บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2020

การออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการล่วงหน้า

รูปภาพ
หลักปฏิบัติในการออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการล่วงหน้า ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2530 มีดังนี้ 1. การออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ให้ดำรงตำแหน่งที่ยังไม่ว่างในขณะที่ออกคำสั่ง โดยให้คำสั่งมีผลใช้บังคับเมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่างลงแล้ว สมควรให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นต้องแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งในต่างจังหวัด ในต่างประเทศ หรือเป็นการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้ที่จะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกรณีอื่นที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจริงๆ เช่น กรณีแต่งตั้งล่วงหน้าแทนผู้ที่ขอลาออกจากราชการสำหรับตำแหน่งที่จำเป็นต้องมีผู้ปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน เป็นต้น ทั้งนี้ ควรให้ส่วนราชการต่างๆ กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการไว้ให้ชัดเจน และแจ้งให้ข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นทุกคนได้ทราบล่วงหน้าด้วย 2. กรณีผู้มีอำนาจแต่งตั้งซึ่งทราบอยู่แล้วว่าตนจะต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ราชการไปไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ไม่สมควรออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนไว้ล่วงหน้า โดยให้คำสั่งมีผลใช้บังคับเมื่อผู้ออกคำสั่งได้พ้นจ

การใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม

รูปภาพ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม พ.ศ. 2536 เกิดขึ้นเนื่องจาก กฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง กำหนดสิทธิและวิธีปฏิบัติในการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านามไว้ลักลั่นเป็นการแตกต่างกัน  จึงได้วางระเบียบปฏิบัติราชการในเรื่องนี้ไว้ เพื่อประโยชน์แก่งานสารบรรณและความเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน ตลอดจนเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติของผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 1. กำหนดความหมาย "ตำแหน่งทางวิชาการ" หมายความว่า ตำแหน่งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษา ไม่ว่าเป็นตำแหน่งทางวิชาการประจำ ตำแหน่งทางวิชาการพิเศษ ตำแหน่งทางวิชาการเกียรติคุณหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นในลักษณะเดียวกัน "ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ" หมายความว่า ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และยังคงดำรงตำแหน่งหรือมีสิทธิใช้ตำแหน่งนั้นตามกฎหมายหรือระเบียบของสถาบันอุดมศึกษา " สถาบันอุดมศึกษา" หมายความว่า มหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบัน โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาที่ใช้ชื่ออย่างอื่นของร

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (ชุดที่ 3)

รูปภาพ
ข้อ 21 กรณีสภาตำบลทำกิจการนอกเขตสภาตำบลจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใด ก. ประธานสภาตำบล ข. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ค. นายอำเภอ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข้อ 22 การเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโดยไม่มีการลงมติ ต้องมีจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเข้าชื่อตามข้อใด ก. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ข.   ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ค.   ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ง. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ข้อ 23 กรณีนายอำเภอกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือให้ระงับการปฏิบัติ ผู้ที่ได้รับคำสั่งที่ประสงค์จะอุทธรณ์ ต้องดำเนินการตามข้อใด ก. อุทธรณ์ต่อนายอำเภอ ภายใน 15 วัน ข.   อุทธรณ์ต่อนายอำเภอ ภายใน 30 วั

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (ชุดที่ 2)

รูปภาพ
ข้อ 11 ผู้ใดมีอำนาจหน้าที่สอบสวนกรณีได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าความเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสิ้นสุดลงตามมาตรา 64 (4)  ก. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ข. นายอำเภอ ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. คณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อ 12 จากข้อ 11 ระยะเวลาการสอบสวน การขยายเวลาการสอบสวน และการวินิจฉัย เป็นไปตามข้อใด ก. สอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ขยายเวลาการสอบสวนได้ไม่เกิน 15 วัน และต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน  ข.  สอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ขยายเวลาการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน และต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน  ค.  สอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ขยายเวลาการสอบสวนได้ไม่เกิน 15 วัน และต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน  ง. สอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ขยายเวลาการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน และต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน  ข้อ 13 การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 40 ต้องดำเนินการตามข้อใด ก. ออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ข. ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย ค. ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ง. ออกพระราชกฤษฎีกา ข้อ 14 กรณีรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากครบวาระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6414/2551 : สัญญายืมเงินทดรองราชการ

