บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2021

การใช้ถ้อยคำ "หน้าที่และอำนาจ" ในกฎหมายปัจจุบัน

รูปภาพ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีการใช้ถ้อยคำว่า "หน้าที่และอำนาจ" แทนคำว่า "อำนาจหน้าที่" เนื่องจากกฎหมายต้องกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ก่อน แล้วบุคคลนั้นจึงจะมีอำนาจตามมา เพื่อให้สามารถกระทำการตามหน้าที่ได้ ต่อมาเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีบันทึกข้อความ ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2560 เรื่อง การใช้ถ้อยคำ "หน้าที่และอำนาจ" ในร่างกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยวางแนวทางให้การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ใช้คำว่า "หน้าที่และอำนาจ" แทนคำว่า "อำนาจหน้าที่" ในร่างกฎหมายทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับพระราชบัญญัติหรือกฎหมายลำดับรอง สำหรับในบางกรณีอาจมีหน้าที่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีอำนาจตามมาด้วย แต่เมื่อใดก็ตามถ้ากฎหมายให้อำนาจ ต้องเขียน "หน้าที่และอำนาจ" เสมอ ที่มา แนวทางในการจัดทำร่างกฎหมาย.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (พ.ศ. 2563, หน้า 313-315)

การยื่นคำคัดค้าน เมื่อเจ้าหน้าที่มีส่วนได้เสียหรือไม่เป็นกลาง

รูปภาพ
ในการพิจารณาทางปกครอง หรือขั้นตอนการเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง หากเจ้าหน้าที่มีส่วนได้เสียตามมาตรา 13 หรือมีเหตุอื่นซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางตามมาตรา 16 เจ้าหน้าที่ผู้นั้นจะทำการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้ และคู่กรณี (ผู้ยื่นคำขอ ผู้คัดค้านคำขอ ผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง และผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง เนื่องจากสิทธิจะถูกกระทบกระเทือนจากผลของคำสั่งทางปกครอง) อาจยื่นคำคัดค้านได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง คือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539  โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. คู่กรณีต้อง ทำคำคัดค้านเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการคัดค้าน โดยต้องระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไว้ในหนังสือคัดค้านด้วย 2. การยื่นหนังสือคัดค้าน จะต้องยื่นก่อนได้รับแจ้งคำสั่งทางปกครอง โดยจะยื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับก็ได้     2.1) การยื่นหนังสือด้วยตนเอง คู่กรณีจะยื่นต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งถูกคัดค้าน หรือจะยื่นต

กฎหมายใหม่ เดือนกันยายน 2564

รูปภาพ
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 หมายเหตุ โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญํตินี้ 2. พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หมายเหตุ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณได้มีกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

คำสั่งลงโทษทางวินัย? ที่มีประธานกรรมการสอบสวนวินัย เป็นอนุกรรมการพิจารณาดำเนินการทางวินัย และเป็นอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์

รูปภาพ
ตัวอย่างคดีปกครองเรื่องนี้ ประธานกรรมการสอบสวนวินัย เป็นอนุกรรมการพิจารณาดำเนินการทางวินัย และยังเป็นอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ในขณะเดียวกัน ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า มีเหตุซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันเป็นเหตุให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความเป็นกลาง ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษทางวินัยและมติให้ยกอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้ คณะกรรมการสอบสวนวินัย โดยมีนาง ส. เป็นประธานกรรมการสอบสวนวินัย ได้รวบรวมพยานหลักฐานและสอบปากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง และรายงานต่อนายกเทศมนตรีผู้สั่งแต่งตั้ง ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง สมควรลงโทษปลดออกจากราชการ ต่อมา คณะอนุกรรมการพิจารณาดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการ โดยมีนาง ส. เป็นอนุกรรมการด้วย ได้ประชุมและมีมติด้วยเสียงข้างมากให้ปลดออกจากราชการ หลังจากนั้น นายกเทศมนตรีได้รายงานการสอบสวนต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด ซึ่งคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดมีมติให้ลงโทษปลดออกจากราชการ นายกเทศมนตรีจึงได้มีคำสั่

ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

รูปภาพ
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้กำหนดประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อใช้เป็น หลักในการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้ง พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา ด้วย ซึ่งประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2564 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ ดังนี้ (1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2)  ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่อผู้เกี่ยวข้อง ในฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (3) กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก และกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (4) มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มุ่งประโยชน์ส่วนรว

