บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2020

คู่สัญญาจ้างทำของ ไม่เป็น "เจ้าหน้าที่" ตามกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

รูปภาพ
   การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทำสัญญาแต่งตั้งให้เอกชนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ดำเนินงานในหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดแทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นสัญญาจ้างทำของ ตามนัยมาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์     เอกชนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นคู่สัญญากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนั้น บุคคลดังกล่าวจึงไม่เป็น "เจ้าหน้าที่" ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 อ้างอิง - ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 896/2542 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์) - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 428 บัญญัติว่า "ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง" - พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539   มาตรา 4 บัญญัติว่า &q

การชักธงชาติในสถานศึกษา

รูปภาพ
ปัจจุบันการชักธงชาติและประดับธงชาติในสถานศึกษา เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. ขอบเขตบังคับใช้       ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ออกตามความในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป 2. นิยามความหมาย     2.1 "สถานศึกษา" หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา     2.2 "หัวหน้าสถานศึกษา" หมายความว่า ผู้อำนวยการ อธิการบดี หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งของรัฐและเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 3. กำหนดเวลาชักธงชาติขึ้นและลง     3.1 ในวันเปิดเรียน           ช

สาระสำคัญ ระเบียบว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา

รูปภาพ
     สรุปสาระสำคัญของระเบียบว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2558) เป็นระเบียบที่บังคับใช้ภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยไม่พบว่ามีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่อย่างใด 1. ขอบเขตการบังคับใช้     1.1 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549 ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน 2549 และกำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2549 เป็นต้นไป     1.2 กรณีระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและคำสั่งอื่นในส่วนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน     1.3 กรณีสถานศึกษาที่มีกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบกำหนดในเรื่องนี้ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบนั้น 2. นิยามความหมาย     2.1 "กรณีพิเศษ" หมายความว่า กรณีจำเป็นต้องใช้สถานศึกษาเพื่อประชุม สัมมนา ฝึกอบรม จัดสอบ พักแรม จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือกิจกรรมอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนหรือเหตุจำเป็นอื่นที่ไม่อาจเปิดเรียนได้ตามปกติ  

คำพิพากษาศาลปกครอง กรณีพนักงานขับรถยนต์ไม่ได้สังเกตหน้าปัดรถยนต์

รูปภาพ
   พนักงานขับรถยนต์ได้ตรวจเช็คสภาพรถและเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทางไปปฏิบัติราชการ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการตรวจสอบสภาพรถก่อนออกเดินทางแล้ว     แต่ในระหว่างเดินทาง มาตรวัดระดับความร้อนแสดงว่าความร้อนสูงขึ้นที่หน้าปัดรถยนต์ อันเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งผู้ขับรถยนต์ดังกล่าวอาจจะทราบแต่ไม่ได้สังเกตเห็น และยังคงขับรถต่อไปจนกระทั่งเครื่องยนต์หยุดทำงาน     จึงอาจรับฟังได้ว่าเหตุละเมิดที่ทำให้รถยนต์ของราชการได้รับความเสียหายดังกล่าวเกิดจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของพนักงานขับรถยนต์ แต่ความประมาทเลินเล่อดังกล่าวยังไม่ถึงขนาดเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อ้างอิง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.146/2553 #นักเรียนกฎหมาย 4 เมษายน 2563