รูปภาพ
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับความรับผิดตามสัญญายืมเงินทดรองราชการไว้ โดยมีข้อเท็จจริงคือ โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่วนจำเลยรับราชการในหน่วยงานของโจทก์  ต่อมาจำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ให้เป็นผู้ดำเนินการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา  จำเลยจึงขอยืมเงินเพื่อไปใช้ในการอบรมดังกล่าว จำนวน 127,100 บาท จากผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์  ผู้อำนวนการการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิอนุมัติให้จำเลยยืมเงิน และจำเลยได้รับเงินที่ยืมไปครบถ้วนแล้ว  ภายหลังได้รับเงิน จำเลยนำเงินบรรจุในซองกระดาษ เก็บไว้ในรถยนต์ของนาง ส. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมประจำสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ และนาง ส. ขับรถยนต์คันดังกล่าว ไปจอดไว้ที่บริเวณหน้าสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ  ต่อมามีคนร้ายงัดประตูรถยนต์ ลักเอาเงินจำนวนดังกล่าวไป โจทก์ทำการสอบสวนและลงความเห็นว่า ไม่มีผู้ใดกระทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  คดีมีปัญหาในข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เพียงประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวหรือไม

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (ชุดที่ 1)

รูปภาพ
ข้อ 1 ข้อใดมิใช่รายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล ก. คาใช้สอย ข. ค่าวัสดุ ค. ค่าใบอนุญาต ง. ค่าสาธารณูปโภค ข้อ 2 กฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล แก้ไขเพิ่มเติมฉบับสุดท้ายตามข้อใด ก. ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2552 ข.   ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552   ค.  ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 ง.  ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2562 ข้อ 3 ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีเกณฑ์อายุในข้อใด ก. ไม่ต่ำกว่า 30 ปี บริบูรณ์ ในวันเลือกตั้ง ข. ไม่ต่ำกว่า 30 ปี ในวันสมัครรับเลือกตั้ง ค. ไม่ต่ำกว่า 35 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง ง. ไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันสมัครรับเลือกตั้ง ข้อ 4 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเขตเลือกตั้งไม่ถึง 6 เขตเลือกตั้ง ก. ถ้ามี 1 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 6 คน ข.  ถ้ามี 2 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เขตเลือกตั้งละ 3 คน ค.  ถ้ามี 3 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  เขตเลือกตั้งละ 2  คน ง.  ถ้ามี 4 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  เขตเลือกตั้งละ 2  คน ข้อ 5 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งนายกองค์การ

รวมกฎหมายใช้สอบ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2563 (225 อัตรา)

รูปภาพ
รวมกฎหมายใช้สอบ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2563 (225 อัตรา) รวบรวมลิงก์เนื้อหา และแนวข้อสอบกฎหมายแต่ละฉบับที่ใช้ในการสอบครั้งนี้ *** โดยจะรีบอัพเดตข้อมูลที่จำเป็นจนถึงวันสอบ ตำแหน่งที่เปิดสอบ 5 ตำแหน่ง จำนวน 225 อัตรา 1. นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ (150 อัตรา) 2. นิติกรปฏิบัติการ (20 อัตรา) 3. นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ (5 อัตรา) 4. เจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติงาน (20 อัตรา) 5. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน (30 อัตรา) ข้อสอบ แบบปรนัย 100 ข้อๆ ละ 2 คะแนน  รับสมัคร ทุกตำแหน่ง วันที่ 21 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563  ประกาศรับสมัคร   ดาวน์โหลดไฟล์          ตำแหน่ง นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ            ตำแหน่ง นิติกรปฏิบัติการ          ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ          ตำแหน่ง เจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติงาน          ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน ********************************* กฎหมายที่ใช้สอบ เนื่องจากเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง มีวิชากฎหมายปร

