แนวปฏิบัติของกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการฟ้องคดีตามสัญญาทางปกครอง
กระทรวงการคลังกำหนดให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ เกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตามสัญญาทางปกครอง ดังนี้
1. เมื่อคู่สัญญาหรือคู่กรณีตามสัญญาทางปกครอง จะทำผิดหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขของสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐเกิดสิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งอย่างใด ให้หน่วยงานของรัฐแห่งนั้น รีบดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้องให้คู่สัญญาหรือคู่กรณี ดำเนินการจัดการแก้ไขให้เป็นไปตามสัญญา หรือชดใช้ความเสียหายให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นโดยเร็ว อย่างช้าไม่ควรเกิน 30 วัน นับแต่วันที่มีการกระทำผิดหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขตามสัญญาดังกล่าว
1. เมื่อคู่สัญญาหรือคู่กรณีตามสัญญาทางปกครอง จะทำผิดหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขของสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐเกิดสิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งอย่างใด ให้หน่วยงานของรัฐแห่งนั้น รีบดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้องให้คู่สัญญาหรือคู่กรณี ดำเนินการจัดการแก้ไขให้เป็นไปตามสัญญา หรือชดใช้ความเสียหายให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นโดยเร็ว อย่างช้าไม่ควรเกิน 30 วัน นับแต่วันที่มีการกระทำผิดหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขตามสัญญาดังกล่าว
หากคู่สัญญาหรือคู่กรณีปฏิเสธ บิดพลิ้ว หรือไม่รีบจัดการแก้ไขหรือชดใช้ความเสียหายตามสัญญาให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้จัดการแก้ไขหรือชดใช้ความเสียหาย ไม่ว่าด้วยเหตุหรือกรณีใด ให้หน่วยงานของรัฐนำข้อพิพาทตามสัญญาทางปกครองนั้น ฟ้องต่อศาลปกครองอย่างช้าไม่ควรเกิน 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาที่ให้คู่สัญญาหรือคู่กรณีจัดการแก้ไขหรือชดใช้ความเสียหาย อย่างไรก็ดี ทั้งนี้รวมแล้วไม่ควรเกิน 90 วัน
2. การนำข้อพิพาททางปกครองฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีปกครอง ถือหลักวิธีพิจารณาอย่างเรียบง่ายและไม่ต้องมีทนาย โดยมีขั้นตอนดำเนินการกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่ศาลปกครองคอยให้คำแนะนำแก่ผู้ประสงค์จะฟ้องคดี จึงได้รับความสะดวกและไม่ยุ่งยากที่บุคคลทั่วไปจะไปใช้สิทธิฟ้องคดีปกครอง ประกอบกับวิธีพิจารณาคดีปกครองใช้ระบบไต่สวนโดยตุลาการศาลปกครองจะทำหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดก่อนมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลปกครองหรือผลของคดีปกครอง จึงไม่จำต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและเทคนิคของผู้ว่าคดี (ทนายความ) แต่ประการใด ฉะนั้น เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินคดี และป้องกันมิให้เกิดเหตุการฟ้องคดีขาดอายุความอีกทางหนึ่ง หากหน่วยงานของรัฐมิได้มีเหตุจำเป็นพิเศษใดแล้ว สมควรที่จะดำเนินคดีปกครองด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินคดี และมีให้เป็นการเพิ่มภาระแก่สำนักงานอัยการสูงสุดโดยไม่จำเป็น
3.สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิเรียกร้องไม่ทันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นเหตุให้คดีขาดอายุความทำให้ทางราชการได้รับความเสียหายนั้น กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าการใช้สิทธิเรียกร้องไม่ทันและเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น จึงให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อพิจารณาหาตัวเจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชำระตามนัยข้อ 8 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ต่อไป
ที่มา หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.7/ว 21 ลงวันที่ 23 เมษายน 2550 เรื่อง กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
2. การนำข้อพิพาททางปกครองฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีปกครอง ถือหลักวิธีพิจารณาอย่างเรียบง่ายและไม่ต้องมีทนาย โดยมีขั้นตอนดำเนินการกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่ศาลปกครองคอยให้คำแนะนำแก่ผู้ประสงค์จะฟ้องคดี จึงได้รับความสะดวกและไม่ยุ่งยากที่บุคคลทั่วไปจะไปใช้สิทธิฟ้องคดีปกครอง ประกอบกับวิธีพิจารณาคดีปกครองใช้ระบบไต่สวนโดยตุลาการศาลปกครองจะทำหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดก่อนมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลปกครองหรือผลของคดีปกครอง จึงไม่จำต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและเทคนิคของผู้ว่าคดี (ทนายความ) แต่ประการใด ฉะนั้น เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินคดี และป้องกันมิให้เกิดเหตุการฟ้องคดีขาดอายุความอีกทางหนึ่ง หากหน่วยงานของรัฐมิได้มีเหตุจำเป็นพิเศษใดแล้ว สมควรที่จะดำเนินคดีปกครองด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินคดี และมีให้เป็นการเพิ่มภาระแก่สำนักงานอัยการสูงสุดโดยไม่จำเป็น
3.สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิเรียกร้องไม่ทันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นเหตุให้คดีขาดอายุความทำให้ทางราชการได้รับความเสียหายนั้น กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าการใช้สิทธิเรียกร้องไม่ทันและเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น จึงให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อพิจารณาหาตัวเจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชำระตามนัยข้อ 8 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ต่อไป
ที่มา หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.7/ว 21 ลงวันที่ 23 เมษายน 2550 เรื่อง กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น