บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2018

การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งเกี่ยวกับหนี้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

รูปภาพ
ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) เรื่องเสร็จที่ 1629/2560           การที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ฟ้องลูกหนี้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเป็นคดีแพ่ง  ต่อมาศาลแรงงานได้มีหมายเรียกให้ไปไกล่เกลี่ย แต่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไม่มีระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความไว้             ในการนี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะต้องดำเนินการ เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลให้มีความชัดเจน            เนื่องจากมาตรา 129 บัญญัติให้เงินและทรัพย์สินของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในฐานะผู้แทนนิติบุคคล จึงเป็นผู้มีอำนาจในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โดยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกำหนดด้วย            สำหรับกรณีนี้ ไม่อาจนำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของกระทรวงการคลังมาปรับใช้ได้ เนื่องจากแนวทางปฏิบัติของ

อุทธรณ์พ้นกำหนดเวลาในคดีปกครอง

รูปภาพ
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 144/2555           ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 หากผู้ฟ้องคดีไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ต้องยื่นคำอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษา ตามาตรา 73 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 คือ ภายในวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2554            แต่โดยที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นคำอุทธรณ์ดังกล่าวได้ภายในวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2554 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตามมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์            ถ้ามิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคดีนี้เป็นอันถึงที่สุด ประกอบกับกฎหมายกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครองมิได้ให้อำนาจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งย่นหรือขยายระยะเวลาอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ฉะนั้น ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งย่นหรือขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา            ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์เมื่อวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2554 จึงเป็นการยื่นอ

ระเบียบว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

รูปภาพ
          ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมในสังคมไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้           1. กำหนดความหมาย               คุณธรรม หมายความว่า สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี เป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีมีความสงบเย็นภายใน และเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นและเหมาะสมกับความต้องการในสังคมไทย               จริยธรรม หมายความว่า กรอบหรือแนวทางอันดีงามที่พึงปฏิบัติ ซึ่งกำหนดไว้สำหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงาม ความสงบร่มเย็นเป็นสุข ความรักสามัคคี ความอบอุ่น มั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิต           2. กำหนดให้มี คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย               1)

การกำหนดสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557

รูปภาพ
ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) เรื่องเสร็จที่ 662/2561           การที่จะกำหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามนิยามคำว่าสัตว์ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 อยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะต้องพิจารณาว่าสัตว์ป่าชนิดนั้น ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าอย่างเหมาะสมและเพียงพอแล้วหรือไม่            หากเห็นว่า ยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ก็สามารถประกาศกำหนดให้สัตว์ป่าชนิดนั้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามนิยามคำว่าสัตว์ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ได้ ที่มา  เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา #นักเรียนกฎหมาย 27 ตุลาคม 2561

องค์ประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

รูปภาพ
          ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) เรื่องเสร็จที่ 530/2561           มาตรา 70 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 ได้คำนึงถึงจำนวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดเดิม จำนวน 5 คน ที่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป  ซึ่งแตกต่างจากจำนวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน           ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 70 วรรคสาม ได้บัญญัติไว้ว่า ในกรณีผู้ซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามวรรคหนึ่ง ตาย ลาออก หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด และมีผู้ซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้นำความในมาตรา 17 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม           ซึ่งมาตรา 17 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้บัญญัติไว้ว่า หากมีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดร่วมกันแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการ ทำหน้าที่เป็นกรรมการเป็นการชั่วคราวให้ครบ 7 คน โดยให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งทำหน้าที่ในฐานะกรรมการได้จนกว่ากรรมการ

หลักการ วัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

รูปภาพ
          พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายที่ให้การรับรองสิทธิของประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ โดยไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย นอกจากนี้กฎหมายังให้ความคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของรัฐ โดยมีหลักการพื้นฐานดังนี้ หลักการสำคัญของกฎหมาย             1. ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของรัฐ ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย เพื่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้เป็นไปอย่างโปร่งใส             2. ข้อมูลข่าวสารของราชการส่วนใหญ่เปิดเผยได้ ภายใต้หลักการ "เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น" โดยข้อยกเว้นเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำหนดว่าไม่ต้องเปิดเผยเท่านั้น เช่น ข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ เป็นต้น             3. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งหน่วยงานจะเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูลไม่ได้

หน้าที่ของปวงชนชาวไทย ตามรัฐธรรมนูญ

รูปภาพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 50 บัญญัติให้ปวงชนชาวไทยมีหน้าที่ ดังนี้ 1. พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 3. ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด 4. เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ 5. รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ 6. เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม 7. ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ 8. ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม 9. เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ 10. ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ #นักเรียนกฎหมาย 24 ตุลาคม 2561

