บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2021

โครงสร้างกฎหมาย พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมายกลางในการยุติข้อพิพาททางแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่มาก และข้อพิพาททางอาญาบางประเภท มีโครงสร้างของกฎหมายดังนี้ บททั่วไป  หมวด 1 ผู้ไกล่เกลี่ย  หมวด 2 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง     ส่วนที่ 1 กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง    ส่วนที่ 2 การบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท หมวด 3 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา หมวด 4 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน    ส่วนที่ 1 บททั่วไป    ส่วนที่ 2 ผู้ไกล่เกลี่ย    ส่วนที่ 3 กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน    ส่วนที่ 4 การยุติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน    ส่วนที่ 5 ผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน หมวด 5 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน หมวด 6 บทกำหนดโทษ ดาวน์โหลดไฟล์ พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562

ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2564)

รูปภาพ
ตัวอย่างคำพิพากษาคดีนี้ เป็นการอธิบายความหมายของการกระทำความผิด ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4)  มาตรา 80 ประกอบมาตรา 83 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หมายความว่า ก่อนกระทำความผิด ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้ว จึงตกลงใจกระทำความผิด ไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วน ทั้งการไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเหตุเกี่ยวกับเจตนาส่วนตัวของผู้กระทำความผิด ผู้ร่วมกระทำความผิดที่มิได้ไตร่ตรองไว้ก่อนไม่มีความผิดด้วย เพราะกฎหมายมุ่งถึงการไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นสภาพจิตใจของแต่ละคน การจะเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จึงต้องมีลักษณะเป็นการวางแผน การคบคิดร่วมกันมาแต่ต้นที่จะไปฆ่าผู้อื่น หรือไปดักฆ่าผู้อื่นโดยมีพฤติการณ์ร่วมกัน คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน ข้อเท็จจริงปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์เพียงว่า ก่อนเกิดเหตุ นาย ว. และจำเลยกับพวก อยู่ที่บ้านของจำเลย นาย ว. เป็นผู้ชักชวนไปก่อเหตุ โดยจำเลยไม่เคยรู้จักผู้ร่วมก่อเหตุ (นาย ศ. และนาย ส.) มาก่อน ทั

รัฐธรรมนูญ' 64 แก้ไขที่มาของ ส.ส.

รูปภาพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 ได้แก้ไขที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และหลักเกณฑ์ในการคำนวณคะแนนเสียงเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะเริ่มใช้บังคับสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปที่จะมีขึ้นในครั้งหน้า 1. ที่มาของ ส.ส.    1.1 ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ คือ       - แบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน        - แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน    1.2 การเลือกตั้ง ส.ส. ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยใช้บัตรเลือกตั้งแบบละ 1 ใบ   1.3 หากตำแหน่ง ส.ส. ว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้งหรือประกาศชื่อ ส.ส. ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ ส.ส. ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่   1.4 หาก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนไม่ถึง 100 คน ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ 2. หลักเกณฑ์การกำหนดจำนวน ส.ส. แต่ละจังหวัด     2.1 ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวน ส.ส. 400 คน จำนวนที่ได้ ให้ถือว่าเป็นจำนวนราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน   2.2 จังหวัดใ

การนับเวลาละทิ้งหน้าที่ราชการ ต้องนับวันหยุดราชการรวมด้วย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1612/2559 ประชุมใหญ่)

รูปภาพ
การนับเวลาละทิ้งหน้าที่ราชการของข้าราชการ จะต้องนับวันหยุดราชการรวมด้วย ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1612/2559 (ประชุมใหญ่) ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นข้าราชการ ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อถูกสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ก็ไม่ได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และเมื่อถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ ก็ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งแต่อย่างใด จึงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินอื่นในลักษณะเดียวกันในช่วงที่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการไป สำหรับปัญหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ละทิ้งหน้าที่ราชการจำนวนเท่าใด นั้น ผู้ฟ้องคดี (หน่วยงานของรัฐ) ได้ฟ้องเรียกเงินเดือน เงินค่าครองชีพ และเบี้ยกันดารสำหรับวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการ เป็นเวลา 187 วัน คืนแก่ทางราชการ  ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า ใน บางเดือนผู้ถูกฟ้องคดีได้ละทิ้งหน้าที่ราชการต่อเนื่องกันกับวันหยุดราชการ คือ วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์  ถือได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีเจตนาละทิ้งหน้าที่ราชการต่อเนื่องกัน จึงต้องนับวั

