บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2022

สาระสำคัญ พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

รูปภาพ
พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เป็นการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน กำหนดมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน หน้าที่และอำนาจของสำนักงานคุ้มครองพยาน และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยานเพื่อให้พยานเกิดความเชื่อมั่น ได้รับความคุ้มครองและได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. พ.ร.บ. ฉบันนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป) 2. แก้ไขบทนิยาม คำว่า "พยาน" จากเดิมหมายความว่า พยานบุคคลซึ่งจะมาให้ หรือได้ให้ข้อเท็จจริง ต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาลในคดีอาญา รวมทั้งผู้ชำนาญการพิเศษ แต่มิให้หมายความรวมถึงจำเลยที่อ้างตนเองเป็นพยาน แก้ไขใหม่ เป็น "พยาน" หมายความว่า บุคคลซึ่งจะมาให้หรือได้ให้ข้อเท็จจริง ต่อพนัก

ฟ้องซ้อนในคดีปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 265/2565)

รูปภาพ
คดีนี้ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องอธิบดีกรมบังคับคดีต่อศาลปกครองกลาง เป็น คดีหมายเลขดำที่ 1321/2564 ขอให้ลงโทษทางวินัยเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับคดีแพ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นอำนาจดุลพินิจในการบริหารงานบุคคลของฝ่ายปกครอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างไร ก็ไม่มีผลโดยตรงที่จะเยียวยาหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำขอที่ศาลปกครองไม่อาจกำหนดคำบังคับให้ได้ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลางดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ข้อ 76 (1) กำหนดว่าเมื่อได้มีการยื่นคำฟ้องในเรื่องใดต่อศาลแล้ว เวลาตั้งแต่ที่มีการยื่นคำฟ้องต่อศาล จนถึงเวลาที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา หรือเวลาที่ได้มีการอ่านผลแห่งคำพิพากษา หรือจนถึงเวลาที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำส

หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2565)

รูปภาพ
พฤติการณ์การผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลาในสัญญาและไม่ครบจำนวนหลายครั้ง  แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้ โจทก์ก็ยอมรับชำระไว้ทุกครั้งโดยไม่ได้ทักท้วง  ย่อมแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาในสัญญาเป็นสาระสำคัญ   กรณีจึงถือว่าเป็นหนี้ไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งถึงกำหนดชำระหนี้โดยพลัน และจะถือว่าลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ต้องเตือนให้ชำระหนี้ก่อน แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง  เมื่อได้ความว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 29 มีนาคม 2562 และวันที่ 1 เมษายน 2562 แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก  โจทก์จึงมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ  โดยจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือในวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในวันที่ 3 สิงหาคม 2562 และต้องรับผิดในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2562 ซึ่งภายหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัด   โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็

ฟ้องบริษัทร้างไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 4864/2564)

รูปภาพ
จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทร้าง ซึ่งนายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้วตามความในมาตรา 1273/3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560  เช่นนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อจำเลยที่ 2 ออกเสียจากทะเบียน ซึ่งเป็นกรณีการถอนทะเบียนบริษัทจำกัดร้าง มิใช่เป็นกรณีที่บริษัทเลิกกันอันให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249   โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 สิ้นสภาพนิติบุคคลแล้ว ดังนั้น ขณะฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสภาพความเป็นนิติบุคคลที่จะให้โจทก์ฟ้องได้  ประกอบกับข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งจดชื่อจำเลยที่ 2 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนเสียก่อนที่จะฟ้องตามมาตรา 1273/4   โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และมาตรา 55 ที่มา  คำพิพากษาฎีกาที่ 4864/2564, ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

แก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 1411/2564)

รูปภาพ
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มีผลใช้บังคับเช่นกฎหมาย  โจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยทราบประกาศนั้นแล้ว จำเลยไม่อาจแก้ตัวว่าไม่ทราบประกาศนั้น อันเป็นการแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 ที่มา คำพิพากษาฎีกาที่ 1411/2564, เนติบัณฑิตยสภา หนังสือคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 ตอนที่ 12 หน้า 3136-3143

คำสั่งไม่รับจดทะเบียนบุตรบุญธรรม แม้เป็นคำสั่งทางปกครอง แต่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.37/2565)

รูปภาพ
คดีนี้เกิดจาก ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับผู้ฟ้องคดีที่ 2 บุตรบุญธรรม แต่ปลัดอำเภอมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เนื่องจากหนังสือเดินทางของผู้ฟ้องคดีที่ 2 เป็นภาษาต่างประเทศ ไม่สามารถตรวจสอบคุณสมบัติได้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดังกล่าว และ ต่อมาได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ ยืนยันคำสั่งไม่อนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เนื่องจากผู้ฟ้องคดีที่ 2 เป็นบุคคลต่างด้าว ถือหนังสือเดินทางเป็นภาษาต่างประเทศ และไม่มีหนังสือรับรองสถานภาพ เพื่อตรวจสอบสถานภาพจากข้อมูลทะเบียนบุคคลต่างด้าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/25 ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้ว โดยปรับใช้กฎหมายดังนี้  พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้..

