดค้าน ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้อนุบาล ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นาง ป. สมรสกับพลเรือตรี ส. ไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมาปี 2543 พลเรือตรี ส. ถึงแก่ความตาย นาง ป. กับผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ช. และนาง น. บิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรของนาย ส. เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของนาง ป. ผู้คัดค้านมีฐานะเป็นหลานของนาง ป.  เมื่อปี 2558 นาง ป. ป่วยและเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล1 ต่อมาได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาล2 แล้วถูกย้ายมารักษาตัวที่โรงพยาบาล3 ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาว่า ผู้ร้องมิได้เป็นผู้ซึ่งปกครองดูแลนาง ป. ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอ ทั้งมิใช่บุคคลที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถและเป็นผู้อนุบาล ยกคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่ฎีกา คำร้องขอในส่วนของผู้ร้องจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดี

ข้าราชการมีกรรมสิทธิ์ในเคหสถาน ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2565)

ตาม พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 (2) กำหนดหลักเกณฑ์ไม่ให้สิทธิข้าราชการที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่เบิกค่าเช่าบ้าน โดยไม่มีบทบัญญัติว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรานี้เฉพาะในขณะที่ข้าราชการยื่นขอใช้สิทธิ  ดังนี้ จึงต้องตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวย่อมต้องบังคับใช้ตลอดเวลาที่ข้าราชการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการ กล่าวคือ ข้าราชการผู้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านนั้นต้องไม่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ตนไปประจำในช่วงเวลาที่ขอใช้สิทธินี้ หาใช่ตีความว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวบังคับใช้แต่เฉพาะเวลาที่ข้าราชการยื่นคำขอใช้สิทธิ แล้วข้าราชการผู้นั้นยังคงสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านได้ตลอดช่วงเวลาที่ประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่นั้นดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่  เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2416 พร้อมบ้านเลขที่ 146 ทั้งส่วนของบิดาและส่วนของน้องชายมาโดยไม่มีภาระหนี้เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าว จำเลยย่อมเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้อย่างสมบูรณ์  กรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ข้างต้นว่า จำ

ศาลกำหนดดอกเบี้ยค่าชดเชยการเลิกจ้างมากกว่าคำฟ้องได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2564)

โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี และได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 30,000 บาท  ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (1) - (6) จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง (2) เป็นเงิน 90,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง นับตั้งแต่วันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นต้นไป โจทก์ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยโดยคำนวณถึงวันฟ้องเพียงหนึ่งปีหนึ่งเดือน แต่เพื่อความเป็นธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในค่าชดเชยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ   ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ประกอบมาตรา 57/1 วรรคสอง ที่มา  - คำพิพากษาฎีกาที่ 1631/2564, เนติบัณฑิตยสภา สารบาญคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 หน้า 568 - 569 - พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541    มาตรา 9 วรรคหนึ่ง "ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงินตามมาตรา 10 วรรคสอง ไม

นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้ว มาฟ้องล้มละลาย ไม่ใช่การบังคับคดี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2549)

โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้ว มาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย มิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง   จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้   แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลาย โดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษา ของศาลจังหวัด... ซึ่ง เป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32   ดังนั้น เมื่อศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำพิพากษาดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์คดีดังกล่าวจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2538  โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 จึงอยู่ภายใต้กำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษานั้น มาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้  เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้จำเ

เรียกค่าสินไหมทดแทนจากการยักยอก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2565)

การเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่ตนครอบครองเป็นของตนโดยทุจริตอันเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกและเป็นละเมิดในทางแพ่งนั้น การใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องกระทำโดยการคืนทรัพย์สินที่ยักยอกแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินเป็นลำดับแรก กรณีไม่อาจคืนทรัพย์สินแก่ผู้เสียหายได้ ผู้เสียหายจึงจะมีสิทธิเรียกให้ผู้ทำละเมิดใช้ราคาทรัพย์สินแทนเป็นลำดับถัดมา   ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคสอง  คดีนี้โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้ายรวม 19 ลำดับ แก่โจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แสดงว่าขณะฟ้องทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งหมด รวมทั้งสะพานไม้รอบบ่อ ยังอยู่ในสภาพที่จำเลยทั้งสามสามารถคืนให้แก่โจทก์ร่วมได้ ทั้ง ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีส่วนแพ่งในศาลชั้นต้นของโจทก์ร่วม เริ่มตั้งแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เข้าร่วมไกล่เกลี่ยตกลงให้โจทก์ร่วมขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและอาคารที่เช่า ตลอดจนอ้างตนเองเบิกความเป็นพยาน โจทก์ร่วมก็มิได้โต้แย้งหรือเบิกความคัดค้านว่าสะพานไม้รอบบ่อสูญหาย หรือบุบสลายหรือถูกทำลายจนไม่อยู่ในสภาพที่จำเลยทั

เสพยาเสพติดต่างชนิดในช่วงเวลาต่อเนื่องเชื่อมโยง เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2565)

จําเลยเสพเมทแอมเฟตามีน ด้วยวิธีเผาลนจนเกิดควันแล้วสูดดมควันเข้าสู่ร่างกาย หลังจากนั้น จําเลยเสพเฮโรอีน โดยนําเฮโรอีนใส่ในอุปกรณ์การเสพผสมกับบุหรี่จุดไฟให้เกิดควันแล้วสูดดมควันเข้าสู่ร่างกาย แม้วิธีการเสพจะแตกต่างกัน และโจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็นข้อ ๆ ต่างหากจากกัน  แต่การเสพเมทแอมเฟตามีนและเสพเฮโรฮีนเป็นความผิดในบทบัญญัติกฎหมายมาตราเดียวกัน จําเลยเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วเสพเฮโรอีนในเวลาต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน ย่อมไม่อาจอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่มา  - ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายอาญา   มาตรา 90 "เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด"

หลักการให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งข้อเท็จจริงและมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณา

หลักการให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งข้อเท็จจริงและมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณา ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีดังนี้ 1. สิทธิในการได้รับคำแนะนำและได้รับแจ้งสิทธิหน้าที่ของตนในกระบวนพิจารณา รวมถึงผลกระทบสิทธิหน้าที่จากคำสั่งทางปกครองที่จะเกิดขึ้น (มาตรา 27) และสิทธิในการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือโต้แย้งนั้น (มาตรา 40) 2. สิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครอง (มาตรา 23) และสิทธิแต่งตั้งตัวแทน (มาตรา 24) โดยอาจเป็นตัวแทนของคู่กรณีรายเดียว (มาตรา 24 วรรคหนึ่ง) หรือตัวแทนร่วมของคู่กรณีเกิน 50 คน (มาตรา 25) 3. สิทธิในการทราบข้อเท็จจริงและข้อกล่าวหาอย่างเพียงพอภายในระยะเวลาอันสมควร เพื่อให้สามารถโต้แย้งและแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เว้นแต่กรณีตามข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนด เช่น เหตุเกี่ยวกับความเร่งด่วนหรือสภาพของเรื่อง ซึ่งหากเจ้าหน้าที่เห็นควรก็อาจยังคงให้โอกาสคู่กรณีโต้แย้งได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ (มาตรา 30) 4. สิทธิในการขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นแก่การใช้สิท

สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันชีวิตที่เป็นสินสมรส เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมทั้งหมด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5980/2564 (ประชุมใหญ่))

ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการยึดเงินคืนครบกำหนดสัญญาประกันภัย จำนวน 671,025.50 บาท ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน เพื่อขอให้เพิกถอนการยึดและคืนเงินให้แก่ผู้ร้อง แต่ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งผู้คัดค้านและคืนเงินให้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านว่า สัญญาประกันภัยดังกล่าวมีจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัย ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญา เมื่อสัญญาประกันภัยครบกำหนด ผู้รับประกันภัยต้องส่งเงินคืนครบกำหนดตามกรมธรรม์ให้แก่จำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิในเงินคืนดังกล่าว  ขอให้ศาลยกคำร้อง ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้อง  ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง ผู้ร้องฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลาย เห็นว่า ผู้ร้องเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตจำเลย ในลักษณะ สัญญาประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (มีเงินปันผล) มีลักษณะเป็นการประกันความเสี่ยงชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเสียชีวิตของจำเลย เพื่อความมั่นคงของครอบคร

