แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)


ข้อ 1 การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องออกเป็นกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติ
ข. พระราชกำหนด
ค. พระราชกฤษฎีกา
ง. กฎกระทรวง

ข้อ 2 กฎหมายตามข้อ 1 กำหนดหน่วยงานและกิจการใดที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 
ก. หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง
ข. กิจการด้านการศึกษา
ค. กิจการด้านความบันเทิงและนันทนาการ
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 3 โดยหลักทั่วไป พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับตั้งแต่วันใด
ก. 26 พฤษภาคม 2562
ข. 27 พฤษภาคม 2562
ค. 28 พฤษภาคม 2562
ง. 29 พฤษภาคม 2562

ข้อ 4 "บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล" คือความหมายตามข้อใด
ก. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ข. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ข้อ 5 ผู้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ค. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อ 6 ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรการหรือแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ง. คณะกรรมการร่วมสี่ฝ่าย

ข้อ 7 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ก. คณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวน 8 คน
ข. นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ได้รับคัดเลือกเป็นประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ค. ประธานกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
ง. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ออก

ข้อ 8 การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถ ต้องขอความยินยอมจากผู้ใด
ก. ผู้ปกครอง
ข. ผู้อนุบาล
ค. ผู้พิทักษ์
ง. พนักงานเจ้าหน้าที่

ข้อ 9 ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. โดยหลักทั่วไปผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะทำการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือขณะนั้น
ข. การขอความยินยอมต้องทำโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือเท่านั้น
ค. การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวมรวม ใช้ หรือเผยแพร่ด้วย
ง. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีอิสระในการให้ความยินยอม

ข้อ 10 ข้อใดมิใช่ข้อยกเว้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ก. เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของบุคคล
ข. เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ค. การจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

เฉลย
ข้อ 1 ตอบ ค. มาตรา 4 วรรคสอง ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ข้อ 2 ตอบ ง. พระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563 (คลิกดาวน์โหลด) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2564) (คลิกดาวน์โหลด) กำหนดหน่วยงานและกิจการตามข้อ ก , ข , และ ค ไม่อยู่ในบังคับกฎหมายดังกล่าว จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565*** 
ข้อ 3 ตอบ ค. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 69 ก วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และมาตรา 2 บัญญัติให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป  
หมายเหตุ คำถามข้อ 1 - ข้อ 3 มีความเกี่ยวเนื่องกัน และทำให้หลายคนเกิดความสับสน เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ยกเว้นบทบัญญัติในหมวด 2 หมวด 3 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 มาตรา 95 และมาตรา 96 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และต่อมาได้ถูกเลื่อนการบังคับใช้ออกไปอีกถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ดังนั้นวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถือว่าเป็นการบังคับใช้กฎหมายโดยสมบูรณ์ทั้งฉบับ แต่ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายฉบับนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เพราะบทบัญญัติที่ไม่ถูกยกเว้น บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 แล้ว
ข้อ 4 ตอบ ก. มาตรา 6 "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 5 ตอบ ข. มาตรา 7 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อ 6 ตอบ ข. มาตรา 16 (3) เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 7 ตอบ ข. มาตรา 10 วรรคสาม นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ประกาศรายชื่อประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี
ข้อ 8 ตอบ ข. มาตรา 20 วรรคสอง ต้องขอความยินยอมจากผู้อนุบาลที่มีอำนาจกระทำการแทนคนไร้ความสามารถ 
***มาตรา 20 
ผู้เยาว์ = ผู้ใช้อำนาจปกครอง 
คนไร้ความสามารถ = ผู้อนุบาล
คนเสมือนไร้ความสามารถ = ผู้พิทักษ์
ข้อ 9 ตอบ ข. มาตรา 19 วรรคสอง การขอความยินยอมต้องทำโดยชัดแจ้ง เป็นหนังสือหรือทำโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 
ข้อ 10 ตอบ ง. ตัวเลือกตามข้อ ก , ข และ ค เป็นข้อยกเว้น ซึ่งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 24 

***ลิ้งก์แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562***
***อ่านเพิ่มเติม กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (คลิกลิงก์)*** 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 5)