สรุปสาระสำคัญ วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (ครั้งที่ 1)


สรุปสาระสำคัญ 
วิชา LAW1004 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป 
(ครั้งที่ 1 :: วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561
บรรยายโดยท่านอาจารย์ ดร. พรพรหม อินทรัมพรรย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิชานี้ข้อสอบแบบปรนัย 120 ข้อๆ ละ 1 คะแนน (สำหรับนักศึกษาคณะอื่น ห้ามนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ลงทะเบียนเรียน)
1. บุคคลมี 2 ประเภท คือ 
    1.1 บุคคลธรรมดา (หรือเรียกง่ายๆ ว่ามนุษย์) และ 
    1.2 นิติบุคคล (กฎหมายสมมติขึ้นมาให้มีสิทธิหน้าที่เท่าที่บุคคลธรรมดาจะพึงมีได้) สิทธิบางอย่างทำไม่ได้ เช่น การจดทะเบียนสมรส หรือการรับรองบุตร

2. บุคคลธรรมดา การเริ่มต้นสภาพบุคคล มีผลทางกฎหมายอย่างมาก***
    2.1 ป.พ.พ. มาตรา 15 วรรคหนึ่ง "สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย"
    2.2 การคลอด เป็นได้ทั้งคลอดตามธรรมชาติและการผ่าคลอด โดยทารกจะต้องหลุดพ้นออกมาทั้งร่างกาย ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดติดค้างอยู่ในครรภ์มารดา ยกเว้นสายสะดือ แม้ยังไม่ตัดสายสะดือ ก็ถือว่าคลอดแล้ว
    2.3 อยู่รอดเป็นทารก คือ มีการเต้นหัวใจ หรือ ส่งเสียงร้อง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย
    2.4 การแท้งลูกในครรภ์ คือ ยังไม่มีสภาพบุคคล เพราะแท้งตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แม้หมอจะทำคลอดเอาออกมา เพื่อรักษาผู้เป็นแม่ ก็ไม่ทำให้เด็กที่แท้งมีสภาพบุคคลแต่อย่างใด
    2.5 มีความสำคัญ เชื่อมโยงกับกฎหมายมรดก
    2.6 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2487 สิทธิ คือ ประโยชน์ที่ได้รับรองและคุ้มครองตามกฎหมาย

3. บุคคลจะมีสิทธิและหน้าที่
    3.1 สิทธิ จะใช้หรือไม่ใช้สิทธิ ก็ได้ เช่น มาตรา 1604 สิทธิในการรับมรดก , มาตรา 443 วรรคสาม สิทธิในการได้รับค่าสินไหมทดแทนในการขาดไร้อุปการะ
    3.2 แต่หน้าที่ ต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามอาจมีความรับผิดขึ้นได้

4. การนับวันเกิด
    4.1 การนับวันเกิด ทำให้รู้อายุของบุคคล และมีผลทางกฎหมายอย่างมาก*** 
    เช่น การจดทะเบียนสมรสเมื่ออายุ 17 ปีบริบูรณ์ , หรือการทำผิดทางอาญาของบุคคลในช่วงอายุต่างๆ จะมีความรับผิดต่างกัน เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่ต้องรับโทษ หรืออายุกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี ให้ใช้วิธีการสำหรับเด็ก (เช่น เข้าสถานพินิจ)
    4.2 กรณีไม่รู้วัน แต่รู้เดือนและปี ให้นับวันที่ 1 ของเดือนนั้น เป็นวันเกิด
    4.3 กรณีไม่รู้วันและเดือน แต่รู้ปี ให้นับวันต้นปีปฏิทิน เป็นวันเกิด ของไทยปีปฏิทินมี 2 ระยะ คือ
          - ถ้าเกิดก่อน 18 ตุลาคม 2483 ให้ถือว่าวันที่ 1 เมษายน เป็นวันเกิด
          - ถ้าเกิดตั้งแต่ 18 ตุลาคม 2483 เป็นต้นไป ให้ถือว่าวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเกิด
    4.4 กรณีไม่รู้วัน เดือนและปีเกิด มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489-490/2464 ให้พิจารณารูปร่าง หน้าตา ลักษณะ สอบถามบุคคลใกล้เคียง    

5. การสิ้นสภาพบุคคล 
    สภาพบุคคลสิ้นสุดลงเมื่อตาย ซึ่งการตายมี 2 ประเภท คือ
    5.1 การตายโดยธรรมชาติ/การตายธรรมดา สมอง หัวใจ และปอด อวัยวะทั้ง 3 ส่วน หยุดการทำงาน ไม่สามารถกลับมาทำงานได้อีก
    5.2 การตายโดยผลของกฎหมาย/การสาบสูญ มาตรา 61 แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 
          กรณีปกติ 5 ปี และ กรณีพิเศษ 2 ปี
          ซึ่งทั้ง 2 กรณี จะต้องให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญด้วย โดยมีผลเป็นการตายตั้งแต่วันแรก หลังจากที่ครบระยะเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี ไม่ใช่นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 62)
         - การถอนคำสั่งการสาบสูญ มี 2 กรณี ตามมาตรา 63 คือ
           บุคคลที่สาบสูญยังคงมีชีวิตอยู่
           บุคคลที่สาบสูญนั้นได้ตายในเวลาอื่น ผิดไปจากเวลาที่ได้ระบุไว้ในคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
         - ผู้ที่อาจร้องขอต่อศาล เพื่อให้เพิกถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญ ได้แก่
           บุคคลที่สาบสูญ
           พนักงานอัยการ หรือ
           ผู้มีส่วนได้เสีย
         - ผลของการถอนคำสั่งสาบสูญ ตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย และมาตรา 63 วรรคสอง
           ไม่กระทบกระเทืองถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลายอันได้ทำโดยสุจริตที่ได้กระทำในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งสาบสูญไปจนถึงเวลาที่ศาลถอนคำสั่ง
           การคืนทรัพย์สินที่ได้มา ให้นำกฎหมายเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
    5.3 กรณีไม่ทราบวันตายแน่นอน มาตรา 17 (บทสันนิษฐาน) มีหลักเกณฑ์ 3 ข้อ
          - บุคคลหลายคนตายในภยันตรายเดียวกัน 
          - ไม่รู้ว่าบุคคลใดตายก่อนหลัง
          - กฎหมายให้สันนิษฐานว่า ตายพร้อมกัน แต่หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแล้ว ก็สามารถนำสืบได้
    มีผลต่อการรับมรดก*** (ตายพร้อมกัน อดรับมรดก)