ฟ้องบริษัทร้างซึ่งถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4864/2564)

จำเลยที่ 2 เป็น บริษัทร้างซึ่งนายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้ว ตามความในมาตรา 1273/3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560  เช่นนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อออกเสียจากทะเบียน ซึ่งเป็นกรณีการถอนทะเบียนบริษัทจำกัดร้าง มิใช่เป็นกรณีที่บริษัทเลิกกันอันให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ตามที่โจทก์ฎีกา   โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 สิ้นสภาพนิติบุคคลแล้ว ดังนั้น ขณะฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสภาพความเป็นนิติบุคคลที่จะให้โจทก์ฟ้องได้  ประกอบกับข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งจดชื่อจำเลยที่ 2 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนเสียก่อนที่จะฟ้องตามมาตรา 1273/4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และมาตรา 55 ที่มา -  ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 1249 ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่า

ศาลรับฟังหลักวิชาการวิจัยและสถิติในคดียาเสพติด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2560)

คดีนี้ศาลฎีกากำหนดปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลย ว่าการตรวจเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วยการสุ่มตรวจจากตัวอย่างร้อยละ 10 ของวัตถุของกลาง 2,000 เม็ด พบสารเมทแอมเฟตามีนในวัตถุตัวอย่างที่ตรวจ จึงนำมาคำนวณหาสารเสพติดทั้ง 2,000 เม็ด ได้สารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน 28.236 กรัม ของผู้เชี่ยวชาญจะรับฟังได้หรือไม่  ข้อเท็จจริงได้ความจากบันทึกการจับกุม เอกสารการส่งและรับวัตถุของกลางระหว่างพนักงานสอบสวนกับเจ้าพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่า วัตถุของกลาง 20,000 เม็ด นั้น มีการแบ่งแยกบรรจุตามสีของเม็ดวัตถุและสีของถุงพลาสติกที่บรรจุมาก่อน โดยวัตถุเม็ดสีส้มจำนวน 1,980 เม็ด และสีเขียว 20 เม็ด ของกลางในคดีนี้บรรจุซองพลาสติกสีน้ำเงิน 10 ซอง มัดรวมกันเป็น 1 มัด รัดด้วยหนังยาง  ส่วนวัตถุเม็ดสีส้มอ่อนจำนวน 8,000 เม็ด บรรจุอยู่ในซองพลาสติกสีฟ้า แบ่งเป็น 4 มัด มัดละ 10 ซอง  กับวัตถุเม็ดสีส้มออกน้ำตาลจำนวน 10,000 เม็ด บรรจุซองพลาสติกสีน้ำเงินแบ่งเป็น 5 มัด มัดละ 10 ซอง  และผู้เชี่ยวชาญการตรวจพิสูจน์ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้สุ่มตรวจ

หลักการพิจารณาอุทธรณ์และผลการพิจารณาอุทธรณ์

หลักการพิจารณาอุทธรณ์   ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองที่ได้รับคำอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง มีอำนาจพิจารณาทบทวนคำสั่งทางปกครองของตนเองตามคำอุทธรณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครอง  และอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นไปในทางใด และในเรื่องใดก็ได้ ภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน (มาตรา 46)  โดยต้องพิจารณาให้เสร็จ และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบว่าตนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์นั้นโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ (มาตรา 45 วรรคหนึ่ง)  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ (มาตรา 45 วรรคหนึ่ง)  แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ นอกจากจะต้องแจ้งผลให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบแล้ว ยังต้องเร่งรายงานความเห็น พร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังกล่าวด้วย  ส่วนว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีอำน

ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184 - 1187/2565)

โจทก์ร่วมเปิดบัญชีเงินฝาก ธนาคารให้รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านแก่โจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมใช้ข้อมูลบัญชีเงินฝาก รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านบนโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ ชำระหนี้อื่นแทนการชำระเงินสด ใช้โอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ร่วมไปยังบัญชีเงินฝากของบุคคลอื่น ใช้ในการเบิกถอนเงินสด หรือใช้ในธุรกรรมอย่างอื่น  ถือได้ว่าเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของมาตรา 1 (14) (ข) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคาร รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านที่โจทก์ร่วมได้รับมา เป็นข้อตกลงระหว่างธนาคารและโจทก์ร่วมในการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ โดยโจทก์ร่วมต้องเก็บรักษาเป็นความลับของตนมิให้ผู้ใดล่วงรู้  การที่โจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 2 ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์โดยการบอกข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคาร รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านแก่จำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้าง ก็เพื่อให้ทำธุรกรรมบนโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตแทนโจทก์ร่วมให้เป็นไปตามที่โจทก์ร่วมสั่งหรือมอบหมายให้ทำ หาใช่นำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้เกินกว่าที่โจทก์ร่วมสั่งหรือมอบหมายให้ทำไม่   การที่จำเลยที่ 2 ใช้ข้อมูล บัญชีเงินฝากธนาคาร รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านของโจทก์ร่วมโอนเงินจาก

ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ นับอายุความตามมูลหนี้เดิม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2564)

จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 นำหนี้ตามสัญญากู้เงินมาทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระและระยะเวลาการชำระหนี้ใหม่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงเจตนาให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป แล้วมาบังคับกันใหม่ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แต่อย่างใด เมื่อไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ การนับอายุความต้องถือตามมูลหนี้เดิมแต่ละมูลหนี้ เมื่อ หนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน มีเงื่อนไขให้ผ่อนชำระเงินกู้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายเดือน จึงเป็นหนี้เงินที่ต้องผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี และจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ซึ่งครบอายุความ 5 ปี ในวันที่ 1 เมษายน 2556 โจทก์ฟ้องวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 เกินกว่า 5 ปี หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินขาดอายุความแล้ว ส่วน หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี มีอายุความ 10 ปี จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 ยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันดังกล่าว หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ขาดอายุความ ที่มา

เจ้าพนักงานทุจริตจัดจ้างก่อสร้างถนนคอนกรีต (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2564)

จำเลยทั้งสาม รู้ว่าไม่มีอำนาจอนุมัติ และไม่ได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนผู้มีอำนาจ ได้ร่วมกันเสนอเอกสารขออนุมัติจ้างเหมาก่อสร้าง เสนอบันทึกขออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง ร่วมกันลงลายมือชื่อในฎีกาเบิกเงิน และสั่งจ่ายเช็ค จำนวน 100,000 บาท ประกอบกับผู้รับจ้างมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับจำเลยที่ 2 และการอนุมัติเป็นการกระทำโดยเร่งรัด เป็นการร่วมกัน อนุมัติการจัดจ้างและตกลงจ้างโดยวิธีตกลงราคา การจ่ายเงิน และเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้าง โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบ กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ทำให้มีการว่าจ้างร้าน พ. ให้ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้แก่ร้าน พ. โดยที่ร้าน พ. ไม่มีสิทธิเป็นผู้รับจ้างและรับเงินค่าก่อสร้าง ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับผู้อื่นอันเป็นการกระทำโดยทุจริตแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่เทศบาล

โรงเรียนให้นักเรียนออกกลางคันในระหว่างการศึกษาภาคบังคับ เป็นการกระทำละเมิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6234/2564)

