บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2025

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด (ครั้งที่ 5-6)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด (ครั้งที่ 5-6) อาจารย์วัชระ เนติวาณิชย์ วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2568 ********** หลักเกณฑ์กระทำต่อผู้อื่น (ต่อ) 1. จ้างทำของ จ้างซ่อมรถยนต์ หากรถที่รับจ้างซ่อม ถูกทำละเมิดขณะอยู่ในความครอบครองของผู้รับจ้างซ่อม ผู้รับจ้างย่อมไม่ต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นเจ้าของรถ ม.219 ถือว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ถูกทำละเมิด มิใช่ผู้รับจ้างซ่อม (ผู้รับจ้าง ฟ้องไม่ได้) 2. ฝากทรัพย์ ผู้รับฝากนอกจากมีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้ว ผู้รับฝากยังมีหน้าที่คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ฝากด้วยตามม.657 ทั้งผู้รับฝากยังต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นด้วยตามม.659 , หากมีผู้ทำให้ทรัพย์สินนั้นเสียหายขณะอยู่ในอารักขาของผู้รับฝาก จึงถือว่าเป็นการทำละเมิดต่อผู้รับฝากด้วย (ผู้รับฝากฟ้องได้) 3. ยืมใช้คงรูป เป็นการทำละเมิดต่อผู้ให้ยืม (ผู้ยืม ฟ้องไม่ได้) 4. ผู้เยาว์ นอกจากเป็นการละเมิดต่อผู้เยาว์แล้ว ยังเป็นการทำละเมิดต่อบิดามารดาหรือผู้ปกครองของผู้เยาว์ด้วย เพราะบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีอำนาจและมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามม.1564 , 156...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหุ้นส่วน บริษัท (ครั้งที่ 7)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหุ้นส่วน บริษัท (ครั้งที่ 7) อาจารย์วิรัตน์ วิศิษฏ์วงศกร วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2568 ********** 1. ความรับผิด ต่อบุคคลภายนอก ความรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน ในกิจการที่หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็น ธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วน ม.1050 , 1025 โดยพิจารณาตามสภาพแห่งกิจการ การงานของห้าง และประเพณีทางการค้า -หุ้นส่วนต้องจัดการในนามของห้าง ไม่ว่าจะมีมูลเหตุจูงใจเพราะทุจริต หรือมีอำนาจจัดการหรือไม่ก็ตาม จึงเป็นไปตามหลักกฎหมายปิดปากหุ้นส่วนคนอื่น และหลักลูกหนี้ร่วมตามม.291 เพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริต ไม่ว่าการจัดการนั้นจะก่อให้เกิดมูลหนี้ใดก็ตาม รวมถึงมูลละเมิด 1.1) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน เมื่อห้าง ผิดนัด ชำระหนี้ เจ้าหนี้ของห้างฯ ชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใคคนหนึ่งก็ได้ ม.1070 เว้นแต่ ผู้เป็นหุ้นส่วนพิสูจน์ได้ว่า สินทรัพย์ของห้างยังมีพอที่จะชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับเอาแก่ห้างนั้นไม่เป็นการยาก ซึ่งแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ม.1071 (ต่างกับกรณีค้ำประกัน ม.689 ศาลใช้ดุลพินิจไม่ได้) 1.2) กรณีห้างหุ้นส่วน...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด (ครั้งที่ 7)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด (ครั้งที่ 7) อาจารย์ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม 2568 ********** 1. ผู้รับอาวัล คือบุคคลที่เข้ามาค้ำประกันความรับผิดของลูกหนี้ในตั๋วเงิน -ความรับผิดของผู้รับอาวัล แตกต่างจากผู้ค้ำประกัน โดยผู้ค้ำประกันเปรียบเสมือนลูกหนี้ชั้นสอง สามารถเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ก่อนได้ แต่ผู้รับอาวัลอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้คนอื่น ๆ ในตั๋วเงินตามม.940 , 967 ซึ่งผู้ทรงตั๋วเงินอาจฟ้องเฉพาะผู้รับอาวัลคนเดียวก็ได้ ไม่ฟ้องลูกหนี้คนอื่น ๆ  -ม.938 วรรคสอง บุคคลที่จะเป็นผู้รับอาวัลอาจเป็นบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินนั้นอยู่แล้วก็ได้ 2. วิธีการรับอาวัล (ตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด) 2.1) ม.939 วรรคหนึ่ง "อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วย เขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ"  2.2) ม.939 วรรคสอง " ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล " -ฎ.833/2523 ใช้ถ้อยคำว่า "เป็นอาวัลค้ำประกันผู้สั่งจ...