บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2018

กฎหมายใหม่ เดือนธันวาคม 2561

          รวมพระราชบัญญัติ/พระราชกำหนดที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประจำเดือนธันวาคม 2561 รวม 10 ฉบับ (อัพเดตทุกวันในหน้านี้ครับ) 1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2561       หมายเหตุ  โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น โดยกำหนดให้ถือว่าเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 และระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 ซึ่งข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมได้รับไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมาจนถึงวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับการปรับเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม และให้

สรุปสาระสำคัญ วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (ครั้งที่ 2)

รูปภาพ
สรุปสาระสำคัญ วิชา LAW1004 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (ครั้งที่ 2 :: วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561) บรรยายโดยท่านอาจารย์ ดร. พรพรหม อินทรัมพรรย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ----------หัวข้อ ผู้เยาว์---------- 1. ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 2. เหตุที่ทำให้ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ มี 2 กรณี คือ     2.1 อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 19)     2.2 ทำการสมรส โดยชอบด้วยกฎหมาย *** (มาตรา 20) คือ ชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์โดยความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม เว้นแต่มีเหตุอันควร ศาลอาจจะอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนได้     ตัวอย่าง อายุ 17 ปีบริบูรณ์ได้จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาอายุ 18 ได้จดทะเบียนหย่า ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่กลับมาเป็นผู้เยาว์อีก (บรรลุแล้ว บรรลุเลย) 3. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์     3.1 ผู้ใช้อำนาจปกครอง มาตรา 1566 วรรคแรก โดยทั่วไปอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาร่วมกัน     ยกเว้นบางกรณี ที่อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายเดียว ได้แก่            - มารดาหรือบิดาตาย            - ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตหรือตาย  

สรุปสาระสำคัญ วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (ครั้งที่ 1)

รูปภาพ
สรุปสาระสำคัญ  วิชา LAW1004 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป  (ครั้งที่ 1 ::  วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 )  บรรยายโดยท่านอาจารย์ ดร. พรพรหม อินทรัมพรรย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิชานี้ข้อสอบแบบปรนัย 120 ข้อๆ ละ 1 คะแนน (สำหรับนักศึกษาคณะอื่น ห้ามนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ลงทะเบียนเรียน) 1. บุคคลมี 2 ประเภท คือ      1.1 บุคคลธรรมดา (หรือเรียกง่ายๆ ว่ามนุษย์) และ      1.2 นิติบุคคล (กฎหมายสมมติขึ้นมาให้มีสิทธิหน้าที่เท่าที่บุคคลธรรมดาจะพึงมีได้) สิทธิบางอย่างทำไม่ได้ เช่น การจดทะเบียนสมรส หรือการรับรองบุตร 2. บุคคลธรรมดา การเริ่มต้นสภาพบุคคล มีผลทางกฎหมายอย่างมาก***     2.1 ป.พ.พ. มาตรา 15 วรรคหนึ่ง "สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย"     2.2 การคลอด เป็นได้ทั้งคลอดตามธรรมชาติและการผ่าคลอด โดยทารกจะต้องหลุดพ้นออกมาทั้งร่างกาย ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดติดค้างอยู่ในครรภ์มารดา ยกเว้นสายสะดือ แม้ยังไม่ตัดสายสะดือ ก็ถือว่าคลอดแล้ว     2.3 อยู่รอดเป็นทารก คือ มีการเต้นหัวใจ หรือ ส่งเสียงร้อง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย     2.4

นักกฎหมายต้องอัพเดตข้อมูลใหม่ๆ

รูปภาพ
     เชื่อว่านักกฎหมายหลายๆ ท่าน ยังคงจำคำสอนของอาจารย์ที่พร่ำสอนพวกเราอยู่เป็นประจำได้ขึ้นใจ นั่นคือเรื่องการเป็นนักกฎหมายที่ประสบผลสำเร็จจะต้องแสวงหาความรู้หรืออัพเดตข้อมูลใหม่อยู่เสมอ เนื่องจากการพัฒนาด้านกฎหมายให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ จำนวนมาก หากนักกฎหมายไม่พัฒนาตนเองในด้านการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ แล้ว ย่อมเสียโอกาสในความก้าวหน้า ตลอดจนงานที่ทำอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้       วันนี้ผมมีตัวอย่างหนึ่ง ที่เพิ่งประสบมาด้วยตนเองที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมได้เข้าร่วมประชุมในฐานะกรรมการกำหนดข้อตกลง TOR ในการจ้างสถาบันอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการออกข้อสอบในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ผอ.สพป./ผอ.สพม.) ให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด โดยมีองค์ประกอบการคัดเลือกข้อหนึ่งคือ การสอบข้อเขียนด้านกฎหมาย (ปรนัย) จำนวน 25 คะแนน มีกฎหมายทั้งสิ้น 22 ฉบับ หนึ่งในนั้นคือพร