ตามบทบัญญัติมาตรา 50, 54 วรรคหนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 17, 45 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และมาตรา 4 นิยามศัพท์ "การศึกษาภาคบังคับ" "สถานศึกษา" "เด็ก" แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 เป็นบทบังคับให้ประชาชนผู้มีสัญชาติไทยมีหน้าที่เข้ารับการศึกษาภาคบังคับ และเป็นหน้าที่ของรัฐจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนผู้มีสัญชาติไทยตามที่กฎหมายบัญญัติ เริ่มตั้งแต่ก่อนวัยเรียน คือ ชั้นอนุบาล 1 ถึง 3 จนจบการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำเลยที่ 1 เปิดสอนการศึกษาภาคบังคับ จึงเป็นสถานศึกษาตามนิยามศัพท์แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับฯ โดยไม่คำนึงว่าเป็นโรงเรียนเอกชนหรือรัฐ จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จัดการศึกษาภาคบังคับให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย  แม้มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับฯ ยังไม่ได้แก้ไขกำหนดอายุของเด็กก่อนวัยเรียน ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่จำนวนชั้นปีที่ต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายทั้งสองฉบับสอดคล้องกับอายุเด็กซึ่งเริ่มตั้

แม้จดทะเบียนหย่าแล้วแต่ยังอยู่กินฉันสามีภริยา ฆ่าชู้โดยบันดาลโทสะ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2564)

จำเลยใช้ไม้เหลี่ยมยาว 1 เมตร ตีศีรษะผู้ตายโดยแรง 2-3 ครั้ง โดยจำเลยมองเห็นผู้ตายได้ดีและมีโอกาสเลือกตีอวัยวะส่วนอื่น แต่จำเลยกลับเลือกตีศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญหลายครั้ง ถึงกับเป็นเหตุให้กะโหลกศีรษะด้านซ้ายและส่วนฐานด้านซ้ายแตกร้าวรุนแรง  จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ตายจะถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา การกระทำของจำเลย จึงเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แม้จำเลยและนาง อ. จะ จดทะเบียนหย่ากัน แต่จำเลยและนาง อ. ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยากันหลังจากจดทะเบียนหย่า พฤติการณ์ที่จำเลยเข้ามาภายในบ้านที่เกิดเหตุ แล้วเห็นผู้ตายอยู่กับนาง อ. ในเวลากลางคืนในลักษณะชู้สาว เป็นการที่จำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้ไม้ตีศีรษะผู้ตายในขณะนั้น ย่อมเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ที่มา - คำพิพากษาฎีกาที่ 2582/2564, เนติบัณฑิตยสภา คำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 ตอนที่ 2 หน้า 450 - 464 - ประมวลกฎหมายอาญา    มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว

ผิดเงื่อนไขคุมประพฤติ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ฎีกาไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2564)

จำเลยไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายตามบันทึกข้อตกลงซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยไว้ เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการคุมความประพฤติและให้ลงโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้แก่จำเลย ดังนี้ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมเป็นที่สุด ตามพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 34 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้ ที่มา -  ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559   มาตรา 34 "ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้ถูกคุมความประพฤติไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อการคุมความประพฤติตามที่ศาลกำหนด หรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวกับการคุมความประพฤติของผู้ถูกคุมความประพฤติเปลี่ยนแปลงไป และศาลได้มีคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ ให้ศาลแจ้งให้พนักงานคุมประพฤติทราบ หากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นเป็นผลร้ายแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติมากขึ้น ผู้ถูกคุมความประพฤติมี

ต้องห้ามฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน (คำพิพากษาฎีกาที่ 4084/2564)

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม มีกำหนดขั้นต่ำ 4 ปี ขั้นสูง 5 ปี จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษกำหนด เป็นการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคหนึ่ง ที่มา - คำพิพากษาฎีกาที่ 4084/2564, เนติบัณฑิตยสภา สารบาญคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 หน้า 704 - พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553   มาตรา 182/1 วรรคหนึ่ง "การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่เป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 180 ต้องห้ามมิให้ฎีกา"

