บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2021

กฎหมายใหม่ เดือนพฤษภาคม 2564

รูปภาพ
1. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 หมายเหตุ โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ประกอบกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีสารแก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1972 มิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล และบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ที่มีการบริโภคพืชกระท่อมตามวิถีชาวบ้าน สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 2. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2564 หมายเหตุ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง ในการออกระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษ และสิทธิและประโยชน์อื่นของข้าราชการตุลาการศาลปกครอง ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง และพนักงานราชการ และลูกจ้างสำนักงานศาลปกครอง อันจะเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการให้เ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 3)

รูปภาพ
ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 21 ถึงข้อ 25 ก. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข. คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ค. พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ข้อ 21 ผู้มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ข้อ 22 ผู้มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อ 23 ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง ข้อ 24 ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษปรับทางปกครอง ข้อ 25 ผู้มีอำนาจสั่งให้บุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อ 26 ผู้มีอำนาจหน้าที่ออกหนังสือแจ้งให้ผู้ใดส่งเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ข้อ 27 จากข้อ 25 และข้อ 26 ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับทางปกครองตามข้อใด ก. ไม่เกิน 1 แสนบาท ข.   ไม่เกิน 5 แสนบาท ค.   ไม่เกิน 7 แสนบาท ง.  กฎหมายไม่ได้กำหนดโทษปรับทางปกครองไว้ ข้อ 28 โดยทั่วไปผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยประการที่น่าจะทำให้

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)

รูปภาพ
ข้อ 11 กรณีเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการตามคำขอภายในกี่วัน ก. ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ ข.   ไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ ค.   ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ ง.   ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ ข้อ 12 โดยทั่วไปหากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดดังกล่าวแก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายในกำหนดเวลาใด ก. 24 ชั่วโมง ข.   48 ชั่วโมง ค.   72 ชั่วโมง ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคำถามในข้อ 13 ถึงข้อ 16 ก. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ข. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ค. เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ง. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อ 13 ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ข้อ 14 ผู้มีหน้าที่จัดให้มีระบบการตรวจสอบ เพื่อดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูล

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

รูปภาพ
ข้อ 1 การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องออกเป็นกฎหมายใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกำหนด ค. พระราชกฤษฎีกา ง. กฎกระทรวง ข้อ 2 กฎหมายตามข้อ 1 กำหนดหน่วยงานและกิจการใดที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  ก. หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ข. กิจการด้านการศึกษา ค. กิจการด้านความบันเทิงและนันทนาการ ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 3 โดยหลัก ทั่วไป พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับตั้งแต่วันใด ก. 26 พฤษภาคม 2562 ข.  27 พฤษภาคม 2562 ค.  28 พฤษภาคม 2562 ง.  29 พฤษภาคม 2562 ข้อ 4 "บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล" คือความหมายตามข้อใด ก. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ข. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ค. พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง ข้อ 5 ผู้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและส

โครงสร้างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โครงสร้างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ  พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ประกอบด้วยบทบัญญัติ 96 มาตรา  โดยทั่วไป กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป) ยกเว้น บทบัญญัติในหมวด 2 หมวด 3 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 มาตรา 95 และ มาตรา 96 ใช้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (หรือใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป)  อย่างไรก็ตาม ได้มีการตรา พระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563 และ  ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2564)  มิให้นำ บทบัญญัติในหมวด 2 หมวด 3 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 และมาตรา 95  มาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมหน่วยงานหรือกิจการที่กำหนด เช่น หน่วยงานของรัฐ จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 โครงสร้างทางกฎหมาย ประกอบด้วย บททั่วไป (มาตรา 1 - มาตรา 7) หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   (มาตรา 8 - มาตรา 18) หมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล        ส่วนที่ 1 บททั่วไป  (

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน (ใช้บังคับ 21 พฤษภาคม 2564)

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป บัญญัติให้ ข้าราชการพลเรือน กรรมการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่น พึงปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรม ตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ดังต่อไปนี้ (1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยการแสดงออกถึงความภูมิใจในชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ เคารพในความแตกต่างของการนับถือศาสนา ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และเทิดทูนรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ (2) ซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมายและตามทำนองคลองธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ ไม่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีนัยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ รับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความพร้อมรับการตรวจสอบและรับผิด มีจิตสำนึกที่ดี โดยคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (3) กล้าตัดสินใจและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม กล้าคัดค้านในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กล้าเปิดเผยหรือรายงานการทุจริตประพฤติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2563 : กระทำชำเราเด็ก ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน

รูปภาพ
ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหา  คำว่า "ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน" ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก หมายถึงการเป็นภริยาหรือสามีกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว ลักษณะ 1 เรื่องการสมรส ซึ่งตามมาตรา 1457 บัญญัติว่า "การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น" เมื่อไม่ปรากฏว่า ผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยจึงยังมิใช่ภริยาหรือสามีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว  จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 อายุไม่เกินสิบสามปี และในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 อายุเกินสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกและวรรคสาม ที่มา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2563 (ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา) #นักเรียนกฎหมาย 16 พฤษภาคม 2564

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ชุดที่ 6)

รูปภาพ
ข้อ 51 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับวิธีพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ก. ใช้ระบบกล่าวหา ข. ใช้ระบบไต่สวน ค. ใช้ระบบผสมผสาน ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง ข้อ 52 ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งถูกคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งลงโทษ จะต้องอุทธรณ์ตามข้อใด ก. อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง ข.   อุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง ค.   อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง ง. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง ข้อ 53 จากข้อ 52 เมื่อได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ต้องดำเนินการตามคำวินิจฉัยดังกล่าว ภายในกำหนดเวลาใด ก. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย ข.   ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำวินิจฉัย ค.   ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย ง.   ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีคำวินิจฉัย ข้อ 54 กรณีผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธ

การโอนเงินนอกงบประมาณ ไปใช้สำหรับหน่วยรับงบประมาณอื่น ?

รูปภาพ
การจัดทำร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. .... จะสามารถบัญญัติให้โอนหรือนำเงินนอกงบประมาณ ไปใช้สำหรับหน่วยรับงบประมาณอื่นได้หรือไม่ ? คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) มีความเห็นว่า พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 บัญญัตินิยามคำว่า "งบประมาณรายจ่าย" หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูง ที่อนุญาตให้จ่ายหรือให้ก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย และคำว่า "เงินนอกงบประมาณ" ตาม  พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ได้บัญญัติให้ความหมายไว้ว่า บรรดาเงินทั้งปวงที่หน่วยงานของรัฐ จัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ หรือกรณีอื่นใดที่ต้องนำส่งคลัง แต่มีกฎหมายอนุญาตให้สามารถเก็บไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง จึงเห็นได้ว่า เงินนอกงบประมาณมิใช่งบประมาณรายจ่าย ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดให้โอนเงินนอกงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณหนึ่ง ไปใช้สำหรับหน่วยรับงบประมาณอื่นได้ ที่มา ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ชุดที่ 5)

รูปภาพ
ข้อ 41 ถึงข้อ 50 ข้อใดกล่าวถูกต้องหรือกล่าวไม่ถูกต้อง ข้อ 41 กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ข้อ 42 ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอำนาจยับยั้งการลาออกของข้าราชการได้ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันขอลาออก ข้อ 43 คำสั่งลงโทษทางวินัย ต้องแสดงว่าผู้ถูกลงโทษ กระทำผิดในกรณีใด โดยไม่จำต้องระบุมาตรา ข้อ 44 โทษลดขั้นเงินเดือน เป็น 1 ใน 5 ของโทษทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้อ 45 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกรมในกระทรวงเดียวกัน ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันทุกกรณี ข้อ 46 ผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยให้ออกจากราชการ ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ ข้อ 47 ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัย ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อ 48 โดยหลักทั่วไป การลาออกจากราชการ ต้องยื่นหนังสือล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วันทำการ ข้อ 49 ข้

การบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม

รูปภาพ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม พ.ศ. 2563 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1.หลักการ ระเบียบฯ ฉบับนี้ มีหลักการสำคัญเพื่อให้การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม เป็นไปอย่างบูรณาการ มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาประเทศ การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม มีความครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและบูรณาการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศบรรลุตามวิสัยทัศน์ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.วัตถุประสงค์ การบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการใดๆ ที่จะให้เกิดความร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆ อันจะเป็นการลดหรือแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันจากสถานะ