บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2021

ประมวลจริยธรรม สำหรับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

รูปภาพ
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน พึงปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้ 1. ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย     1) เคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ แสดงออกถึงความภูมิใจในชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ เคารพในความแตกต่างของการนับถือศาสนา     2) ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยมีจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตยและดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางทางการเมือง ทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และระดับท้องที่     3) สนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการ องค์กรอิสระหรือองค์กรที่รับผิดชอบในการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม ตามที่กฎหมายกำหนด 2. ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ ประกอบด้วย     1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตรงไปตรงมาตามกฎหมาย และตามทำนองคลองธรรม โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล และตรวจสอบได้ ไม่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีนัยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อส่งเสริมให้ประช

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

รูปภาพ
ข้อ 1 ข้อใดเป็นกลไกรองรับการจ้างงานตาม Government Employee System ก. ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ข. ระบบการบริหารกำลังคง ค. ระบบสัญญาจ้าง ง. ระบบการบริหารงบประมาณ ข้อ 2 กรอบอัตรากำลังพนักงานราชการมีกำหนดระยะเวลาในข้อใด ก. 1 ปี ข. 4 ปี ค. 5 ปี ง. 10 ปี ข้อ 3 พนักงานราชการแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามข้อใด ก. พนักงานราชการทั่วไป กับ พนักงานราชการเฉพาะกิจ ข. พนักงานบริการ กับ พนักงานราชการพิเศษ ค. พนักงานราชการทั่วไป กับ พนักงานราชการพิเศษ ง. พนักงานราชการบริหารทั่วไป กับ พนักงานราชการวิชาชีพเฉพาะ ข้อ 4 ข้อใด มิใช่ ปรัชญาของระบบพนักงานราชการ ก. เป็นทางเลือกการจ้างงานภาครัฐที่ยืดหยุ่น คล่องตัว ข. เป็นการจ้างตามหลักสมรรถนะ และผลสัมฤทธิ์ของงาน ค. ไม่เป็นการจ้างงานตลอดชีพ ง. เน้นงานบริการทั่วไป  ข้อ 5 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 เริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด ก. 1 มกราคม 2547 ข.   16 มกราคม 2547 ค.   17 มกราคม 2547 ง.   ไม่มีข้อใดถูกต้อง ข้อ 6 ผู้ใดรักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547  ก. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ข. เลขาธิการคณะ

การเรียกดอกเบี้ยจากเจ้าหน้าที่ทุจริต

รูปภาพ
การเรียกดอกเบี้ยจากเจ้าหน้าที่ทุจริตในเรื่องนี้ เกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่ทุจริตยักยอกเงิน ต่อมาได้นำเงินที่ยักยอกมาชำระคืนแก่ทางราชการแล้ว หน่วยงานของรัฐเห็นว่าไม่ได้รับความเสียหาย เห็นสมควรยุติเรื่อง และเป็นเรื่องที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ (แต่ได้รายงานให้ทราบ) กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางตรวจสอบและแจ้งให้หน่วยงานของรัฐเรียกดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่น่าสนใจไว้หลายประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 การที่เจ้าหน้าที่ยักยอกเงินของหน่วยงานของรัฐไป ต่อมาได้ชำระคืนแล้ว จะมีผลทำให้หนี้เป็นอันระงับและไม่อาจเรียกให้ชำระดอกเบี้ยหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า กรณีความรับผิดในมูลหนี้ละเมิด มีความรับผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ตามบทบัญญัติของกฎหมายในมาตรา 224 และมาตรา 206 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ให้คิดดอกเบี้ยในหนี้เงินอันเกิดแต่มูลละเมิดนับแต่เวลาที่ทำละเมิด ประกอบกับหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0418.7/ว 105 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2545 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์การคิดดอกเบี้ย