ข้อสอบกฎหมาย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (21ส.ค.2565)

ข้อสอบกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในการเลือกสรรพนักงานราชการ ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็นปรนัย 80 ข้อ 80 คะแนน และอัตนัย 2 ข้อๆ ละ 10 คะแนน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 - วันที่ พ.ร.บ.ใช้บังคับ - ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. - การตั้ง รวม โอนส่วนราชการ เป็นไปตามกฎหมายใด - การรักษาราชการแทนอธิบดีที่ไม่อยู่ - ยุบกรม ตรากฎหมายใด - เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการประเภทใด พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 - พ.ร.บ.นี้ ตราขึ้นในสมัยใครเป็นนายกรัฐมนตรี - มีทั้งหมดกี่มาตรา - ข้อมูลข่าวสารของราชการคืออะไร - ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. - ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู - "ร้องเรียน" ต่อใคร - "อุทธรณ์" ต่อใคร - ข้อมูลข่าวสารของราชการใดที่ไม่เปิดเผย (มาตรา 15) - อัตราโทษ กรณีไม่จัดส่งเอกสารหลักฐานหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ - หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์เก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการ ต้องส่งมอบให้ใคร - อายุการเก็บข้อมูลข่าวสารของราชการเกี

การลา 11 ประเภท

รูปภาพ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ใช้กับข้าราชการ 4 ประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ  แบ่งการลาออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้ 1. การลาป่วย - ต้องเพื่อรักษาตัว - โดยหลักต้องเสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา (เว้นแต่จำเป็น ให้เสนอใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ) - ถ้าป่วยจนลงชื่อในใบลาไม่ได้ ให้ผู้อื่นลาแทนได้ (แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอใบลาโดยเร็ว) - ลาได้เท่าที่ป่วยจริง - ลาป่วย 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์   (แพทย์ซึ่งขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม)  หรือกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควร ผู้อนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองแพทย์อื่นแทนก็ได้ - ลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ผู้อนุญาตอาจสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ หรือสั่งให้ไปรับการตรวจจากแพทย์ก็ได้ 2. การลาคลอดบุตร - เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา (เว้นแต่ไม่สามารถลงชื่อได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสน

สาระสำคัญ พ.ร.บ.สถิติ พ.ศ. 2550 (ฉบับเตรียมสอบ)

รูปภาพ
1. พระราชบัญญัติสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสถิติฉบับเดิม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2550 โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ 2. พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2550 เป็นต้นไป) และมีผลเป็นการยกเลิก พ.ร.บ.สถิติ พ.ศ. 2508  3. มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 22 มาตรา 4. บทนิยาม   “สถิติ” หมายความว่า ข้อความหรือตัวเลขที่แสดงผล ที่ประมวลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้    (เก็บรวบรวม ==> ประมวลผล ==> แสดงผล)    “การสำรวจ” หมายความว่า การเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เป็นอยู่จริง เพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติ    “สำมะโน” หมายความว่า การสำรวจ โดยการแจงนับจากทุกหน่วย ที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ   “การสำรวจตัวอย่าง” หมายความว่า การสำรวจ โดยการแจงนับ จากหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ เพียงบางหน่วย ที่เลือกเป็นตัวอย่าง    “หน่วยงาน” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (ฉบับเตรียมสอบ)

รูปภาพ
1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 โดยมีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ 2. พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือตั้งแต่ วันที่ 9 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป ) ตรงกับสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี 3. โครงสร้างกฎหมาย แบ่งเป็น 7 หมวด กับ 1 บทเฉพาะกาล (รวม 43 มาตรา) 4. บทนิยาม “ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสาร ที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน “

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) (ฉบับเตรียมสอบ)

รูปภาพ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 71/1 - มาตรา 71/10 บัญญัติเกี่ยวกับ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ ก.พ.ร. เพื่อทำหน้าที่พัฒนาระบบราชการและงานอื่นของรัฐ โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. องค์ประกอบของ ก.พ.ร.   (1) นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน   (2) รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีกำหนด 1 คน เป็นรองประธาน   (3) ผู้ที่  คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มอบหมาย 1 คน เป็นกรรมการ   (4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่ง คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกิน 10 คน เป็นกรรมการ   (5) เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการ 2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ   2.1 ที่มา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนไม่เกิน 10 คน ดังกล่าว มีที่มาจากการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาจากรายชื่อบุคคลที่ได้ับการเสนอ จากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ การเงินการคลัง จิตวิทยาองค์การ และสังคมวิทยา อย่างน้อยด้านละ 1 คน (แต่รวมแล้วไม่เกิน 10 คน)   2.2 ครม. จ

ข้อสอบกฎหมาย กรมเจ้าท่า (7 สิงหาคม 2565)

รูปภาพ
ข้อสอบกฎหมายของกรมเจ้าท่า พนักงานราชการ ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี จังหวัดสมุทรปราการ โดยข้อสอบมีทั้งหมด 2 ชุด ชุดแรก 120 ข้อ 120 คะแนน และชุดที่สอง 60 ข้อ 40 คะแนน (ข้อสอบที่รวบรวมนี้ไม่รวมถึงการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลครับ) พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.นี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด - ใครรักษาการตาม พ.ร.บ. - ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทอำนวยการ มี2ระดับ ต้น สูง (ไม่มีกลาง) - ก.พ.ค. มีวาระกี่ปี - ก.พ.ค. มีอายุไม่เกินกี่ปี - ก.พ.ค. มีหน้าที่อะไร ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2551 - การลามีกี่ประเภท - ลาป่วยตั้งแต่ 30 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์ - ลาคลอดบุตรได้กี่วัน - การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล หมายถึงอะไร - ลาเข้ารับการตรวจเลือก ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง - ลาเข้ารับการตรวจเลือกเสร็จแล้ว ต้องรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานตามปกติภายใน 7 วัน - ลาไปอุปสมบทฯ ต้องลาล่วงหน้ากี่วัน - เมื่อได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทฯ แล้ว ต้องออกเดินทางภายในกี่วัน - ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรได้กี่ว