ค่าเสียหายจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2564)

รูปภาพ
การกำหนดจำนวนค่าเสียหาย จากการทำลายหรือทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียหายในเรื่องนี้ เป็นประเด็นหนึ่งจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2564  คดีนี้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยื่นฟ้องว่าจำเลยบุกรุกยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า โดยทำการปรับพื้นที่ใช้เครื่องจักรขุดร่องน้ำ ยกคัน ปลูกไม้ยืนต้นจำนวนมากหลายชนิด มิใช่พันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ และมีบ้านพัก 1 หลัง เป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย หรือเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ จึงต้องรับผิดตามมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไร่ละ 78,202 บาท รวมเป็นเงิน 11,496,280.51 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทยังมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าและคูน้ำ อันเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเช่นเดียวกับสภาพก่อนที่มีการบุกรุก และทางนำสืบไม่ปรากฏว่า พื้นที่ทุ่งหญ้าและคูน้ำมีเนื้อที่จำนวนเท่าใด เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์โดยตรง และการใช้ประโยชน์โดยอ้อม ซึ่งเป็นฐานในการกำหนดมูลค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมทั้งหมดหรือบางส่วนเพียงใ

ธุรกรรมทางแพ่งและพาณิชย์ ที่ยกเว้นไม่นำกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ

รูปภาพ
การทำธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (หรือการทำแทนกระดาษและการลงลายมือชื่อ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิพม์ หรือโทรสาร) จะต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม มีธุรกรรมบางประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายฉบับนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การทำธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องอยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นจะมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดธุรกรรมบางประเภทที่ไม่ต้องนำกฎหมายนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้บังคับ ปัจจุบันได้มีการตรา พระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ พ.ศ. 2549 โดยกำหนดให้มีการยกเว้นสำหรับ  การทำธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัว และ ธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก ที่ไม่ให้นำกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ เนื่องจากเห็นว่าธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก ยังไม่เหมาะสมที่จะใช้ข้อมูลอิเล็กทรอน

กฎหมายใหม่ เดือนพฤศจิกายน 2564

รูปภาพ
กฎหมายฉบับใหม่ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 มีทั้งสิ้น 5 ฉบับ ได้แก่ 1. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 หมายเหตุ โดยที่กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และควบคุมยาเสพติด รวมถึงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ได้กระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ และการดำเนินการตามกฎหมายแต่ละฉบับ เป็นหน้าที่และอำนาจของหลายองค์กร ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีความสอดคล้องกัน อีกทั้งบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรรวบรวมกฎหมายดังกล่าว จัดทำเป็นประมวลกฎหมายยาเสพติด เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง และใช้กฎหมายที่จะรวมอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ พร้อมกันนี้ได้มีการปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าว ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ จำเป็นต้องกำหนดให้มีระบบอนุญาต เพื่อให้การควบคุมและการใช้ประโยชน์ยาเสพติดในทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ และทางอุตสาหกรรม มีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นการป้องกันการแพร่กระจายยาเสพติด และการใช้ยาเสพติดในทางที่ไม่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การเสพติดยาเสพติด ซึ่งเป็นการบั่นทอนสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่กระจายยาเส

การเปลี่ยนผ่านกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด สู่ "ประมวลกฎหมายยาเสพติด"

