บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2018

รวมพระราชกฤษฎีกา กำหนดหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ลำดับ 1 - 71)

รูปภาพ
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ได้ให้นิยามความหมายของคำว่า "หน่วยงานของรัฐ" ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติฉบับนี้ไว้ ว่าหมายถึง กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา รวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ปัจจุบันได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวขึ้นหลายฉบับ ผมจึงได้รวบรวมไว้ในนี้ครบทุกฉบับ (อัพเดตล่าสุด 8 พฤศจิกายน 2564) ประกอบด้วยหน่วยงานต่อไปนี้ 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 5. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 6. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา 7. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 8. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 9. สถาบันพระปกเกล้า 10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 11. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 12. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 1

ไฮไลท์ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มาตรา 34-43)

***ปล. ตุลาคม 2564 อยู่ระหว่างปรับปรุงแนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ให้สอดคล้องกับฉบับแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ รอติดตามกันด้วยนะครับ***           *มาตรา 34 คำสั่งทางปกครองอาจทำเป็น หนังสือ หรือ วาจา หรือโดยการสื่อความหมายใน รูปแบบอื่น ก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้            มาตรา 35 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคำสั่งนั้นร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควร ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ            มาตรา 36 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ อย่างน้อยต้องระบุ วัน เดือน และปีที่ทำคำสั่ง ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้น           *** มาตรา 37 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ และการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ ต้องจัดให้มีเหตุผล ไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย            (1) ข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำคัญ            (2) ข้อกฎหมาย ที่อ้างอิง          

อำนาจการคุมขังของเรือนจำ

          เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่  ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง การกำหนดอำนาจการคุมขังของเรือนจำ ฉบับที่ 14  แก้ไขอำนาจคุมขังของ เรือนจำจังหวัดสกลนคร จากเดิมที่มีอำนาจจำคุกไม่เกิน 15 ปี เป็นแก้ไขให้มีอำนาจจำคุกไม่เกิน 25 ปี            ผู้เขียนจึงได้ค้น พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560  กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 (ยังมีผลใช้บังคับอยู่) และประกาศกระทรวงยุติธรรม  เรื่อง การกำหนดอำนาจการคุมขังของเรือนจำ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม            พบว่า  เรือนจำต่างๆ มีอำนาจคุมขังผู้ต้องขังแต่ละประเภทไม่เท่ากัน แต่เนื่องจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลายฉบับ ผู้เขียนจึงสรุปอำนาจคุมขังของเรือนจำ โดยแยกแต่ละประเภทเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ดังนี้            1. เรือนจำกลาง                1.1 อำนาจจำคุก 15 ปี ถึงประหารชีวิต จำนวน 10 แห่ง คือ                       เรือนจำกลางบางขวาง                        เรือนจำกลางคลองไผ่                        เรือนจำกลางเขาบิน                        เรือนจำกลางพิ

ประเภทและอำนาจคุมขังของเรือนจำ

รูปภาพ
          เรือนจำ คือ ที่สำหรับควบคุม ขัง หรือจำคุกผู้ต้องขัง ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่  นักโทษเด็ดขาด ที่ถูกหมายจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด รวมถึงผู้ที่ถูกขังตามกฎหมาย คนต้องขัง ตามหมายขัง แ ละ  คนฝาก คือผู้ที่ถูกฝากให้ควบคุม ซึ่งตามกฎหมายจำแนกเรือนจำ ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ ภาพจาก Facebook เรือนจำกลางคลองเปรม            1. เรือนจำกลาง โดยปกติรับคุมขังผู้ต้องขังที่มีคำพิพากษาแล้ว และนักโทษเด็ดขาด เช่น เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางเชียงใหม่ เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น            2. เรือนจำส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย เรือนจำจังหวัด และเรือนจำอำเภอ ปกติรับคุมขังผู้ต้องขังที่เป็นคนฝาก ผู้ต้องขังระหว่างคดีและนักโทษเด็ดขาด เช่น เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรือนจำอำเภอสีคิ้ว เป็นต้น            3. เรือนจำพิเศษหรือทัณฑสถาน ปกติรับคุมขังผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภท เช่น หญิง คนวัยหนุ่ม เด็ก คนชรา หรือพิการทุพพลภาพ คนป่วย หรือผู้ต้องขังประเภทเดียวกับเรือนจำส่วนภูมิภาคซึ่งในพื้นที่นั้นไม่มีเรือนจำส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ เช่น เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรือนจำพิเศษนครสวรรค์ ทัณฑสถานบำบัดพ

รวมลิ้งก์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ

รูปภาพ
คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิชานิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักวิชานิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภาควิชานิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยอัสสัมชัน คณะนิติศาสตร์  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยรังสิต คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเ

สถิติการตรากฎหมายในรอบ 10 ปี

          วันนี้ผมรวบรวมข้อมูลการตรากฎหมายในรอบ 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2560 มาดูสถิติกันครับว่าปีใดมีการตรากฎหมายออกมาใช้บังคับมากที่สุด           เริ่มจากปี พ.ศ.  2551   มีการตราพระราชบัญญัติ จำนวน 98 ฉบับ           ปี พ.ศ. 2552   จำนวน 18 ฉบับ           ปี พ.ศ. 2553   จำนวน 26 ฉบับ           ปี พ.ศ. 2554  จำนวน 23 ฉบับ           ปี พ.ศ. 2555   จำนวน 12 ฉบับ           ปี พ.ศ. 2556   จำนวน 32 ฉบับ           ปี พ.ศ. 2557   จำนวน 25 ฉบับ           ปี พ.ศ. 2558   จำนวน 107 ฉบับ           ปี พ.ศ. 2559   จำนวน 63 ฉบับ           ปี พ.ศ. 2560   จำนวน 69 ฉบับ           จะเห็นได้ว่า ในปี พ.ศ. 2558 มีการตรากฎหมายมากที่สุด 107 ฉบับ ซึ่งในรอบ 10 ปีนี้ มีการตรากฎหมายใหม่ถึง 473  ฉบับ เฉลี่ยปีละ 47 ฉบับ หรือตกเดือนละ 3 ฉบับ ยังไม่รวมถึงพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ จำนวนมากอีกหลายเท่าตัว มีการประกาศใช้บังคับกับเราไม่เว้นในแต่ละวัน ดังนั้น การที่ทุกคนรู้ เท่าทันกฎหมาย ไม่ละเมิดกฎหมาย และปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง  จึงเป็นความมุ่งหมาย

ไฮไลท์ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มาตรา 21-33)

***ปล. ตุลาคม 2564 อยู่ระหว่างปรับปรุงแนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ให้สอดคล้องกับฉบับแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ รอติดตามกันด้วยนะครับ***           * มาตรา 21 บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครองได้ตามขอบเขตที่สิทธิของตน ถูกกระทบกระเทือน หรือ อาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้            มาตรา 22 ผู้มีความสามารถกระทำการในกระบวนการพิจารณาทางปกครองได้ จะต้องเป็น            (1) ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะ            (2) ผู้ซึ่งมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์            (3) นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา 21 โดยผู้แทนหรือตัวแทน แล้วแต่กรณี            (4) ผู้ซึ่งมีประกาศของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์           * มาตรา 23 ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต

ไฮไลท์ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มาตรา 12-20)

***ปล. ตุลาคม 2564 อยู่ระหว่างปรับปรุงแนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ให้สอดคล้องกับฉบับแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ รอติดตามกันด้วยนะครับ***              * มาตรา 12 คำสั่งทางปกครองจะต้องกระทำ โดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น            *** มาตรา 13 เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้            (1) เป็นคู่กรณีเอง            (2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี            (3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ  เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดๆ  หรือ เป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น   หรือ เป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น            (4) เป็นหรือเคยเป็น ผู้แทนโดยชอบธรรม  หรือผู้พิทักษ์  หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี            (5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือ เป็นนายจ้างของคู่กรณี            (6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง            มาตรา 14 เมื่อมีกรณีตามมาตรา 13 หรือคู่กรณีคัดค้านว่าเจ้าหน้าที่ผู้ใดเป็นบุคคลตามมาตรา 13 ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้น หยุด การพิจารณาเรื่องไว้ก่อน และแจ้ง ให้ผู้บังคับบ

กฎหมายใหม่ เดือนสิงหาคม 2561

รูปภาพ
          รวมพระราชบัญญัติที่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ประจำเดือนสิงหาคม 2561 รวม 2 ฉบับ (อัพเดตทุกวันในหน้านี้ครับ) 1. พระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2561           หมายเหตุ เป็นการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต่างๆ บางรายการ ไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน 2. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. 2561           หมายเหตุ  เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการกำลังคนซึ่งมีทักษะด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในระดับสูงมากขึ้น เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา สร้างความชำนาญในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ โดยให้ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานสายวิชาชีพมีโอกาสศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางในระดับปริญญา ให้การจัดการศึกษามีความต่อเนื่อง สามารถขยายสาขาการเรียนสายวิชาชีพให้มีความหลากหลาย มีการผลิตกำลังคนซึ่งมีความรู้ทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพในระดับสูงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สมควรรวมวิทยาลัยเทคโนโล

1 ตุลาคมนี้ เปิดทำการศาลปกครองสุพรรณบุรี และภูเก็ต

รูปภาพ
          ประธานศาลปกครองสูงสุดได้มีประกาศเกี่ยวกับ สถานที่ตั้งและวันเปิดทำการของ ศาลปกครองสุพรรณบุรี และ ศาลปกครองภูเก็ต ซึ่งจะเริ่มเปิดทำการในวันที่ 1 ตุลาคม 2561 เพื่ออำนวยความยุติธรรมทางปกครองยิ่งขึ้น           โดยศาลปกครองสุพรรณบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 333 หมู่ที่ 6 ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี           ส่วนศาลปกครองภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 33/3 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ข้อสังเกตของผู้เขียน           1. วันเปิดทำการและสถานที่ตั้งของศาลปกครอง เป็นไปตามมาตรา 8 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งบัญญัติว่า " ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองในภูมิภาคจะเปิดทำการเมื่อใด ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ศป. ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดวันเปิดทำการของศาลปกครอง" ประกอบกับมาตรา 48 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า " ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นผู้ประกาศสถานที่ตั้ง และวันเวลาทำการตามปกติของศาลปกครองในราชกิจจานุเบกษา"