กฎหมายใหม่ เดือนเมษายน 2564

1.พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564


หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่อัตราดอกเบี้ยที่มิได้กำหนดโดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง และอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน โดยมิได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจ ทำให้ลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อนจากภาระดอกเบี้ยเกินสมควร สมควรปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยและกำหนดวิธีการในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้เหมาะสม ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้ประชาชนจำนวนมากมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงเป็นภาระอย่างมากต่อลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งประชาชนทั่วไป และก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ สมควรที่รัฐจะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ดังกล่าวโดยด่วน จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษษความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ




หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ส่งผลให้ความเสี่ยงด้านเครดิตในระบบการเงินของประเทศปรับสูงขึ้นมาก แม้ในช่วงที่ผ่านมาภาครัฐจะดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว และต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางการเงินเพื่อสร้างสภาพคล่องเพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ให้สอดคล้องกับวัฏจักรการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงมีมาตรการลดภาระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจโอนทรัพย์สินชำระหนี้แก่สถาบันการเงินโดยมีเงื่อนไขซื้อคืนในราคาที่โอนไป และมีสิทธิเช่าทรัพย์สินนั้นกลับไปใช้ประกอบธุรกิจ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะขาดสภาพคล่องหรือผิดนัดชำระหนี้ อันจะส่งผลต่อฐานะทางการเงินของสถาบันการเงิน และต่อเสถียรภาพทางการเงิน และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง การดำเนินมาตรการดังกล่าว จึงต้องกระทำโดยเร่งด่วน เพื่อป้องกันมิให้ปัญหาลุกลามบานปลาย จึงเข้าลักษณะเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ


***ต่อมาในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม 2564 ที่ประชุมได้พิจารณาและอนุมัติพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว และในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมได้พิจารณาและอนุมัติพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับ เช่นเดียวกัน ส่งผลให้พระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว มีผลใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติต่อไป ตามมาตรา 172 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย***


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)