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายยาเสพติดจะเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป วันนี้เราจะมาทำความรู้จักบทบัญญัติในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน จากกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดหลาย ๆ ฉบับ ไปสู่การเป็น "ประมวลกฎหมายยาเสพติด" กันครับ 1. ประมวลกฎหมายยาเสพติด  ประมวลกฎหมายยาเสพติด เป็นการจัดหมวดหมู่ของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเป็นการรวมกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันให้มีความเชื่อมโยงกัน ได้แก่ กฎหมายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กฎหมายยาเสพติดให้โทษ กฎหมายป้องกันการใช้สารระเหย กฎหมายมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กฎหมายวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สำหรับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ไม่ได้ถูกรวบไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด และยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นอีกฉบับ คือ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 2. การยกเลิกกฎหมาย เมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติดใช้บังคับแล้ว จะยกเลิกกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้     2.1 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  

โครงสร้างประมวลกฎหมายยาเสพติด

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายยาเสพติด เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการจัดหมวดหมู่กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ และสารระเหย ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีบทบัญญัติรวม 186 มาตรา โดยมีโครงสร้างกฎหมายดังนี้ ภาค 1 การป้องกัน ปราบปราม และควบคุมยาเสพติด ลักษณะ 1 บทบัญญัติทั่วไป ลักษณะ 2 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด     หมวด 1 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด     หมวด 2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด     หมวด 3 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ลักษณะ 3 การควบคุมยาเสพติด     หมวด 1 บทบัญญัติทั่วไป     หมวด 2 คณะกรรมการควบคุมยาเสพติด     หมวด 3 ประเภทของยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์     หมวด 4 การอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์         ส่วนที่ 1 ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งไม่ต้องขออนุญาต         ส่วนที่ 2 การอนุญาตโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข         ส่วนที่ 3 การอนุญาตโดยผู้อนุญาต         ส่วนที่ 4 การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต     หมวด 5 การขึ้นทะเบียนตำรับยาเส

ยื่นฎีกา โดยไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2564)

รูปภาพ
จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความมาจากอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสิ้น คงมีการแก้ไขเฉพาะคำว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นศาลฎีกา และมีส่วนเพิ่มเติม พิมพ์ตก หรือพิมพ์ผิดไปจากอุทธรณ์บ้างเล็กน้อย ในรายละเอียด ฎีกาของจำเลย จึงเป็นการโต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าพิพากษาไม่ชอบอย่างไร หรือไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพราะเหตุใด   ทั้งเหตุผลในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีบางส่วนก็แตกต่างกัน  ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 216 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225  แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 221 และศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่มา - ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา -  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2564 - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง บัญญัติว่า  "อุทธรณ์ทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจ

การยกเว้นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีอาญาเพื่อใช้ค่าปรับ

รูปภาพ
โดยหลักทั่วไป การดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีจะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย ไม่เว้นแม้แต่หน่วยงานของรัฐก็ตาม โดยหน่วยงานของรัฐในฐานะเป็นเจ้าหนี้ จะดำเนินการบังคับคดีเพื่อบังคับชำระหนี้และนำส่งเงินเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ก็มีภาระในการชำระค่าธรรมเนียมหรือเสียค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ อย่างไรก็ตาม การบังคับคดีอาญาเพื่อชำระค่าปรับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2559 ได้บัญญัติหลักการเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับได้ ทั้งนี้มาตรา 29/1 วรรคสอง บัญญัติมิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดำเนินการบังคับคดี จึงเป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ เพราะการบังคับคดีของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับคดีแพ่ง ล้มละลาย หรือคดีอาญาดังกล่าวก็ตาม ทรัพย์สินที่ได้จากการขายทอดตลาดก็ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ จึงเป็นแนวทางสำหรับผู้ที

การปลดหนี้

รูปภาพ
การปลดหนี้ คือ การที่เจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ ว่าจะสละสิทธิเรียกร้อง ซึ่งเป็นการทำให้เปล่าไม่คิดค่าตอบแทน มีผลทำให้หนี้นั้นระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า " ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป " และการปลดหนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ เพียงแค่ลูกหนี้ได้รับการแสดงเจตนาจากเจ้าหนี้ที่จะปลดหนี้ให้ก็พอแล้ว  อย่างไรก็ตาม หากหนี้นั้น เป็นหนี้ที่มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้จะต้องทำเป็นหนังสือ หรือเวนคืนเอกสารหลักฐานแห่งหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสาร ตามมาตรา 340 วรรคสอง " ถ้าหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย หรือต้องเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย " หากปลดหนี้โดยไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด ย่อมตกเป็นโมฆะ ตัวอย่าง หนี้ที่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ การจะปลดหนี้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 340 วรรคสอง ด้วย เช่น กู้ยืมเงินไม่เกิน 1,000 บาท แต่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ การป

วารสาร / หนังสือวิชาการ

1. ศาลปกครอง 2. กระบวนการยุติธรรม 3. สถาบันพระปกเกล้า 4. ราชทัณฑ์ 5. ห้องสมุดศาลยุติธรรม

รวมลิงก์ หน่วยงานด้านกฎหมาย

1. สำนักงานศาลยุติธรรม 2. สำนักงานศาลปกครอง 3. สำนักงานอัยการสูงสุด 4. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 5. เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ 6. สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 7. กระทรวงยุติธรรม      7.1 กองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม      7.2. กลุ่มกฎหมาย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ      7.3. ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี      7.4. กลุ่มงานวิชาการ กรมบังคับคดี      7.5. กองกฎหมาย กรมราชทัณฑ์      7.6. กองพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์

แบบฟอร์ม / แบบพิมพ์ ศาล

1. ศาลยุติธรรม 2. ศาลปกครอง 3.  ศาลล้มละลาย 4. กรมบังคับคดี

รวมลิงก์ ความเห็นคณะกรรมการต่าง ๆ

1. คณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2. คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

รวมลิงก์ คำวินิฉัย / คำพิพากษา

1. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 2. คำพิพากษาศาลฎีกา และคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล 3. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

คุณสมบัติพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

รูปภาพ
พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ต้องมีคุณสมบัติ ตามที่กำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ดังนี้ 1. มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ 2. สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าระดับปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สถิติศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ 3. ผ่านการอบรมทางด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (Information Security) สืบสวน สอบสวน และการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensics) ตาม ภาคผนวก ท้ายประกาศ  (ดาวน์โหลดด้านล่าง) และ 4. มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้     ก. รับราชการหรือเคยรับราชการไม่น้อยกว่า 2 ปี ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์     ข. สำเร็จการศึกษาตามข้อ 2 (2) ในระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามพ

ใช้บัตรเครดิตของผู้อื่นโดยมิชอบ

รูปภาพ
บัตรเครดิต ถือเป็น "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" ตามบทนิยามแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (14) (ก) เนื่องจากผู้ออกได้ออกเอกสาร คือบัตรเครดิตให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมีการบันทึกข้อมูลในชิปการ์ดและเทปแม่เหล็ก ซึ่งเป็นวิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ส่วน ข้อมูลบัตรเครดิต ได้แก่ หมายเลขบัตรเดรดิต ชื่อผู้ถือ และวันหมดอายุ เมื่อปรากฏอยู่บนบัตรเครดิตซึ่งเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมาย ถือว่าเป็นกรณีที่มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ จึงไม่เป็น "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" ตามมาตรา 1 (14) (ข) อย่างไรก็ตาม มาตรา 1 (14) เป็นเพียงบทนิยามว่าสิ่งใดเป็น "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" แต่มิได้ระบุเกี่ยวกับวิธีใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ การวินิจฉัยว่าการกระทำใดเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้น เป็นวิธีใช้โดยทั่วไปของบัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนั้นหรือไม่ โดยไม่จำกัดว่าหากเป็น "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" ตามมาตรา 1 (14) (ก) แล้ว การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเป็นการใช้เอกสารหรือวัตรถุอื่นใดที่ผู้ออกได้ออกให้โดยตรงเท่านั้น ดังจะเห