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 7)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 7) อาจารย์ดาราพร ถิระวัฒน์ วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม 2568 ********** 1. ม.216  "ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้ กลายเป็นอันไร้ประโยชน์ แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะ บอกปัด ไม่รับชำระหนี้ และจะ เรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้" 1.1) ลูกหนี้ผิดนัด อาจผิดนัดตามม.204 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง  1.2) โดยเหตุผิดนัดการชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์ คือ ระยะเวลาเป็นสาระสำคัญ เช่น สั่งเค้กวันเกิด  1.3) เกิดความเสียหาย -ถ้าเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ เจ้าหนี้ยังต้องรับชำระหนี้ บอกปัดไม่รับชำระหนี้ไม่ได้ เพราะการชำระหนี้ไม่ไร้ประโยชน์ แต่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนม.215 1.4) เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ -ความเกี่ยวโยงระหว่างม.216 บอกปัดไม่รับชำระหนี้ อาจไม่ถึงกับบอกเลิกสัญญา การเรียกค่าเสียหายยังมีฐานมาจากสัญญาที่ยังอยู่ (ฝ่ายลูกหนี้มีภาระการพิสูจน์) ส่วนม.388 และม.391 วรรคสี่ เป็นการบอกเลิกสัญญา (ฝ่ายที่บอกเลิกสัญญามีภาระการพิสูจน์ความเสียหาย) 2. ม.217  "ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบใน...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ครั้งที่ 4-5)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ครั้งที่ 4-5) อาจารย์วิวัฒน์ ว่องวิวัฒน์ไวทยะ วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน 2568 ********** 1. สัญญาค้ำประกัน  -ม.680  "อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น   อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" -เป็นการประกันหนี้ในลักษณะบุคคลสิทธิ -เป็นสัญญาอุปกรณ์ที่ต้องมีสัญญาประธาน -ลูกหนี้ในสัญญาประธานจะเป็นผู้ค้ำประกันอีกฐานะหนึ่งไม่ได้ (แต่เรื่องจำนอง ผู้จำนองเป็นได้ทั้งลูกหนี้ในสัญญาประธาน และผู้จำนอง) -สัญญาประธาน จะเป็นสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่า หรือสัญญาอะไรก็ได้ ไม่ได้มีเฉพาะสัญญากู้ยืมเงิน -หนี้ตามสัญญาอุปกรณ์ รับผิดไม่เกินหนี้ตามสัญญาประธาน -ฎ.8712/2556 จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดต่อโจทก์ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงไปกว่าที่ลูกหนี้ชั้นต้นจะต้องชำระ -ฎ.14592/2558 เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้น ไม่ต้...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ครั้งที่ 6-7)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ครั้งที่ 6-7) อาจารย์ชัชชม อรรฆภิญญ์ วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม 2568 ********** 1. วันนี้เป็นการบรรยายกฎหมายสิทธิบัตรครั้งแรกจากทั้งหมด 5 ครั้ง 2. สิทธิบัตร (patent) คือ หนังสือสำคัญที่ (รัฐ-กรมทรัพย์สินทางปัญญา) ออกให้ เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (ตามที่กำหนดในหมวด 2 และหมวด 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 -ขอบข่ายของสิทธิบัตรมีอยู่ 2 เรื่อง คือ การประดิษฐ์ กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ -เครื่องหมายการค้า  (trademark) กับลิขสิทธิ์ (copyright)  มีสิทธิได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน , แต่สิทธิบัตร (patent) ต้องจดทะเบียนจึงจะได้รับสิทธิได้รับความคุ้มครอง 3. สิทธิบัตร แบ่งออก 3 ประเภทใหญ่ ๆ 3.1) สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับแต่ วันขอ รับสิทธิบัตร ( อันนี้แปลก ต้องจำ) ตาม ม.35 -ลักษณะของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 3 ประการ ตาม ม.5 คือ เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (ม.6) มีขั้นประดิษฐ์ที่สูงขึ้น สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้  3.2) อนุสิทธิบัตร มีกำหนด 6 ปี ต่ออายุได้อีก 2 ครั้ง ๆ ละ 2 ปี ตาม ม.65 สัตต -ไม่จำเป็น...