บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2022

พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. 2565

รูปภาพ
พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. 2565 มาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกกฎหมาย จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้   1. พ.ร.บ.จัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก พุทธศักราช 2479   2. พ.ร.บ.จัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2501   3. พ.ร.ก.ควบคุมและดำเนินงานการธุระการทำเหมืองแร่ทองคำ พุทธศักราช 2483   4. พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการไฟฟ้า พุทธศักราช 2484   5. พ.ร.บ.กำหนดวิธีปฏิบัติแก่บุคคลซึ่งเผยแพร่ข่าวอันเป็นการทำให้เสียสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่มีสนธิสัญญาทางไมตรีกับประเทศไทยในภาวะสงคราม พุทธศักราช 2488   6. พ.ร.บ.กำหนดวิธีการระงับการค้ากำไรเกินสมควรจากราชการ พ.ศ. 2491   7. พ.ร.บ.การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2548 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ไปแล้ว แต่ในปัจจุบันปรากฏว่ายังมีกฎหมายบางฉบ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 6)

รูปภาพ
ข้อ 51 หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล แต่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ดำเนินการตามคำขอ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร ก. ร้องเรียน ข. ร้องทุกข์ ค. อุทธรณ์ ง. กล่าวโทษ ข้อ 52 สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 31 ข้อใดไม่สอดคล้อง ก. ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ข. ข้อมูลสามารถอ่านได้โดยทั่วไป ค. เก็บข้อมูลเป็นเอกสาร ง. ใช้งานได้โดยอัตโนมัติ ข้อ 53 ข้อยกเว้น Right of Data Portability ก. ประโยชน์สาธารณะ ข. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ค. ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 54 สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ข้อใดถูกต้อง ก. ไม่ต้องร้องขอ ข. ใช้สิทธิเมื่อใดก็ได้ ค. ภายใน 1 ปี ง. ไม่มีข้อจำกัดสิทธิ ข้อ 55 กรณีใด ไม่ สามารถใช้สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ก. เป็นข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง ข. เป็นข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ ค. เป็นข้อมูลเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ง.  เป็นข้อมูลเพื่อวิจัยหรือสถิติในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 5)

รูปภาพ
ข้อ 41 Right to Rectification คือ ? ก. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ข. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล ค. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ง. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ข้อ 42 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักการข้อใด ก. ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ข. สมบูรณ์ ค. ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 43 มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ก. ร้องทุกข์ ข. ร้องเรียน ค. อุทธรณ์ ง. ฟ้องร้อง ข้อ 44 หลักการสำคัญของสิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อใด ก. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลลบข้อมูลส่วนบุคคล ข. ขอให้ทำลายข้อมูลส่วนบุคคล ค. ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุถึงตนได้ ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 45 เงื่อนไข ในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล ข้อใดไม่เกี่ยวข้อง ก. ข้อมูลหมดความจำเป็นในการประมวลผลตามวัตถุประสงค์ ข. เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์ ค. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ง. ข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกใช้ประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 4)

รูปภาพ
ข้อ 31 หลักการสำคัญของสิทธิในการเพิกถอนความยินยอม คือข้อใด ก. เพิกถอนความยินยอมภายใน 1 ปี นับแต่ให้ความยินยอม ข. เพิกถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ ค. เพิกถอนความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ง. เพิกถอนความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ข้อ 32 เมื่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้รับคำขอการเพิกถอนจากเจ้าของข้อมูลแล้ว ต้องทำอย่างไร ก. แจ้งให้ทราบผลกระทบจากการถอนความยินยอม ข. หยุดประมวลผล ค. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ง. ถูกข้อ ก. และ ข. ข้อ 33 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่แจ้งผลกระทบจากการถอนความยินยอม มีโทษตามข้อใด ก. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท ข. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 3 ล้านบาท ค. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท ง. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 แสนบาท ข้อ 34 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับความคุ้มครองสิทธิในเรื่องใด โดยไม่ต้องมีการร้องขอ ก. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ข. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล ค. สิทธิได้รับแจ้งการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ง. สิทธิห้ามมิให้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ข้อ 35 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการแจ้งรายละเอียดการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

5 คณะกรรมการ ใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

รูปภาพ
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บัญญัติให้มีคณะกรรมการ 5 ชุด (ไม่รวมคณะกรรมการสรรหาเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ได้แก่   1. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล    2. คณะกรรมการสรรหา (ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)   3. คณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   4. คณะกรรมการสรรหา (ประธานกรรมการและกรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับสำนักงานฯ)   5. คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 1. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 17 คน (มาตรา 8) ประกอบด้วย   (1) ประธานกรรมการ   (2) ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รองประธานกรรมการ   (3) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ   (4) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ   (5) เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมการ   (6) อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรรมการ   (7) อัยการสูงสุด กรรมการ   (8) - (16) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน   (17) เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรรมการและเลขานุการ   * ประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้รับการสรรหาจากคณะกรรมก

สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 กฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 3)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 วิชากฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 3) จาก บรรยายเนติบัณฑิตออนไลน์ เมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2565 บรรยายโดย อ.วิชัย  จิตตาณิชย์ *************************** ครั้งนี้จะมาศึกษาต่อในเรื่อง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีที่ 4 ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล คือใคร?   ประมวลรัษฎากร มาตรา 56 วรรคสอง  " ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษี ในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้น จากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห

หน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มาตรา 22 และมาตรา 23 บัญญัติให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีหน้าที่และอำนาจดังนี้   (1) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ   (2) แสวงหาข้อเท็จจริง เมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมนั้น   (3) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญ   (4) หน้าที่และอำนาจอื่น ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่น ในการดำเนินการตาม (1) หรือ (2) หากเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิม

สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 กฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 2)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 วิชากฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 2) จาก บรรยายเนติบัณฑิตออนไลน์ เมื่อวันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 บรรยายโดย อ.วิชัย จิตตาณิชย์ *************************** อาจารย์อยากให้นักศึกษา ได้ศึกษา ฝึกทำข้อสอบเก่าสัก 20 ปี ตัวบทมาตราไหนออกข้อสอบบ่อย ที่เคยออกสอบก็ต้องท่องให้ได้ ส่วนที่ไม่เคยออก ก็ต้องรู้ วันนี้อาจารย์บรรยายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ได้กำหนดนิยามไว้    "เงินได้พึงประเมิน"  หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความ รวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย   "ปีภาษี" หมายความว่า ปีประดิทิน    "ขาย"  หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่แต่ไม่รวมถึง   (1) ขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แ

อำนาจศาลปกครอง ในคดีฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดลงโทษปรับทางปกครองเกี่ยวกับวินัยการคลังและการงบประมาณ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟง.2/2564)

รูปภาพ
ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ถูกฟ้องคดี มีคำวินิจฉัยชี้ขาดความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลัง ลงโทษปรับทางปกครองผู้ฟ้องคดีเป็นเงินค่าปรับทางปกครอง จำนวน 73,800 บาท ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยื่นฟ้องขอให้ศาลปกครองอุบลราชธานีเพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าว ศาลปกครองอุบลราชธานีพิจารณาเห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจสั่งลงโทษทางปกครอง ซึ่งผู้ถูกสั่งลงโทษทางปกครองอาจอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ตามมาตรา 240 วรรคหนึ่ง (5) และวรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบกับมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา 11 (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองชั้นต้นมิใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากาาหรือมีคำสั่งในคดีนี้ได้ จึงเสนอคำฟ้องให้ประธานศาลปกครองสูงสุดพิจารณาดำเนินการ ตามข้อ 39 วรรคหนึ่ง แ

สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 กฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 1)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 วิชากฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 1) จาก บรรยายเนติบัณฑิตออนไลน์ เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 บรรยายโดย ศ. (พิเศษ) ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม *************************** กฎหมายภาษีอากรแม้ว่าจะมีความยุ่งยากซับซ้อน เมื่อศึกษากฎหมายภาษีอากรแต่ละฉบับ ให้ยึดหลักโครงสร้างกฎหมายทั้ง 6 ส่วน ก็จะช่วยให้มีความเข้าใจกฎหมายภาษีอากรได้เป็นอย่างดี กฎหมายภาษีอากร ทุกฉบับ จะมีโครงสร้างกฎหมาย 6 ส่วน ได้แก่ 1. ผู้เสียภาษี (Tax Payer)  กฎหมายภาษีอากรแต่ละฉบับ จะกำหนดไว้ว่าใครมีหน้าที่เสียภาษี 2. ฐานภาษี  (Tax Base)  มี 4 ฐาน คือ ฐานรายได้ ฐานการบริโภค ฐานความมั่งคั่งหรือทรัพย์สิน และฐานอื่น ๆ 3. อัตราภาษี  (Tax Rate)  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ อัตราคงที่ อันตราก้าวหน้า และอัตราถอยหลัง 4. วิธีเสียภาษี  (Tax Payment)  กฎหมายจะกำหนดว่า จะต้องเสียภาษีโดยวิธีใด ซึ่งทั่วไปมี 3 วิธี คือ วิธีประเมินตนเอง วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย และวิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน 5. วิธีระงับข้อพิพาท  (Tax Settlement)  หากผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วย ก็อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ หรือมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร หรืออุทธรณ์ต่อศาลอุ