บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2019

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

รูปภาพ
ข้อ 1. ส่วนราชการต่างๆ จะต้องจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในเรื่องใด    ก. เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ    ข. เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ    ค. เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน    ง. เพื่อปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ข้อ 2. ในวาระเริ่มแรก แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการมีระยะเวลากี่ปี ตามกฎหมายใหม่    ก. 2 ปี    ข. 3 ปี    ค. 5 ปี    ง. 6 ปี ข้อ 3. แผนปฏิบัติราชการตามข้อ 2. มีห้วงระยะเวลาตามข้อใด    ก. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562    ข. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2565    ค.  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2567    ง.  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ข้อ 4. การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ เป็นความหมายตามข้อใด    ก. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับตอบสนองความต้องการ    ข. ประชาชนเป็นศูนย์กลาง    ค. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของ

สรุปคำบรรบาย กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 (ครั้งที่ 1)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยาย กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 LAW3005 (sec.1)  ครั้งที่ 1 :: วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 บรรยายโดย อ.พิชญ์ วิทยารัฐ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง ---------------------------      ช่วงแรกอาจารย์แนะนำการเรียนกฎหมาย เช่น การศึกษากฎหมายควรเรียนตามรหัสวิชาที่กำหนดในแต่ละชั้นปี เริ่มจากวิชาพื้นฐานถึงวิชาที่สูงขึ้น วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 ก็เป็นวิชาในชั้นปีที่ 3 นักศึกษาควรมีความรู้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพอสมควร นอกจากนี้ การศึกษาวิชาในชั้นปีที่ 1-3 อาจได้รับอนุปริญญาได้      อาจารย์ทบทวนกฎหมายพื้นฐานซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชานี้ เช่น กฎหมายเอกชน บุคคล ทรัพย์ บุคคลสิทธิ นิติเหตุ นิติกรรม สัญญา หนี้ ทรัพยสิทธิ      กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็คือ ขั้นตอนหรือวิธีการในการดำเนินการในศาลตั้งแต่เริ่มต้นคดี ไปจนถึงการบังคับคดี จึงต้องเป็นไปตามขั้นตอนในแต่ละขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด คำถามก็จะถามว่า ขั้นตอนการกระทำแบบนี้ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นต้น      ผังความคิดเกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คู่ความ--->เขตอำนาจศาล--->คำคู่ความ--->พิจาร

หลักเกณฑ์การไม่เผยแพร่ข้อมูลในระบบกลาง

รูปภาพ
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มาตรา 36 วรรคสี่ กำหนดว่า ในกรณีที่การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมาย อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายต่อความมั่นคงปลอดภัย หรือประโยชน์ของประเทศ หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคล หน่วยงานของรัฐจะไม่เผยแพร่รายละเอียดบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่ง กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการไม่เผยแพร่ข้อมูลในระบบกลาง พ.ศ. 2562 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 132ก/หน้า 5/27 พฤศจิกายน 2562) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้     ข้อ 1 หน่วยงานของรัฐไม่ต้องเผยแพร่กฎเกณฑ์ตามมาตรา 36 หากกฎเกณฑ์ดังกล่าว มีกฎหมายห้ามเปิดเผยหรือคุ้มครองให้ไม่ต้องเปิดเผย     ข้อ 2 บุคคลใดเห็นว่า กฎเกณฑ์ที่เผยแพร่ไว้ในระบบกลาง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของตนเองหรือผู้อื่นซึ่งอยู่ในความดูแลของตน มีสิทธิแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เผยแพร่กฎเกณฑ์นั้นปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น คลิกดาวน์โหลด กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการไม่

รอบระยะเวลาการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

รูปภาพ
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า  การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย จะต้องกระทำอย่างน้อยทุก 5 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ หรือทุกรอบระยะเวลาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้    1. ได้รับหนังสือร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะ จากองค์กรที่เกี่ยวข้องหรือจากประชาชน และหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ เห็นว่าข้อร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะนั้นมีเหตุผลอันสมควร    2. ได้รับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย    3. กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง    สำหรับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชกำหนดที่ตราขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเป็นครั้งแรก ให้กระทำภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับ ส่วนครั้งต่อๆ ไป ให้กระทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้น    ต่อมา กฎกระทรวงกำหนดรอบระยะเวลาการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 132 ก/หน้า 3/27 พฤศจิกายน 2562 จึงได้กำหนดรอบ