การเรียกประกันหรือหลักประกันการปล่อยชั่วคราว ในชั้นศาลและชั้นสอบสวน

รูปภาพ
          หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกัน ในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ ในชั้นศาล และชั้นสอบสวน ดังนี้             ในชั้นศาล เป็นไปตาม ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกัน ในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2548             1. เมื่อศาลพิจารณาคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวแล้ว เห็นว่าสมควรให้ปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ก็ให้ศาลพิจารณาว่าจะให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันหรือไม่มีประกัน             โดยให้ศาลพิจารณาถึงความร้ายแรงแห่งข้อหา สาเหตุและพฤติการณ์การกระทำความผิด รวมทั้งบุคลิกลักษณะ นิสัย สภาพทางร่างกายและจิตใจ การศึกษา การประกอบอาชีพการงาน ประวัติการกระทำความผิดอาญา สภาพและฐานะของครอบครัว และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม หากศาลพิจารณาแล้ว เห็นว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรที่จะปล่อยชั่วคราวโดยต้องมีประกัน ก็ให้กำหนดวงเงินประกันให้เหมาะสมแก่ข้อหาและสภาพแห่งคดี รวมทั้งแนวโน้มที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีหา

การกันบุคคลเป็นพยาน ตามกฎหมาย ป.ป.ช.

รูปภาพ
          การกันบุคคลไว้เป็นพยาน ตามกฎหมาย ป.ป.ช. เป็นไปตามมาตรา 135 แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ประกอบกับ ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการกันบุคคลไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี พ.ศ. 2561 โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้            1. บุคคลที่อาจถูกกันไว้เป็นพยาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้                (1) เป็นผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ และมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนร่วมในการกระทำผิดกับเจ้าพนักงานของรัฐ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการไต่สวนเบื้องต้น หรือการไต่สวน                (2) เป็นผู้ที่ได้ให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์ต่อการไต่สวนเบื้องต้น หรือการไต่สวน หรือให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแส หรือข้อมูล อันเป็นสาระสำคัญจนสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยชี้มูลการกระทำผิดของเจ้าพนักงานของรัฐรายอื่นที่เป็นตัวการสำคัญ                (3) เป็นผู้ที่เต็มใจที่จะให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแส หรือข้อมูลตาม (2) และรับรองว่าจะไปเบิกความเป็นพยานในชั้นศาลตามที่ให้การหรือให้ถ้อยคำไว้           

โครงสร้าง พ.ร.บ.เรือไทย พ.ศ. 2481

          โครงสร้างพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 พ.ศ. 2561 ซึ่ง จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของกฎหมายและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยพระราชบัญญัติเรือไทยฯ นี้ แบ่งออกเป็นบทบัญญัติทั่วไป และบทบัญญัติอีก 9 หมวด ดังนี้            บทบัญญัติทั่วไป (มาตรา 1-5)            หมวด 1 การจดทะเบียนเรือไทย  (มาตรา 6-15)            หมวด 2 ใบทะเบียนเรือไทย  (มาตรา 6-15)            หมวด 3 การโอนกรรมสิทธิ์เรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้ว  (มาตรา 27-35 ทวิ)            หมวด 4 การจำนองและบุริมสิทธิอันเกี่ยวกับเรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้ว  (มาตรา 36-37)            หมวด 5 ชื่อเรือ การเปลี่ยนแปลงเรือ การเปลี่ยนเมืองท่าขึ้นทะเบียน การจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลง และการจดทะเบียนใหม่  (มาตรา 38-46)            หมวด 6 สิทธิและหน้าที่พิเศษของเรือไทย  (มาตรา 47-54)            หมวด 6/1 เรือประมง (มาตรา 54/1-54/10)            หมวด 7 เบ็ดเตล็ด (มาตรา 55-62)            หมวด 8 บทกำหนดโทษ (มาตรา 63-68/12)                       ส่วน

โครงสร้าง พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456

          โครงสร้างพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 32/2560 เรื่อง การบรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชนในกรณีปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นล่วงล้ำลำแม่น้ำ ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ซึ่ง จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของกฎหมายและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยพระราชบัญญัติการเดินเรือฯ นี้ แบ่งออกเป็นภาคความเบื้องต้นและการอธิบายนิยามศัพท์  (มาตรา 1-11)  และภาค 1 ข้อบังคับทั่วไป  (มาตรา 12-133)  ภาคที่ 2  ข้อบังคับสำหรับออกใบอนุญาตการใช้และการควบคุมเรือกำปั่นและเรือเล็กต่างๆ  (มาตรา 134-188)  และภาคที่ 3 ข้อบังคับพิเศษ  (มาตรา 189-312)           ความเบื้องต้นและอธิบายบางคำที่ใช้ในพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 1-11)           ภาค 1 ข้อบังคับทั่วไป (มาตรา 12-133)                          หมวดที่ 1 ทางเดินเรือ เขตท่าเรือ เขตจอดเรือ และเขตควบคุมการเดินเรือ                       หมวดที่ 2 หน้าที่นายเรือเมื่อเวลาเรือเข้ามาหรือออกจากน่านน้ำไทย                         หมวดที่ 3 ว่าด้วยทำเลทอดจอดเรือ