บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2020

แนวข้อสอบ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ

รูปภาพ
ข้อ 1 CONFIDENTIAL ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการมีความหมายตรงตามข้อใด  ก. ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ ข.  ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรง ค.  ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรงที่สุด ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 2 ข้อใดผิดเกี่ยวกับการแสดงชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารที่เป็นเอกสาร ก. แสดงเครื่องหมายชั้นความลับที่กลางหน้ากระดาษทั้งด้านบนและด้านล่างของทุกหน้าเอกสาร ข. เครื่องหมายแสดงชั้นความลับ ให้ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรธรรมดา ค. เอกสารเข้าปก ต้องแสดงชั้นความลับไว้ที่ด้านนอกของปกหน้าและด้านในของปกหลัง ง. ตัวอักษรชั้นความลับ จะใช้สีแดงหรือสีอื่นที่สามารถมองเห็นได้เด่นและชันเจนก็ได้ ข้อ 3 ข้อใดมิใช่การปรับชั้นความลับ ก. การลดชั้นความลับ ข. การเพิ่มชั้นความลับ ค. การยกเลิกชั้นความลับ ง. ไม่มีข้อใดถูก ข้อ 4 องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายทหาร คือข้อใด ก. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ข

โครงสร้าง ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544

รูปภาพ
ร ะเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เป็นระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีความสำคัญต่อความมั่นคงของรัฐ และมักจะนำมาใช้ออกข้อสอบแข่งขันเข้ารับราชการอยู่เสมอ ซึ่งโครงสร้างของระเบียบมีดังนี้  หมวด 1 บททั่วไป     ส่วนที่ 1 องค์การรักษาความปลอดภัย       ส่วนที่ 2 ประเภทชั้นความลับ หมวด 2 การกำหนดชั้นความลับ       ส่วนที่ 1 ผู้มีอำนาจกำหนดชั้นความลับ       ส่วนที่ 2 การแสดงชั้นความลับ       ส่วนที่ 3 การปรับชั้นความลับ หมวด 3 การทะเบียน       ส่วนที่ 1 นายทะเบียน       ส่วนที่ 2 การตรวจสอบ หมวด 4 การดำเนินการ       ส่วนที่ 1 การจัดทำ       ส่วนที่ 2 การสำเนาและการแปล       ส่วนที่ 3 การโอน       ส่วนที่ 4 การส่งและการรับ       ส่วนที่ 5 การเก็บรักษา       ส่วนที่ 6 การยืม       ส่วนที่ 7 การทำลาย       ส่วนที่ 8 การปฏิบัติในเวลาฉุกเฉิน       ส่วนที่ 9 การสูญหาย       ส่วนที่ 10 การเปิดเผย บทเฉพาะกาล ที่มา -  ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 -  ร

มาตรการคุ้มครองข้าราชการที่ให้ข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ

รูปภาพ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 เห็นชอบ  มาตรการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ 7 ข้อ ดังนี้ 1. ให้ถือว่าการให้ข้อมูล หรือการเป็นพยาน หรือการส่งเอกสารหลักฐาน เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ  2. ผู้บังคับบัญชาจะต้องไม่กลั่นแกล้งในทางใดๆ ต่อข้าราชการผู้ให้ข้อมูล หรือให้ถ้อยคำในฐานะพยาน 3. ผู้บังคับบัญชาจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ข้าราชการผู้ให้ข้อมูล หรือให้ถ้อยคำในฐานะพยาน โดยมิให้ถูกกลั่นแกล้งหรือข้่มขู่จากผู้ถูกร้องเรียนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และขอความร่วมมือหรือประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อเป็นทนายแก้ต่างในกรณีที่ผู้ให้ข้อมูลถูกฟ้องร้องในคดีแพ่งหรือคดีอาญา 4. ผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ แก่ข้าราชการผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยาน ที่เป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการได้ 5. คณะกรรมการสอบสวน หรือผู้บังคับบัญชาสามารถใช้ดุลพินิจ  เพื่อกันบุคคลผู้มีส่วนร่วมกระทำผิดไว้เป็นพยาน หรือลดหย่อนผ่อนโทษได้ตามเหตุและผลของเรื่อง 6. ข้าราชการผู้ให้ข้อมูล หรือให้ถ้อยคำในฐานะพยาน สามารถร้องขอความเป็นธรรมต่อ ก.พ. ได้

