คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ


          คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งที่ 3/2561 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ



          วันนี้ (15 สิงหาคม 2561) ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2561 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินการในเรื่องการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาระสำคัญดังนี้



          1. แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วย
              1.1 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ     ประธานกรรมการ
              1.2 พลเอก ฉัตรชัย  สาริกัลยะ     รองประธานกรรมการ
              1.3 หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช.     กรรมการ
              1.4 พลเอก เฉลิมชัย  สิทธิสาท     กรรมการ
              1.5 พลเรือเอก นริส  ประทุมสุวรรณ     กรรมการ
              1.6 พลอากาศเอก จอม  รุ่งสว่าง     กรรมการ
              1.7 นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์     กรรมการ
              1.8 นายประมนต์  สุธีวงศ์     กรรมการ
              1.9 นายถวิล  เปลี่ยนศรี     กรรมการ
              1.10 รองศาสตราจารย์ จุรี  วิจิตรวาทการ     กรรมการ
              1.11 รองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล  ยมนาค     กรรมการ
              1.12 นางสาววลัยรัตน์  ศรีอรุณ     กรรมการ
              1.13 นายวิชัย  อัศรัสกร     กรรมการ
              1.14 นายประสาร  ไตรรัตน์วรกุล     กรรมการ
              1.15 นายประยงค์  ปรียาจิตต์     กรรมการ
              1.16 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ     กรรมการ/เลขานุการ
              1.17 เสนาธิการทหารบก/ผู้ช่วยเลขาธิการ คสช.      กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ

          2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
             2.1 จัดทำแนวทางและมาตรการในการบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างและประสานความร่วมมือในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และเสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
             2.2 ประาน เร่งรัด ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และอยู่ภายใต้กรอบธรรมาภิบาล
             2.3 ติดตาม ประสานงาน และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในส่วนของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ คณะกรรมการตามกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนในการต่อต้าน ป้องกัน และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
             2.4 จัดทำผลการดำเนินการและเสนอแนะความเห็นหรือกลไกในการดำเนินการที่จำเป็นในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน
             2.5 ในกรณีที่เห็นสมควรอาจเสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อปรึกษาหารือหรือพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของการป้องกันและขจัดการทุจริตแะลประพฤติมิชอบเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
             2.6 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานตามความจำเป็น
             2.7 เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะความเห็นหรือคำแนะนำทางวิชาการ ตลอดจนขอให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
             2.8 ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

#นักเรียนกฎหมาย
15 สิงหาคม 2561


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 5)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)