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ครั้งที่ 5)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ครั้งที่ 5) อาจารย์ตุล เมฆยงค์ วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 ********** 1. วันนี้เป็นการบรรยายกฎหมายเครื่องหมายการค้าครั้งสุดท้าย นักศึกษาต้องทำความเข้าใจ กฎหมายเครื่องหมายการค้าคุ้มครองอะไร คุ้มครองสิทธิ สิทธิเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดโดยการจดทะเบียนกับไม่จดทะเบียน แต่ระดับของสิทธิแตกต่างกัน เครื่องหมายการค้าใดจดทะเบียนได้ ภายใต้เงื่อนไขใด 2. สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน -เป็นการจดทะเบียนในประเทศไทย ถ้าจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ต่างประเทศ ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย แม้จะมีสินค้าขายในประเทศไทย ก็ไม่ได้ถือเป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในประเทศไทย 2.1)  มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนนั้น สำหรับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ ม.44 หากมีสินค้าเพิ่มขึ้นหรือขยายแบรนด์ แต่สินค้าใหม่ไม่ได้จดทะเบียน ก็ไม่อยู่ในฐานะเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน -สิทธิแต่ผู้เดียวนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะตัวเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น  แต่ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าที่ คล้ายกันถึงขนาด ที่เมื่อนำไปใช้แล...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ครั้งที่ 3-4)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ครั้งที่ 3-4) อาจารย์ตุล เมฆยงค์ วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2568 ********** 1. ข้อสอบวิชานี้ ถ้าออกกฎหมายฉบับเดียว ก็จะมีรายละเอียดมากเป็นธรรมดา แต่ถ้าออกกฎหมายสองฉบับ ก็จะถามเรื่องพื้นฐาน 2. เครื่องหมายการค้า ปกติก็จะถามว่าจดทะเบียนได้หรือไม่ และเป็นการละเมิดหรือไม่ 3. อาจารย์ทบทวนครั้งที่แล้ว -ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่พึงรับจดทะเบียน ม.6  -ถ้าจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ก็จะได้สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายนั้นม.44 (มีสิทธิมากกว่าเครื่องหมายการค้าที่ได้มาโดยการใช้ซึ่งไม่จดทะเบียน) -ม.6(1)+ม.7 -ม.6(2)+ม.8 -ม.6(3)+ม.13 -เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ม.7(1) , (2) , (3) 4. ม.7(4) ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น คือ การเรียงลำดับตัวหนังสือหรือตัวเลข ไม่ใช่การออกแบบตัวหนังสือ (font) หรือการแรเงา หรือลวดลายของตัวหนังสือและตัวเลข  5. ม.7(5) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ เช่น เห็นแล้วรู้ว่าเป็น google chrome  6. ม.7(6) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อข...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายนิติกรรม สัญญา (ครั้งที่ 6)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายนิติกรรม สัญญา (ครั้งที่ 6) อาจารย์นรินทร ตั้งศรีไพโรจน์ วันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2568 ********** 1. วันนี้อาจารย์จะทบทวน เรื่องนิติกรรมอำพราง ไม่ได้ออกข้อสอบนานแล้ว นักศึกษาต้องให้ความสำคัญด้วย -ลักษณะสำคัญของนิติกรรมอำพราง 3 ประการ คือ คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้น 2 นิติกรรม ถ้าเจอข้อสอบมีหลายนิติกรรม อาจจะเข้าข่ายเรื่องนี้ ปัญหาคือต้องดูให้ดีว่ามีกี่นิติกรรม , นิติกรรมที่ปรากฏออกมาคู่กรณีประสงค์จะให้ นิติกรรมอำพราง นั้นไม่มีผลบังคับระหว่างกันเอง  และนิติกรรมที่ถูกปกปิดมิได้แสดงให้ปรากฏ คู่กรณีประสงค์จะให้ นิติกรรมที่ถูกอำพราง นั้นมีผลบังคับระหว่างกันเอง   2. ครั้งที่แล้ว อาจารย์ยกตัวอย่าง ฎ.5792/2558  (ฎ.5057/2558)  น่าสนใจ ขอให้นักศึกษาอ่าน จะเข้าใจหลักเรื่องนิติกรรมอำพรางได้ถ่องแท้  ฎีกาเดียวได้หลายวิชา ไม่ออกข้อสอบเนติ ก็ต้องออกผู้ช่วย ไม่วันใดก็วันหนึ่ง -ตอบข้อสอบบางครั้ง ลอกฎีกามาโดยไม่ใส่เหตุผล จะไม่ได้คะแนน ต้องให้เหตุผลด้วย  3. นอกจากนี้มีฎีกาอีก 2 ฎีกา ที่ต้องให้ความสำคัญ คือ ฎ.10834/2556 , 6881/2560 -ฎ.108...