กฎหมายบางประเภทที่ไม่ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

รูปภาพ
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 กำหนดข้อยกเว้น ให้กฎหมายบางประเภทไม่ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ดังนี้    1. กฎหมายที่มีผลใช้บังคับเฉพาะระยะเวลาหนึ่งและระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว    2. กฎหมายที่บัญญัติให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง และได้มีการดำเนินการตามกฎหมายนั้นแล้ว เช่น กฎหมายให้ใช้ประมวลกฎหมาย กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน กฎหมายจัดตั้งศาล กฎหมายจัดตั้งจังหวัด กฎหมายเกี่ยวกับการออกเหรียญ ธนบัตร หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กฎหมายกำหนดยศ กฎหมายกำหนดวิทยฐานะ    3. กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือการจัดตั้งหรือการจัดองค์กรของหน่วยงานของรัฐเฉพาะที่ไม่มีผลกระทบต่อประชาชน    4. กฎหมายที่กำหนดลักษณะของเครื่องแสดงวิทยฐานะ เครื่องหมาย หรือเครื่องแบบ เช่น กฎหมายกำหนดครุยวิทยฐานะ กฎหมายกำหนดเครื่องหมายราชการ กฎหมายกำหนดเครื่องแบบ    5. ประมวลกฎหมาย    6. กฎหมายอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ออก กฎกระทรวงกำหนดกฎหมายตามมาตรา 29 (6) พ.ศ. 2562 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอ

ค่าใช้สอยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเบิกจ่ายได้

รูปภาพ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562 กำหนด ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอย ไว้ดังนี้    1. ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ ระหว่างการรับเสด็จ ส่งเสด็จ หรือเกี่ยวเนื่องกับการรับเสด็จ ส่งเสด็จ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์    2. ค่าจ้างเอกชนดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    3. ค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ หรือการประชาสัมพันธ์งานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    4. ค่าพนานพุ่มดอกไม้ พานประดับพุ่มดอกไม้ พานพุ่มเงินพุ่มทอง กรวยดอกไม้ พวงมาลัย ช่อดอกไม้ กระเช้าดอกไม้ หรือพวงมาลา สำหรับวางอนุสาวรีย์ หรือใช้ในการจัดงาน การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสต่างๆ    5. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้หมายรวมถึงการประชุมราชการทางไกลผ่านดาวเทียม เช่น ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารในกรณีที่มีการประชุมคาบเกี่ยวมื้ออาหาร ค่าเช่าห้องประชุม ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น เป็นต้น    6. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหาร สำหรับกรณีหน่วยงานอื่นหรือบุคคลภายนอก เข้าดูงานหรือเยี่ยมชมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ

ค่าใช้สอยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเบิกจ่ายไม่ได้

รูปภาพ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562   ไม่ให้เบิกจ่ายค่าใช้สอย ดังต่อไปนี้    1. ค่าจัดทำสมุดบันทึก สมุดฉีก หรือของชำร่วย เนื่องในโอกาสต่างๆ    2. ค่าจัดพิมพ์ ค่าจัดส่ง ค่าฝากส่งเป็นรายเดือน สำหรับบัตรอวยพรในเทศกาลต่างๆ และค่าจัดพิมพ์นามบัตรให้กับบุคลากรภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    3. ค่าพวงมาลัย ดอกไม้ ของขวัญ หรือของเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อมอบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน บุคคล เนื่องในโอกาสต่าง    4. ค่าทิป    5. เงินหรือสิ่งของบริจาค    6. ค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการ หรือการจัดกิจกรรมนันทนาการภายในองคืกรปกครองส่วนท้องถิ่น    7. ค่าใช้สอยที่ไม่ให้เบิกจ่ายนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด คลิกดาวน์โหลดไฟล์  ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562 คลิกอ่านค่าใช้สอยที่เบิกจ่ายได้ #นักเรียนกฎหมาย 26 พฤศจิกายน 2562

หลักเกณฑ์การขนส่งสัตว์ นำสัตว์ไปใช้งาน หรือใช้ในการแสดง

รูปภาพ
   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออก ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขนส่งสัตว์ หรือการนำสัตว์ไปใช้งานหรือใช้ในการแสดง พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนพิเศษ 289 ง/หน้า 30/25 พฤศจิกายน 2562 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้ การขนส่งสัตว์ คือ การเคลื่อนย้ายสัตว์จากสถานที่ต้นทาง ไปยังสถานที่ปลายทาง ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด การขนส่งสัตว์ หรือการนำสัตว์ไปใช้งานหรือใช้ในการแสดง เจ้าของสัตว์หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องจัดสวัสดิภาพ ดังนี้    1. ต้องวางแผนเส้นทางและระยะเวลาในการเดินทางให้มีความเหมาะสม    2. สัตว์ต้องมีสภาพที่พร้อมเดินทาง ไม่มีอาการป่วยหรือบาดเจ็บ เว้นแต่มีเหตุอันสมควร    3. พาหนะขนส่งต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับชนิดสัตว์ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกตามความจำเป็น แล้วแต่ชนิดสัตว์และประเภทพาหนะขนส่ง         ทั้งนี้ พาหนะขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีการบำรุงรักษา    4. ไม่ทำให้สัตว์เกิดความหวาดกลัว บาดเจ็บหรือทุกข์ทรมาน ทั้งก่อนการเด

เหตุผลที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

รูปภาพ
   โดยปกติ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วันขึ้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 118    อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุผล ตามมาตรา 119 ก็ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ดังนี้     1. ทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำใดๆ ที่เป็นการประพฤติชั่ว โกง หรือไม่ซื่อตรงในการปฏิบัติงาน เช่น - เบียดบัง ยักยอกเงินไว้เป็นของตนเอง - เบิกค่าใช้จ่ายเท็จ โดยรู้ว่าตนเองไม่มีสิทธิเบิก - มีหน้าที่รับเงินและนำส่งนายจ้าง แต่ไม่นำส่ง - แสวงหาประโยชน์ทำให้นายจ้างสูญเสียรายได้ - เบียดบังเวลาและทรัพย์สินของนายจ้าง     2. กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง โดยลูกจ้างตั้งใจกระทำความผิดกฎหมายอาญาต่อนายจ้างหรือบุคคลที่ถือว่าเป็นนายนายหรือกระทำต่อกิจการงานของนายจ้าง เช่น - แก้ไขใบรับรองแพทย์ให้หยุดเพิ่มขึ้น เป็นความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม - รู้เห็นหรือสนับสนุนการลักทรัพย์ของนายจ้าง อันเป็นความผิดอาญาฐานลักทรัพ

การกู้ยืมเงินที่กำหนดดอกเบี้ยไม่ชัดเจน

รูปภาพ
   การกู้ยืมเงิน ถ้ามีการตกลงกันในเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่ไม่ชัดเจนว่าอัตราดอกเบี้ยเท่าใด เช่น ตกลงกันว่า     "ให้คิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย"    "ยอมให้ดอกเบี้ยตามกฎหมายอย่างสูง"    "ยอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือน"    กรณีเหล่านี้ จะต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า  "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน และมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" อ้างอิง อ.วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์.กฎหมายแพ่งพิสดาร เล่ม 2 #นักเรียนกฎหมาย 24 พฤศจิกายน 2562

ธนาคารกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โดยฝ่าฝืนกฎหมาย!?

รูปภาพ
   โดยหลักทั่วไป สัญญากู้ยืมเงินห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ซึ่งบัญญัติว่า     "ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี"    อย่างไรก็ตาม ในกรณีธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน อาจเรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม    ในเรื่องนี้มีตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2165/2548 วินิจฉัยว่า ธนาคารทำสัญญาให้กู้ยืมเงิน โดยตกลงอัตราดอกเบี้ย เกินกว่าที่ประกาศกำหนดไว้ ถือว่าดอกเบี้ยเป็นโมฆะ    แม้ความจริงธนาคารจะคิดดอกเบี้ยไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาก็ตาม ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ทำให้กลายเป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด #นักเรียนกฎหมาย 23 พฤศจิกายน 2562 

การแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบ

รูปภาพ
   ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 กำหนดว่า ผู้ใดแต่งกาย หรือใช้เครื่องหมาย ที่แสดงว่าเป็นภิกษุโดยมิชอบ (หรือไม่มีสิทธิ) เพื่อให้คนอื่นเชื่อว่า ตนเป็นภิกษุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ     กฎหมายมาตรานี้ ยังรวมถึงการแต่งกายเป็น สามเณร นักพรต หรือนักบวชในศาสนาอื่นด้วย    เรื่องนี้มีตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2542 ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยยินยอมสึกจากการเป็นพระภิกษุ โดยเปลื้องจีวรออกแล้วแต่งกายด้วยชุดขาว ถือว่าจำเลยได้สละสมณเพศแล้ว    ดังนั้น เมื่อจำเลยกลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้คนอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 #นักเรียนกฎหมาย 22 พฤศจิกายน 2562