ผลของคำสั่งทางปกครองและการแก้ไขคำสั่งทางปกครองที่มีข้อบกพร่อง

คำสั่งทางปกครองมีผลใช้ยันบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป และคำสั่งทางปกครองดังกล่าวย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น สำหรับคำสั่งทางปกครองที่มีข้อบกพร่องในวิธีพิจารณา หรือบกพร่องในรายละเอียดเล็กน้อยของรูปแบบ ย่อมไม่ทำให้คำสั่งทางปกครองเป็นโมฆะหรือเสียเปล่ามาแต่ต้น โดยอาจแยกพิจารณาการแก้ไขข้อบกพร่องในคำสั่งทางปกครองได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. การแก้ไขคำสั่งทางปกครองที่มีข้อบกพร่องในวิธีพิจารณา มาตรา 41 กำหนดหลักเกณฑ์ในการแก้ไขข้อบกพร่องเป็น 4 กรณี     1) คำสั่งทางปกครองที่เจ้าหน้าที่ออกเองไม่ได้ เว้นแต่จะมีคำขอนั้น หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการไปแล้วโดยยังไม่มีผู้ขอ ข้อบกพร่องดังกล่าวอาจแก้ไขได้เมื่อมีผู้ยื่นคำขอให้กระทำโดยถูกต้อง     2) คำสั่งทางปกครองที่ไม่ระบุเหตุผลถือเป็นข้อบกพร่องสำคัญ หากเจ้าหน้าที่จัดให้มีเหตุผลในภายหลังแล้ว คำสั่งทางปกครองนั้นถือว่าสมบูรณ์     3) คำสั่งทางปกครองที่ต้องรับฟังคู่กรณี หากคำสั่งทางปกครองที่ออกมามีข้อบกพร่องโดยรับฟังน้อยเกินไปหรือไม่มีเอกสารครบถ้วน หากภายหลังได้รับฟังแล้วและผลการพิจารณาไม่เปลี

เจ้าหน้าที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ หน่วยงานของรัฐยังต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 776/2541)

กรณีเจ้าหน้าที่ได้รับเงินไว้ แต่ไม่นำเงินส่งให้หน่วยงานของรัฐ โดยนำไปใช้ส่วนตัว ต่อมาเมื่อมีการดำเนินการทางวินัย เจ้าหน้าที่ดังกล่าวจึงยอมรับว่าได้นำเงินไปใช้ส่วนตัว แต่ยังไม่สามารถหาเงินมาชดใช้คืนได้ พร้อมทำหนังสือรับสภาพหนี้ หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่ทราบตัวผู้รับผิดแน่นอน และผู้ทำละเมิดยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นหนังสือแล้ว จึงแจ้งให้กรมบัญชีกลางพิจารณาโดยไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด กรมบัญชีกลางจึงหารือต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า การไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดนั้น เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 หรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะพิเศษ) พิจารณาแล้ว เห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ได้นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายใบสมัครสอบคัอเลือก จำนวน 167,500 บาท ไปใช้ส่วนตัวนั้น เกิดจากมิได้ปฏิบัติตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ข้อ 19 และการที่เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนรับผิดชอบด้านการเงิน ไม่รายงานให้ผู้บั

สั่งจ่ายเช็ค หลังถูกศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2564)

หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยแล้ว จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็ค  เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย   มิใช่กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22 , 24  หนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลย ขาดองค์ประกอบความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง ที่มา - คำพิพากษาฎีกาที่ 2618/2564, เนติบัณฑิตยสภา สารบาญคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 หน้า 680 - พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483   มาตรา 22  "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้   (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป   (2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ

ไม่ใช่ "คู่ความ" ไม่มีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1789/2564)

เจ้าพนักงานที่ดินไม่ใช่คู่ความในคดี แต่ยื่นคำแก้ฎีกา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำแก้ฎีกา ดังนี้ ไม่มีผลเป็นการรับคำแก้ฎีกา และไม่เกิดประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (5) , 237 , 240 ประกอบมาตรา 252 ที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัย ที่มา  - คำพิพากษาฎีกาที่ 1789/2564, เนติบัณฑิตยสภา สารบาญคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 หน้า 409 - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง   มาตรา 1 "ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น   (1) ...   ...   (5) "คำคู่ความ" หมายความว่า บรรดาคำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ"   มาตรา 237  "จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์   ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลแสดงว่า จำเลยอุทธรณ์ขาดนัดเพราะไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์"   มาตรา 240  "ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวง ในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา เว้นแต่   (1) ศาลอุทธรณ์ได้นัดฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา

การฎีกาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของพนักงานอัยการโจทก์กับจำเลยที่แตกต่างกัน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 22/2565)

คดีนี้สืบเนื่องมาจาก ในคดีอาญา พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยฟ้องนาย ว. จำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และนาย ส. จำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานในความผิดดังกล่าว ต่อมาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 ปี จำเลยที่ 2 กำหนด 2 ปี จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี ปรับ 10,000 บาท รอการลงโทษ 2 ปี และคุมความประพฤติไว้ 1 ปี และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาโดยอัยการสูงสุดรับรอง และโจทก์ยื่นคำฟ้องฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา และยื่นคำฟ้องฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าไม่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย มีคำสั่งไม่อนุญาต ยกคำร้อง และไม่รับฎีกา จำเลยที่ 1 โต้แย้งว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่

มีธนบัตรปลอมเพื่อนำออกใช้ ผิดสำเร็จทันที (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2565)

การสับเปลี่ยนธนบัตร ฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่ และได้ไปซึ่งธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่ ตามที่จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสี่ เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง  แต่การที่จำเลยกับพวกร่วมกัน มีธนบัตรปลอมไว้ แล้วนำออกใช้สับเปลี่ยนกับธนบัตรฉบับจริง ของผู้เสียหายทั้งสี่ เป็นการมีไว้เพื่อนำออกใช้ตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการรับธนบัตรนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอม ไม่ใช่เมื่อมีการนำออกใช้   การกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จำเลยกับพวกย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน และสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศปลอม ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ที่มา  - ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายอาญา   มาตรา 244  "ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งสิ่งใด ๆ อันตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่ส

"โดยทุจริต" ไม่จำกัดว่าต้องเป็นการแสวงหาประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์เท่านั้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2565)

มาตรา 1 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา กำหนดบทนิยามคำว่า "โดยทุจริต" หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น  การกระทำโดยทุจริต จึงมิได้จำกัดว่าต้องเป็นการแสวงหาประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาเอาฮาร์ดดิสก์ของโจทก์ร่วมไป เพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมมีหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของตนหรือเป็นการเอาไปเพื่อทำลายหลักฐาน จึงเป็นการเอาทรัพย์นั้นไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ และถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองอันเป็นการลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริตแล้ว  การที่จำเลยทั้งสามไปที่ร้านที่เกิดเหตุ โดยอ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขอตรวจค้นและใส่กุญแจมือโจทก์ร่วมไพล่หลัง มิได้กระทำเพื่อเหตุใดเหตุหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 (1) ถึง (5) ในการที่จะเอาฮาร์ดดิสก์ของโจทก์ร่วมไป  แต่เป็นการทำเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมขัดขืนหรือหลบหนี  ดังนั้น การลักเอาฮาร์ดดิสก์ของโจทก์ร่วมไป จึงเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นในภายหลัง การใช้กำลังประทุษร้ายโจท

อยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2565)

โจทก์ที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย  แม้ตามทางนำสืบจะได้ความว่า จำเลยทั้งสามและทายาทของผู้ตาย ตกลงยินยอมให้โจทก์ที่ 1 มีส่วนในทรัพย์มรดกของผู้ตายเท่าทายาทชั้นบุตร ก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างคู่ความและผู้มีส่วนได้เสียในทางแพ่ง   ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 เปลี่ยนสถานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ เพราะการเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่เกิดขึ้นโดยข้อตกลงระหว่างทายาทด้วยกันเองไม่    สำหรับ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 บุคคลที่จะเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว ได้แก่ บรรดาทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น   เมื่อโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะส่วนตัวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)  ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบม