แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (44 ข้อ)


ข้อ 1 บุคคลใด ถือเป็นผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
ก. ตาดำแก่ชราสุขภาพไม่ดี จึงไม่ได้ประกอบอาชีพ
ข. ยายขาวประกอบอาชีพจักรสานของที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยว
ค. นายแดงอดีตข้าราชการพลเรือนสามัญ ทำสวนทุเรียนหลังจากเกษียณอายุราชการตามกฎหมายแล้ว
ง. ทั้งสามคน ถือเป็นผู้สูงอายุตามกฎหมายนี้

ข้อ 2 ตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 คือข้อใด
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ค. อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ง. อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ

ข้อ 3 "คณะกรรมการ" ที่บัญญัติในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 หมายถึงใคร
ก. คณะกรรมการนโยบายผู้สูงอายุแห่งชาติ
ข. คณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ
ค. คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ
ง. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ

ข้อ 4 ข้อใด สอดคล้องกับการเป็นผู้สูงอายุตามกฎหมาย
ก. อายุ 60 ปี และมีสัญชาติไทย
ข. อายุ 60 ปี มีสัญชาติไทยและเชื้อชาติไทย
ค. อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทย
ง. อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ มีสัญชาติไทยและเชื้อชาติไทย

ข้อ 5 กผส. มีตำแหน่งรองประธานกรรมการจำนวนเท่าใด
ก. 1 คน
ข. 2 คน
ค. 3 คน
ง. ไม่มี

ข้อ 6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีบทบาทหน้าที่ในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามข้อใด
ก. เป็นประธานกรรมการ
ข. กำหนดระเบียบการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองุทนผู้สูงอายุ
ค. เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง
ง. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ

ข้อ 7 พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันใด
ก. 13 เมษายน 2546 (วันผู้สูงอายุแห่งชาติ)
ข. 1 ตุลาคม 2546 (วันผู้สูงอายุสากล)
ค. 14 เมษายน 2546 (วันครอบครัวแห่งชาติ)
ง. 1 มกราคม 2547 (วันขึ้นปีใหม่)

ข้อ 8 ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติไว้เท่าใด
ก. 13 คน
ข. ไม่เกิน 15 คน
ค. 17 คน
ง. ไม่เกิน 26 คน

ข้อ 9 ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการใน กผส. มีกี่คน
ก. 1
ข. 2 
ค. 3
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 10 ผู้ใดมีหน้าที่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. คณะรัฐมนตรี
ง. นายกรัฐมนตรี

ข้อ 11 ข้อใดไม่สอดคล้องกับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ก. คราวละ 4 ปี
ข. อาจเป็นได้หลายวาระ
ค. ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
ง. คราวละ 3 ปี

ข้อ 12 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ยกเว้นข้อใด
ก. เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
ข. เป็นความผิดลหุโทษ
ค. กระทำโดยเจตนา
ง. ไม่มีข้อใดถูก

ข้อ 13 ตามกฎหมาย กำหนดการประชุมของ กผส. ข้อใดถูกต้อง
ก. ต้องประชุมทุกปี อย่างน้อยปีละครั้ง
ข. ประชุมตามความเหมาะสมและจำเป็น ปีใดไม่มีสถานการณ์ผู้สูงอายุจะไม่ประชุมก็ได้
ค. ประชุมไตรมาสละหนึ่งครั้ง
ง. ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี

ข้อ 14 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจ ยกเว้นข้อใด
ก. พิจารณาสนับสนุกิจกรรมของภาคเอกชนเกี่ยวกับการสงเคราะห์และพัฒนาผู้สูงอายุ
ข. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ
ค. กำหนดระเบียบการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ
ง. พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อส่งเสริมการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ

ข้อ 15 ระเบียบเกี่ยวกับการบริหารกองทุน การจัดหาประโยชน์และการจัดการกองทุนผู้สูงอายุ ผู้ใดมีอำนาจหน้าที่กำหนดระเบียบดังกล่าว : และจะต้องผ่านความเห็นชอบจากใคร
ก. คณะกรรมการบริหารกองทุน : คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ข. กองทุนผู้สูงอายุ : คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ค. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ง. คณะกรรมการผุ้สูงอายุแห่งชาติ : กระทรวงการคลัง

ข้อ 16 "รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุ" ข้อใดไม่สอดคล้อง
ก. เสนอโดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ข. จัดทำรายงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ค. กรมกิจการผู้สูงอายุอนุมัติผลรายงาน
ง. รายงานต่อ ครม.

ข้อ 17 พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 ได้ปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งผลให้สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ ซึ่งรับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของ กผส. เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใด 
ก. สำนักคุ้มครองผู้สูงอายุ
ข. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพผู้สูงอายุ
ค. กรมกิจการผู้สูงอายุ
ง. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ

ข้อ 18 ข้อใดอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ หรือกรมกิจการผู้สูงอายุในปัจจุบัน
ก. กำหนดนโยบายและแผนหลักเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุน สถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุ
ข. กำหนดแนวทางปฏิบัติตามนโยบายและแผนหลักเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุน สถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุ
ค. จัดทำแนวทางปฏิบัติตามนโยบายและแผนหลักเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุน สถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุ
ง. จัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ

ข้อ 19 ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนในด้านต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
ก. ได้รับการฝึกอาชีพที่เหมาะสม
ข. ได้รับการช่วยเหลือค่าโดยสาร
ค. ได้รับการสงเคราะห์ในการจัดการศพ
ง. ไม่มีข้อใดถูก

ข้อ 20 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ
ก. รายเดือน
ข. ทั่วถึง
ค. เป็นธรรม
ง. เหมาะสม

ข้อ 21 ข้อใดสอดคล้องกับการสงเคราะห์ในการจัดการศพของผู้สูงอายุ 
ก. ตามความจำเป็น
ข. ตามความเหมาะสม
ค. ตามค่านิยม
ง. ตามประเพณี

ข้อ 22 เงินหรือทรัพย์สินของกองทุนผู้สูงอายุ คือข้อใด
ก. เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ข. ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค
ค. เงินอุดหนุนจากองค์การระหว่างประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 23 ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนผู้สูงอายุ จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่ต้อง เพราะดอกผลไม่ใช่รายได้ตามกฎหมาย
ข. ไม่ต้อง เพราะกฎหมายบัญญัติให้ยกเว้น
ค. ต้อง เพราะถือเป็นรายได้ประเภทหนึ่ง
ง. ต้อง เพราะไม่ได้รับการยกเว้นตามประมวลรัษฎากร

ข้อ 24 "เงินบำรุงกองทุน" มีที่มาจากกฎหมายฉบับใด
ก. พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
ข. พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ค. พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ง. พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564

ข้อ 25 หน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุนผู้สูงอายุ ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. กรมศุลกากร
ข. กรมสรรพสามิต
ค. กรมสรรพากร
ง. ข้อ ก. และ ข.

ข้อ 26 เงินบำรุงกองทุน ไม่ได้เก็บจากสินค้าใด
ก. สุรา
ข. น้ำตาล 
ค. ยาสูบ
ง. ข้อ ก. และ ค.

ข้อ 27 เงินบำรุงกองทุน เรียกเก็บในอัตราเท่าใด
ก. ร้อยละ 0.5
ข. ร้อยละ 1
ค. ร้อยละ 1.5
ง. ร้อยละ 2

ข้อ 28 การปัดเศษสตางค์ทิ้งในขั้นตอนการคำนวณเงินบำรุงกองทุน จะกระทำได้ในกรณีใด
ก. มีเศษไม่เกิน 50 สตางค์
ข. มีเศษของ 1 สตางค์
ค. มีเศษไม่ถึง 25 สตางค์
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 29 เงินบำรุงกองทุนส่วนที่เกินจะต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน คือจำนวนใด
ก. เกิน 4,000,000,000 บาท
ข. เกิน 1,000,000,000 บาท
ค. เกิน 10,000,000 บาท
ง. เกิน 40,000,000 บาท

ข้อ 30 จากข้อ 29 ผู้มีหน้าที่นำส่งคือใคร และต้องนำส่งภายในกี่วัน
ก. กรมสรรพสามิต , ภายใน 30 วัน
ข. กรมกิจการผู้สูงอายุ , ภายใน 30 วัน
ค. กรมศุลกากร , ภายใน 60 วัน
ง. กรมสรรพากร , ภายใน 60 วัน

ข้อ 31 ข้อใดสอดคล้องกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย
ก. กผส. จัดสรรจากเงินบำรุงกองทุน
ข. กผส. จัดสรรจากเงินบริจาคตรงตามวัตถุประสงค์
ค. กผส. เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงิน
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 32 พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้มี "การเสียเงินเพิ่ม" ในกรณีใด
ก. ไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน
ข. ส่งเงินบำรุงกองทุนล่าช้า
ค. ส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบถ้วน
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 33 จากคำถามข้อข้างต้น จะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราใด
ก. ร้อยละ 1 ต่อเดือน
ข. ร้อยละ 2 ต่อเดือน
ค. ร้อยละ 3 ต่อเดือน
ง. ร้อยละ 4 ต่อเดือน

ข้อ 34 จากข้อ 33 หากมีเศษ 3 วัน ไม่ถึงเดือน การคำนวณระยะเวลาที่ถูกต้องตามข้อใด
ก. ปัดทิ้ง
ข. นับเป็น 1 เดือน
ค. อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณ
ง. กองทุนผู้สูงอายุออกระเบียบเกี่ยวกับการคำนวณ

ข้อ 35 อัตราโทษตามมาตรา 15/6 คือข้อใด
ก. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับ 5 เท่าถึง 20 เท่า ของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5 เท่าถึง 20 เท่า ของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อ 36 ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนจะได้รับโทษตามข้อ 35 จะต้องมีการกระทำความผิด ยกเว้นข้อใด
ก. เจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงไม่ส่งเงินบำรุงกองทุน
ข. เจตนาส่งเงินบำรุงกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง
ค. เจตนาส่งเงินบำรุงกองทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด
ง. ข้อ ข. และ ค.

ข้อ 37 บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิต หากเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุก ต้องดำเนินการข้อใด
ก. สั่งปรับ
ข. เปรียบเทียบปรับ
ค. ไล่เบี้ย
ง. อายัด

ข้อ 38 คณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ ประกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมดกี่คน
ก. 9 คน
ข. 10 คน
ค. 11 คน
ง. 12 คน

ข้อ 39 ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน 
ก. จัดหาผลประโยชน์และจัดการกองทุนตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข. รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะรัฐมนตรี
ค. อนุมัติการจ่ายเงินตามระเบียบ กผส.
ง. บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบการเงินการคลัง

ข้อ 40 กฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนดให้ผู้สอบบัญชีของกองทุนผู้สูงอายุคือใคร
ก. กลุ่มตรวจสอบภายใน
ข. สำนักบัญชีและการคลัง
ค. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ง. สำนักวินัยการเงินการคลัง

ข้อ 41 รายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนผู้สูงอายุ จะต้องรายงานต่อใคร
ก. สตง.
ข. ปปง.
ค. กผส.
ง. ครม.

ข้อ 42 ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 คือใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 43 กำหนดระยะเวลาส่งงบดุลและบัญชีทำการ คือข้อใด
ก. ภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ข. ภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี 
ค. ภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ง. ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี

ข้อ 44 เงินช่วยเหลือในการจัดการศพผู้สูงอายุรายละเท่าใด
ก. 1,000 บาท
ข. 3,000 บาท
ค. 5,000 บาท
ง. ตามที่จ่ายจริง


เฉลย
ข้อ 1 ตอบ ค. มาตรา 3 "ผู้สูงอายุ" คือ ผู้มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย ข้อ ก. และ ข. ไม่ทราบอายุ ส่วนข้อ ค. เมื่อเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แสดงว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย เนื่องจากเป็นคุณสมบัติของบุคคลในการเข้ารับราชการ และเมื่อเกษียณอายุราชการตามกฎหมายแล้ว จึงถือเป็นผู้สูงอายุ
ข้อ 2 ตอบ ก. มาตรา 4 วรรคหนึ่ง (1) คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า กผส. มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
ข้อ 3 ตอบ ง. มาตรา 3 บัญญัติให้ "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ข้อ 4 ตอบ ค. มาตรา 3 ให้นิยามคำว่า "ผู้สูงอายุ" หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย
ข้อ 5 ตอบ ข. มาตรา 4 วรรคหนึ่ง (2) (3) บัญญัติให้ กผส. ประกอบด้วย ตำแหน่งรองประธานกรรมการ จำนวน 2 คน
ข้อ 6 ตอบ ค. มาตรา 4 วรรคหนึ่ง (2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง ในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ข้อ 7 ตอบ ง. พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120/ตอนที่ 130 ก/หน้า 1/31 ธันวาคม 2546 ซึ่งมาตรา 2 บัญญัติให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศฯ เป็นต้นไป จึงเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป
ข้อ 8 ตอบ ง. มาตรา 4 กำหนดองค์ประกอบของ กผส. ไว้ไม่เกิน 26 คน ดังนี้
ประธาน1คน
รองประธานคนที่หนึ่ง1คน
รองประธานคนที่สอง1คน
กรรมการโดยตำแหน่ง12คน
ผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้แทนองค์กรเอกชนไม่เกิน5คน (ได้ตั้งแต่1 ถึง 5 คน)
ผู้ทรงคุณวุฒิที่กรรมการทั้งหมดพิจารณาคัดเลือกไม่เกิน5คน (ได้ตั้งแต่1 ถึง 5 คน)
กรรมการและเลขานุการ1คน  
*กผส. มีทั้งหมดไม่เกิน26คน
**ระวังโจทย์หลอก องค์ประกอบขั้นต่ำ กผส.อย่างน้อยต้องประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด18คน
***ดังนั้น ตามกฎหมาย กผส. มีได้ตั้งแต่18 ถึง 26คน (ส่วนข้อเท็จจริงว่ามีกี่คนนั้น ขึ้นอยู่กับการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในช่วงเวลานั้น)
ข้อ 9 ตอบ ข. มาตรา 4 วรรคสอง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ ใน กผส. มี 2 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ และ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
*พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 (ดาวน์โหลดไฟล์) ได้ปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อีกครั้ง และมีผลต่อ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุฯ ที่สำคัญคือ 
- สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เฉพาะที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมกิจการผู้สูงอายุ 
- ผู้อำนวยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เป็นอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ
- สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ เป็นหน้าที่ของกรมกิจการผู้สูงอายุ
- ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ เป็นผู้อำนวยการสำนักในกรมกิจการผู้สูงอายุที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ 10 ตอบ ค. มาตรา 4 วรรคหนึ่ง (5) (6) คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ประเภท ในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ  
ข้อ 11 ตอบ ง. มาตรา 5 วรรคหนึ่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (ถ้าวาระไม่ติดต่อกัน เป็นได้หลายวาระ)
ข้อ 12 ตอบ ง. มาตรา 6 (6) การได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เป็นเหตุให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กผส. ต้องพ้นจากตำแหน่ง โดยไม่มีข้อยกเว้น (โดยทั่วไป กฎหมายอื่น ๆ มักจะกำหนดข้อยกเว้นจากการกระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ แต่ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ไม่ได้กำหนดข้อยกเว้นไว้แต่อย่างใด)
ข้อ 13 ตอบ ง. มาตรา 7 วรรคสี่ ให้ประชุมไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง
ข้อ 14 ตอบ ง. มาตรา 9 อำนาจหน้าที่ของ กผส. ส่วนข้อ ง. เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน ที่จะต้องบริหารให้เป็นไปตามระเบียบที่ กผส. กำหนด
ข้อ 15 ตอบ ง. มาตรา 9 (4) กผส. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารกองทุน โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
ข้อ 16 ตอบ ค. มาตรา 9 (10) กผส. มีหน้าที่เสนอรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศต่อ ครม. อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ข้อ 17 ตอบ ค. มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ รับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของ กผส. ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 มาตรา 20 (7) (ค) (ดาวน์โหลดไฟล์) ใช้บังคับ ให้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายเลขาฯ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นของกรมกิจการผู้สูงอายุ
ข้อ 18 ตอบ ค. กผส. "กำหนดนโยบายและแผนหลัก" เกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุน สถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุ และ "กำหนดแนวทางปฏิบัติตามนโยบายและแผนหลัก" ตามมาตรา 9 (1) (2) ส่วนสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ มีหน้าที่ "การจัดทำแนวทางปฏิบัติตามนโยบายและแผนหลัก" ตามมาตรา 10 (1)
*กผส. กำหนดนโยบายและแผนหลัก ==> สำนักส่งเสริมฯ จัดทำแนวทางปฏิบัติฯ เพื่อเสนอ กผส. ==>
กผส. พิจารณา กำหนดแนวทางปฏิบัติ (ตามที่ฝ่ายเลขาฯ เสนอให้พิจารณา)
**อำนาจหน้าที่ของสำนักส่งเสริมฯ ตามมาตรา 10 เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมกิจการผู้สูงอายุในปัจจุบัน 
ข้อ 19 ตอบ ง. ข้อ ก. - ค. เป็นสิทธิที่ผู้สูงอายุจะพึงได้รับ ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง (3) (6) (12)
ข้อ 20 ตอบ ง. มาตรา 11 วรรคหนึ่ง (11) ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ข้อ 21 ตอบ ง. มาตรา 11 วรรคหนึ่ง (12) ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี
ข้อ 22 ตอบ ง. มาตรา 14 กองทุนผู้สูงอายุ ประกอบด้วยเงินหรือทรัพย์สินหลายรายการตามที่กำหนด
ข้อ 23 ตอบ ข. มาตรา 15 ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ถือเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้แล้ว
ข้อ 24 ตอบ ค. พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับที่มาของเงินกองทุน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ
ข้อ 25 ตอบ ค. มาตรา 15/2 กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรมีหน้าที่ดำเนินการเรียกเก้บเงินบำรุงกองทุน เพื่อนำส่งเข้ากองทุนตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
ข้อ 26 ตอบ ข. มาตรา 15/1 วรรคหนึ่ง เงินบำรุงกองทุนผู้สูงอายุ เรียกเก็บจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบ
ข้อ 27 ตอบ ง. มาตรา 15/1 วรรคหนึ่ง อัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบ
ข้อ 28 ตอบ ข. มาตรา 15/1 วรรคสอง ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุน หากมีเศษของ 1 สตางค์ ให้ปัดทิ้ง
ข้อ 29 ตอบ ก. มาตรา 15/2 วรรคสาม ในปีงบประมาณใด มีเงินบำรุงกองทุนส่งเข้ากองทุนเกินสี่พันล้านบาท กรมกิจการผู้สูงอายุมีหน้าที่นำเงินส่วนที่เกินนั้นส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ภายใน 30 วัน นับจากวันที่กองทุนได้รับ
ข้อ 30 ตอบ ข. มาตรา 15/2 วรรคสาม เป็นหน้าที่ของกรมกิจการผู้สูงอายุ ที่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ภายใน 30 วัน นับจากวันที่กองทุนได้รับเงิน
ข้อ 31 ตอบ ง. มาตรา 15/3 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) มีหน้าที่จัดสรรเงินบำรุงกองทุน และเงินที่มีผู้บริจาคตามวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กผส. ได้กำหนดไว้
ข้อ 32 ตอบ ง. มาตรา 15/5 วรรคหนึ่ง เหตุที่จะต้องเสียเงินเพิ่มมี 3 กรณี ได้แก่ ไม่ส่งเงิน ส่งล่าช้า และส่งไม่ครบถ้วน
ข้อ 33 ตอบ ข. มาตรา 15/5 วรรคหนึ่ง ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งล่าช้าหรือส่งขาดไป นับแต่วันที่ครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบำรุงกองทุน
ข้อ 34 ตอบ ข. มาตรา 15/5 วรรคสอง เศษของเดือน ให้นับเป็น 1 เดือน
ข้อ 35 ตอบ ง. มาตรา 15/6 อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5 เท่าถึง 20 เท่า ของเงินบำรุงกองทุนที่จะต้องนำส่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 36 ตอบ ค. มาตรา 15/6 การส่งเงินบำรุงกองทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไม่มีโทษทางอาญา (กำหนดโทษไว้ สำหรับการกระทำตามข้อ ก. และ ข. เท่านั้น)
ข้อ 37 ตอบ ข. มาตรา 15/8 ให้อำนาจเปรียบเทียบปรับ
ข้อ 38 ตอบ ค. มาตรา 18 คณะกรรมการบริหารกองทุนมีทั้งหมด 18 คน
ข้อ 39 ตอบ ค. มาตรา 20 (2) คณะกรรมการบริหารกองทุน มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน ตามระเบียบที่ กผส. กำหนด
ข้อ 40 ตอบ ค. มาตรา 22 วรรคสอง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนผู้สูงอายุ
ข้อ 41 ตอบ ค. มาตรา 22 วรรคสอง สตง. ต้องเสนอรายงานผลการสอบบัญชีต่อ กผส.
ข้อ 42 ตอบ ง. มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มีผู้รักษาการตามกฎหมายนี้ 3 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และให้ผู้รักษาการมีอำนาจออกประกาศหรือระเบียบในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น
ข้อ 43 ตอบ ค. มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ภายใน 120 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี คณะกรรมการบริหารกองทุนต้องจัดทำงบดุลและบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีเพื่อตรวจสอบ
ข้อ 44 ตอบ ข. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ข้อ 4 (ดาวน์โหลดไฟล์) กำหนดให้รายละ 3,000 บาท

*****ขอให้โชคดีในการสอบครับ*****

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)