ให้ข้าราชการเลิกใช้บริการทางเพศระหว่างไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัด

รูปภาพ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2528 เห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาสตรีแห่งชาติเสนอ โดยให้ข้าราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เลิกใช้บริการจากหญิงบริการทางเพศในระหว่างไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัด สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมการพัฒนาสตรีแห่งชาติได้พิจารณาถึงแนวทางการรณรงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้บริการทางเพศ เห็นว่าข้าราชการเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการใช้บริการทางเพศ โดยเฉพาะข้าราชการที่ออกไปราชการต่างจังหวัด ได้ถือโอกาสใช้และเรียกร้องให้มีการใช้หญิงบริการทางเพศอยู่เสมอ  #นักเรียนกฎหมาย 26 กันยายน 2563

การลงโทษข้าราชการเล่นการพนันและเสพสุรา

รูปภาพ
แนวทางการลงโทษข้าราชการเล่นการพนันและเสพสุรา เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2496 และเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2546 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยกระทรวง ทบวง กรม จะต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้ ก. เล่นการพนัน     1. การพนันประเภทที่กฎหมายห้ามขาด ถ้าข้าราชการผู้ใดเล่น ควรวางโทษถึงปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ     2. การพนันประเภทที่กฎหมายบัญญัติว่าจะเล่นได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางการ         2.1) เล่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถ้าผู้เล่นเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่ปราบปรามโดยตรง หรือเป็นครู หรือเป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการวัฒนธรรม หรือเจ้าพนักงานอื่นใดซึ่งมีข้อห้ามของกระทรวง ทบวง กรม วางไว้เป็นพิเศษ ให้พิจารณาลงโทษตามเกณฑ์ในข้อ 1. ถ้าผู้เล่นเป็นข้าราชการอื่น ให้พิจารณาโทษตามควรแก่กรณี         2.2) เล่นโดยได้รับอนุญาตแล้ว ถ้าผู้เล่นเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่ปราบโดยตรง หรือเป็นครู หรือเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการวัฒนธรรมหรือเจ้าพนักงานอื่นใด ซึ่งมีข้อห้ามของกระทรวง ทบวง กรม วางไว้เป็นพิเศษ อาจพิจารณาลงโทษตามเกณฑ์ในข้อ 1.  ก็ได้ ถ้าผู้เล่นนั้นเป็นข้าราชการอื่น จะเป็นผ

มติคณะรัฐมนตรี : การทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนเกี่ยวกับสัญญาอนุญาโตตุลาการ

รูปภาพ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติในเรื่องการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน เกี่ยวกับสัญญาอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 และต่อมาได้มีการแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีอีกสองครั้ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 และวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ดังนี้ 1. สัญญาที่หน่วยงานของรัฐทำกับเอกชนในไทยหรือต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ ถ้าเป็นกรณีดังต่อไปนี้     (1) สัญญาที่ต้องดำเนินการ ตาม พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556     (2) สัญญาสัมปทานที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ให้สัมปทาน หน่วยงานของรัฐไม่ควรเขียนผูกมัดในสัญญาให้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด แต่หากมีปัญหาหรือความจำเป็น หรือเป็นข้อเรียกร้องของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป 2. สัญญาหลักที่ใช้บังคับระหว่างคู่สัญญา ให้ทำเป็นภาษาไทย ส่วนสัญญาฉบับภาษาต่างประเทศ ควรใช้เป็นเพียงคำแปลของสัญญาหลักเท่านั้น 3. ควรกำหนดให้ใช้กฎหมายไทยในการตีความและบังคับตามสัญญา 4. สัญญาใดที่ส่วนราชการต้องเสนอคณะรัฐมนตรี ตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ.

กฎหมายใหม่ เดือนกันยายน 2563

รูปภาพ
1. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2563     หมายเหตุ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้มีระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ที่มีกรณีพิพาททางแพ่งใช้เป็นช่องทางในการยุติข้อพิพาทก่อนที่จะมีการฟ้องคดี โดยคู่กรณีสามารถร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และหากตกลงกันได้ก็อาจขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้ทันที ทำให้ข้อพิพาททางแพ่งสามารถยุติลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องคดี อีกทั้งเป็นการประหยัดเวลาและทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องสูญเสียในการดำเนินคดีอันจะเป็นประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคม (คลิกอ่าน) 2. พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563     หมายเหตุ โดยที่การแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรยังไม่อาจดำเนินการให้ครอบคลุมหนี้ของเกษตรกรบางกรณี จึงทำให้เกษตรกรบางส่วนยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้ เนื่องจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไม่อาจรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ ประกอบกับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรก

ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

รูปภาพ
จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ฐานประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 มาตรา 15   ส่วนกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559 ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามที่จำเลยอ้างนั้น เป็นการออกกฎกระทรวงตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อควบคุมอาคารที่จะนำมาประกอบธุรกิจโรงแรม จึงเป็นกฎกระทรวง ที่มิได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้อง  กฎกระทรวงดังกล่าวจึงไม่ได้มีผลยกเลิกหรือยกเว้นความผิดของจำเลย การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามฟ้อง อ้างอิง - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2563 - พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547     มาตรา 15 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจโรงแรม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน" #นักเรียนกฎหมาย 14 กันยายน 2563

ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

รูปภาพ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 เนื่องจากผู้ประกอบการและร้านค้าบางส่วน ใช้ช่องทางในการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทำให้ยากต่อการควบคุมเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่ และบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย และลดผลกระทบอันเกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงออกประกาศเพื่อกำหนดเป็นมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ 1. ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยวิธีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้บริโภคโดยตรง หรือเป็นการดำเนินการใดๆ ในลักษณะเชิญชวนให้ซื้อ การเสนอขายหรือการขายสินค้าหรือบริการต่อผู้บริโภคโดยตรง ด้วยการตลาดหรือบริการการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ขายและผู้บริโภคซื้อขายได้โดยไม่ต้องพบกัน 2. ประกาศฉบับนี้ ไม่ใช้บังคับ แก่กรณีการซื

กฎหมายใหม่ : พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2563

รูปภาพ
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2563 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137/ตอนที่ 71 ก/หน้า 1/8 กันยายน 2563 มีสาระสำคัญดังนี้ 1. กฎหมายฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป) 2.  เจตนารมณ์ เพื่อส่งเสริมให้มี " ระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี"  เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่มีกรณีพิพาททางแพ่ง ใช้เป็นช่องทางในการยุติข้อพิพาทก่อนที่จะมีการฟ้องคดี โดยคู่กรณีสามารถร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และหากตกลงกันได้ ก็อาจขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้ทันที ทำให้ข้อพิพาททางแพ่งสามารถยุติลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องคดี อีกทั้งเป็นการประหยัดเวลาและทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องสูญเสียในการดำเนินคดีอันจะยังประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคม 3. การแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการเพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 20 ตรี แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพียงมาตราเดียว โดยมีหลักการดังนี้     1) ก่อนยื่นฟ้องคดี บุคคลที่จะเป็นคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลที

รูปภาพกฎหมาย (หน้า 6)

รูปภาพ
รูปภาพ  หน้า 1  ,  หน้า 2  ,  หน้า 3  ,  หน้า 4  ,  หน้า 5  ,  หน้า 6   ,  หน้า 7  ,  หน้า 8  ,  หน้า 9  ,  หน้า 10

อสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่เป็น "ที่ราชพัสดุ"

รูปภาพ
โดยหลักทั่วไป  ตามมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562  บัญญัติให้ "ที่ราชพัสดุ" มี 3 ประเภท ได้แก่ (1) อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด (2) ที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ และ (3) ที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และกรมธนารักษ์ทำหน้าที่ปกครอง ดูแลและบำรุงรักษา อย่างไรก็ตาม ปรากฏข้อยกเว้นในมาตรา 7 ที่บัญญัติให้อสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ ไม่เป็นที่ราชพัสดุ (1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน แต่ไม่รวมถึงที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่สงวนหรือหวงห้ามไว้ เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย (2) อสังหาริมทรัพย์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน (3) อสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) อสังหาริมทรัพย์ขององค์การมหาชน ซึ่งได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือโดยการซื้อ หรือแ

คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

รูปภาพ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 ตราขึ้นเนื่องจาก การทุจริตและประพฤติมิชอบส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพความมั่นคงทางสังคม และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทวีความรุนแรงและก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของแผ่นดิน และจากการดำเนินนโยบายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้มีคดีทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นสู่ศาลมากขึ้น จึงสมควรจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยได้บัญญัตินิยามความหมายคำว่า "ทุจริตต่อหน้าที่" "ประพฤติมิชอบ" และ "คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ" ไว้ดังนี้ ทุจริตต่อหน้าที่  คือ ทุจริตต่อหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่น ประพฤติมิชอบ  หมายความว่า การกระทำที่ไม่ใช่ทุจริตต่อหน้าที่ แต่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใด โดยอาศัยเหตุที่มีตำแหน่งหรือหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมา

โทษทางวินัยพนักงานอัยการ

รูปภาพ
ข้าราชการอัยการ   คือ  ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการ ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ หากกระทำผิดวินัย ต้องถูก ลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 84 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553  ซึ่งกำหนดโทษผิดวินัยไว้ 5 สถาน ได้แก่ (1) ไล่ออก (2) ปลดออก (3) ให้ออก (4) งดการเลื่อนตำแหน่ง หรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน (5) ภาคทัณฑ์ สำหรับการสั่งลงโทษฐานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตาม (1) - (3) นั้น จะต้องดำเนินการสอบสวนเสียก่อน เว้นแต่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามที่คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) กำหนด หรือข้าราชการอัยการได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน เมื่อได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว ประธาน ก.อ. โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ #นักเรียนกฎหมาย 7 กันยายน 2563

พนักงานอัยการ : การกระทำที่อยู่ในข่ายถูกลงโทษไล่ออก

รูปภาพ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 85 บัญญัติให้อำนาจ คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ที่จะมีมติให้ลงโทษไล่ออกพนักงานอัยการได้ ต่อเมื่อกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงใน 8 กรณีดังนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (2) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (4) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (5) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (6) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (7) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (8) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง #นักเรียนกฎหมาย 7 กันยายน 2563

การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัย สำหรับรองอัยการสูงสุด

รูปภาพ
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้วาง  ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับรองอัยการสูงสุด พ.ศ. 2563  โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ในกรณีที่บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน 2. เมื่อมีผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. กล่าวหารองอัยการสูงสุด ว่ากระทำผิดวินัย ให้ ก.อ. พิจารณาดำเนินการสอบสวนชั้นต้น เพื่อให้ได้ความจริงและเป็นธรรมโดยไม่ชักช้า 3. การกล่าวหาในเรื่องต่อไปนี้ ก.อ. อาจไม่ดำเนินการสอบสวนก็ได้     1) กล่าวหาเป็นบัตรสนเท่ห์ ซึ่งไม่มีพยานหลักฐานแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนไม่ชี้พยานบุคคลแน่นอนพอที่จะสอบสวนได้     2) กล่าวหาไม่มีข้อมูล หรือไม่มีสาระเพียงพอให้สอบสวนหาความจริงได้     3) กล่าวหาเรื่องการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ 4. ในกรณีที่ ก.อ. พิจารณาเห็นว่า การกล่าวหานั้นเป็นกรณีที่จะดำเนินการสอบสวนได้ ก.อ. อาจมอบหมายให้กรรมการอัยการคนหนึ่งคนใด หรือข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสไม

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน

รูปภาพ
พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 มาตรา 64/1 บัญญัติให้ คนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  ปัจจุบัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออก กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน พ.ศ. 2563  (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563) กำหนดให้ คนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ 1. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 2. ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาตทำงาน 3. ไม่เป็นผู้เจ็บป่ายด้วยโรค ต่อไปนี้     1) โรคเรื้อนในระยะติดต่อ หรือในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม     2) วัณโรคระยะติดต่อ     3) โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม     4) โรคติดยาเสพติดให้โทษ     5) โรคพิษสุราเรื้อรัง     6) โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 ที่มา  กฎกระทร