กฎหมายใหม่ เดือนกรกฎาคม 2564

รูปภาพ
พระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงนครไทย ศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย และศาลแขวงเวียงป่าเป้า เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. 2564 หมายเหตุ โดยที่ปัจจุบันประชากรในจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดเชียงราย มีจำนวนมาก จึงมีคดีเข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมจำนวนมาก อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมมีความซับซ้อน ทำให้คดีที่เข้าสู่การพิจารณาพิพากษามีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเกิดประสิทธิภาพ ประชาชนผู้มีอรรถคดีและผู้เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น สมควรยกฐานะศาลแขวงนครไทย ศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย และศาลแขวงเวียงป่าเป้า เป็นศาลจังหวัด เพื่อให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่อยู่ในเขตอำนาจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สรุปความรู้จากการสัมมนา เรื่อง การนำกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทมาใช้ในคดีปกครอง

รูปภาพ
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมสัมมนา เรื่อง การนำกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทมาใช้ในคดีปกครอง จัดโดยสำนักงานศาลปกครอง โดยท่านวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ 2 ท่าน คือ ท่าน บุญอนันต์ วรรณพานิชย์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และท่าน เอกณัฐ จิณเสน ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ผมจึงได้สรุปความรู้ที่ได้จากการสัมมนาดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางต่อยอดความรู้ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองสำหรับผู้ที่สนใจครับ ********************************** สรุปความรู้จากการสัมมนา เรื่อง การนำกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทมาใช้ในคดีปกครอง ครั้งที่ 2 วิทยากร  ท่าน บุญอนันต์ วรรณพานิชย์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และ ท่าน เอกณัฐ จิณเสน ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง จัดโดยสำนักงานศาลปกครอง เมื่อวันอังคารที่ 7 กันยายน 2564 เวลา 08.30 - 12.00 น.  ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ โปรแกรม Cisci Webx Meetings ********************************** ระบบศาลยุติธรรม มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาเป็นเวลานาน ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญาบางประเภท แต่สำหรับคดีปกครอง ถือเป็นเรื่องใหม่ โดยเ

สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ (ที่มีสิทธิเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ)

เดิมผู้ฟ้องคดี ดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้รับคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 11 จังหวัดสงขลา ซึ่งมิใช่สำนักงานในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก และผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการภาค 5 ผู้ถูกฟ้องคดี ก็ไม่ได้จัดที่พักอาศัยให้แก่ผู้ฟ้องคดีในขณะนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคาร เพื่อปลูกสร้างบ้านในท้องที่ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธินำหลักฐานค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อปลูกสร้างบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ ตามมาตรา 17 แห่งพระราชกฤษฎีกาเดียวกัน ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีก็ได้อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดี นำหลักฐานค่าผ่อนชำระเงินกู้ เพื่อปลูกสร้างบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามสิทธิ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 ต่อมา เมื่อผู้ฟ้องคดีได้รับคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการ

ข้าราชการเรียกรับเงินค่าวิ่งเต้นสอบเข้าทำงาน มีโทษไล่ออก (ไม่มีเหตุลดหย่อนโทษ)

รูปภาพ
ข้าราชการที่เรียกรับเงินเป็นค่าวิ่งเต้นสอบเข้ารับราชการ แม้จะได้คืนเงินครบถ้วนแล้ว และไม่เคยกระทำผิดวินัยมาก่อน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความดีความชอบ ก็ไม่มีเหตุอันควรลดหย่อนโทษ คำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการเหมาะสมแล้ว เรื่องนี้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.117/2558 ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีรับราชการมาเป็นระยะเวลานาน ย่อมรู้ดีว่าการเรียกและรับเงินจากผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการ เพื่อเป็นค่าวิ่งเต้นให้ได้เข้ารับราชการ เป็นเรื่องที่ข้าราชการที่ดีไม่ควรปฏิบัติ ถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน และทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียงของทางราชการ แม้จะอ้างว่า ได้คืนเงินแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจลบล้างความผิดที่ได้กระทำสำเร็จไปแล้วได้ ประกอบกับสำนักงาน ก.พ. ได้มีหนังสือลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 แจ้งเวียนหน่วยงานต่างๆ กรณีการลงโทษข้าราชการกรณีเรียกร้องเงินจากราษฎร เพื่อฝากเข้าทำงานในหน่วยงานที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และความร้ายแรงแห่งกรณีอยู่ในระดับเดียวกับกรณี