6. สิ่งที่ได้แก่สภาพบุคคล
    6.1 สัญชาติ
          - การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
            หลักดินแดน (มีข้อยกเว้นจำนวนมาก)
            หลักสืบสายโลหิต
          - การได้สัญชาติไทยหลังการเกิด
            ผลจากการสมรส
            ผลจากการขอแปลงสัญชาติ
            ผลจากการขอคืนสัญชาติ
    6.2 ชื่อบุคคล ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล 2505
          - ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัว
          - ชื่อรอง คือ ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว
          - ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล ชื่อสกุลต้องไม่พ้อนหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยหรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตน ของบุพการี หรือของผู้สืบสันดาน และต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย มีพยัญชนะไม่เกินกว่า 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
          การคุ้มครองชื่อบุคคลตามกฎหมายแพ่งว่าด้วยเรื่องบุคคล มาตรา 18 ให้ความคุ้มครองไปถึง "นามปากกา" หรือ "ฉายา" ซึ่งต้องเป็นที่รู้กันว่าหมายถึงใคร เช่น ชัช เตาปูน สามารถนำไปฟ้องศาลสั่งให้ห้ามใช้ หรือหากได้รับความเสียหายที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ก็สามารถเรียกร้องได้
    6.3 ภูมิลำเนา แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
          - ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา โดยทั่วไปบุคคลมีสิทธิกำหนดภูมิลำเนาของตนเองได้ ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
          ภูมิลำเนา คือ ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ เป็นหลักแหล่ง มีลักษณะถาวร คือ เป็นที่อยู่โดยไม่จำกัดระยะเวลาแน่นอน แต่ไม่จำเป็นว่าสถานที่อยู่อาศัยนั้น จะเป็นของบุคคลที่อยู่อาศัยนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ ไม่จำกัดว่าจะต้องมีเนื้อที่กว้างแคบเพียงใด หรือจะอยู่อาศัยในที่นั้นลำพังคนเดียวหรือหลายคนรวมกัน ขอให้เป็นที่อยู่ประจำของบุคคลตามข้อเท็จจริง เป็นอันใช้ได้
          มาตรา 38 บุคคลอาจมีภูมิลำเนาได้หลายแห่ง ถ้าอยู่สับเปลี่ยนกันไปหลายแห่ง แต่ใช้ลักษณะถาวร ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนา
          มาตรา 39 ภูมิลำเนาของบุคคลที่ไม่ปรากฏที่อยู่ ให้ถือว่า ถิ่นที่อยู่เป็นภูมิลำเนา
          มาตรา 40 ภูมิลำเนาของผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ ไม่มีที่อยู่เป็นปกติเป็นหลักแหล่ง หรือครองชีพในการเดินทาง พบตัวในถิ่นไหน ให้ถือว่าถิ่นที่พบเจอตัวเป็นภูมิลำเนา
          มาตรา 41 การเปลี่ยนภูมิลำเนา เปลี่ยนได้ด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่ พร้อมเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา
          มาตรา 42 ภูมิลำเนาเฉพาะการ เปิดโอกาสให้บุคคลเลือกภูมิลำเนา เพื่อทำการอันใดอันหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของบุคคลนั้นเอง กฎหมายยอมให้ถือเป็นภูมิลำเนาเฉพาะแต่สำหรับกิจการที่ได้เลือกภูมิลำเนาเฉพาะการเท่านั้น สำหรับกิจการอื่นๆ ก็ยังคงต้องถือตามภูมิลำเนาทั่วไป อันเป็นภูมิลำเนาที่แท้จริง
          - ภูมิที่กฎหมายกำหนดให้
          มาตรา 43 ภูมิลำเนาของสามีและภริยา เป็นการกำหนดภูมิลำเนาของสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรส ได้แก่ ถิ่นที่อยู่ที่สามีและภริยาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ยกเว้นได้แสดงเจตนาแยกภูมิลำเนาจากกัน
          มาตรา 44 ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม 
          มาตรา 45 ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล เนื่องจากคนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล และผู้อนุบาลย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินแทนคนไร้ความสามารถ กฎหมายจึงกำหนดให้มีภูมิลำเนาเดียวกับผู้อนุบาล จนกว่าจะพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ
          มาตรา 46 ภูมิลำเนาของข้าราชการ ได้แก่ ถิ่นอันเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ โดยไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่ชั่วคราวชั่วระยะเวลาหรือเพียงแต่งตั้งไปเฉพาะการครั้งเดียวคราวเดียว
          มาตรา 47 ภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่ จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว 

7. ความสามารถ
    ความสามารถในการทำนิติกรรม
    บุคคลผู้หย่อนความสามารถ มี 3 ประเภท
    7.1 ผู้เยาว์
    7.2 คนไร้ความสามารถ
    7.3 คนเสมือนไร้ความสามารถ


#นักเรียนกฎหมาย
11 ธันวาคม 2561

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)