อาวุธของเจ้าพนักงานเรือนจำ (นอกจากปืน)

รูปภาพ
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 22 วรรคสอง บัญญัติให้ประเภทหรือชนิดของอาวุธอื่น นอกจากอาวุธปืน ที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงมีไว้ในครอบครอง หรือใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงออก กฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือชนิดของอาวุธอื่นนอกจากอาวุธปืน ที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงมีไว้ในครอบครองหรือใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ. 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 กำหนดประเภทหรือชนิดของอาวุธอื่นนอกจากปืนไว้ ดังนี้ 1. ตะบองไม้กลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 3 เซนติเมตร มีความยาวไม่เกิน 70 เซนติเมตร มีลักษณะผิวเรียบ และมีขนาดเท่ากันตลอดจากด้ามจับถึงปลาย 2. ตะบองโลหะชนิดยืดหดได้ มีความยาวยืดสุดไม่เกิน 70 เซนติเมตร 3. ตะบองพลาสติก หรือไฟเบอร์ หรือทำจากวัสดุสังเคราะห์อื่นที่คล้ายกัน มีความยาวไม่เกิน 70 เซนติเมตร มีลักษณะกลมและมีผิวเรียบ จะมีกิ่งสำหรับจับหรือไม่ก็ได้ ที่มา กฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือชนิดของอาวุธอื่นนอกจากอาวุธปืน ที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงมีไว้ในครอบครองหรือใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ.

การร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของผู้ต้องขัง

รูปภาพ
โดยที่มาตรา 46 แห่ง พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 บัญญัติว่า ผู้ต้องขังมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ ต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ ผู้บัญชาการเรือนจำ อธิบดี รัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงได้ออก กฎกระทรวงการร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของผู้ต้องขัง พ.ศ. 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. ผู้ต้องขังมีสิทธิยื่นคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ ต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ ผู้บัญชาการเรือนจำ อธิบดี รัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ หรือสถานที่ที่เรือนจำจัดไว้ เพื่อดำเนินการจัดส่งไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่ผู้ต้องขังประสงค์ก็ได้ 2. ผู้ต้องขังจะยื่นคำร้องทุกข์ด้วยวาจา หรือโดยทำเป็นหนังสือก็ได้ ถ้ากระทำด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งรับคำร้องทุกข์เป็นผู้บันทึกคำร้องทุกข์ ในบันทึกคำร้องทุกข์หรือหนังสือร้องทุกข์น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2563 : ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

รูปภาพ
ตามภาพสเก็ตซ์คนร้ายเป็นภาพของคนวัยหนุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับที่ผู้เสียหายบอกพันตำรวจโท ธ. ว่าคนร้ายเป็นชายฉกรรจ์  แต่ภาพของจำเลยขณะถ่ายภาพขอมีบัตรประชาชนอายุ 51 ปี เป็นวัยกลางคนค่อนไปทางชรา มีลักษณะต่างวัยกันมาก  นอกจากนี้ผู้เสียหายก็เบิกความตอบคำถามค้านด้วยว่า ในการชี้ภาพนั้นใช้เวลาหลายชั่วโมง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติหากผู้เสียหายสามารถจดจำคนร้ายได้ชัดเจนและสามารถยืนยันได้อย่างแน่นอนจริง  พยานหลักฐานโจทก์มีลักษณะขัดแย้งกัน และเป็นพิรุธในหลายจุด เมื่อประมวลวิเคราะห์เข้าด้วยกันแล้ว ยังไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอและเป็นที่สงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่มา  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2563 (ระบบสืบค้นคำพิพากษาฯ ศาลฎีกา) #นักเรียนกฎหมาย 13 ตุลาคม 2563