แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ


ข้อ 1 ข้อใดเป็นกลไกรองรับการจ้างงานตาม Government Employee System
ก. ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน
ข. ระบบการบริหารกำลังคง
ค. ระบบสัญญาจ้าง
ง. ระบบการบริหารงบประมาณ

ข้อ 2 กรอบอัตรากำลังพนักงานราชการมีกำหนดระยะเวลาในข้อใด
ก. 1 ปี
ข. 4 ปี
ค. 5 ปี
ง. 10 ปี

ข้อ 3 พนักงานราชการแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามข้อใด
ก. พนักงานราชการทั่วไป กับ พนักงานราชการเฉพาะกิจ
ข. พนักงานบริการ กับ พนักงานราชการพิเศษ
ค. พนักงานราชการทั่วไป กับ พนักงานราชการพิเศษ
ง. พนักงานราชการบริหารทั่วไป กับ พนักงานราชการวิชาชีพเฉพาะ

ข้อ 4 ข้อใดมิใช่ปรัชญาของระบบพนักงานราชการ
ก. เป็นทางเลือกการจ้างงานภาครัฐที่ยืดหยุ่น คล่องตัว
ข. เป็นการจ้างตามหลักสมรรถนะ และผลสัมฤทธิ์ของงาน
ค. ไม่เป็นการจ้างงานตลอดชีพ
ง. เน้นงานบริการทั่วไป 

ข้อ 5 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 เริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
ก. 1 มกราคม 2547
ข. 16 มกราคม 2547
ค. 17 มกราคม 2547
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ข้อ 6 ผู้ใดรักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 
ก. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ข. เลขาธิการคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ง. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ข้อ 7 เมื่อปี 2558 นาย ก. ออกจากเรือนจำเนื่องจากพ้นโทษจำคุกฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา เป็นเหตุให้ผู้นั้นได้รับอันตรายสาหัส หากนาย ก. ประสงค์จะสอบแข่งขันเข้าเป็นพนักงานราชการ ที่กำลังจะเปิดสอบในปี 2566 เช่นนี้ นาย ก. มีสิทธิสอบแข่งขันและได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. มีสิทธิ เนื่องจากโทษจำคุกที่ได้รับเกิดจากการกระทำโดยประมาท
ข. ไม่มีสิทธิ เนื่องจากเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม
ค. มีสิทธิ เนื่องจากได้พ้นโทษมาแล้วเกิน 5 ปี
ง. ไม่มีสิทธิ เนื่องจากโทษจำคุกที่ได้รับเกิดจากการกระทำโดยเจตนา

ข้อ 8 พนักงานราชการกระทำความผิดในข้อใดต่อไปนี้ ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก. ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานเป็นเวลาติดต่อกัน 7 วัน
ข. ประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย
ค. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ง. จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย

ข้อ 9 โทษสำหรับความผิดวินัยอย่างร้ายแรงคือข้อใด
ก. ปลดออก
ข. ไล่ออก
ค. ลดเงินค่าตอบแทน
ง. ถูกต้องทั้ง ก. และ ข.

ข้อ 10 ผู้เชี่ยวชาญในสาขาแรงงานสัมพันธ์ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ มีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี
ก. 2 ปี
ข. 3 ปี
ค. 4 ปี
ง. 5 ปี

ข้อ 11 วันลาพักผ่อนสะสมของพนักงานราชการสูงสุดต้องไม่เกินกี่วัน
ก. 10 วันทำการ
ข. 15 วันทำการ
ค. 20 วันทำการ
ง. 30 วันทำการ

ข้อ 12 พนักงานราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรได้กี่วัน
ก. 30 วัน
ข. 45 วัน
ค. 90 วัน
ง. 120 วัน

ข้อ 13 ข้อใดมิใช่โทษสำหรับความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงของพนักงานราชการ
ก. ภาคทัณฑ์
ข. ทัณฑ์บน
ค. ลดเงินค่าตอบแทน
ง. ตัดเงินค่าตอบแทน

ข้อ 14 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องแบบปฏิบัติงาน เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ
ก. ใช้อินธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินธนูของข้าราชการฝ่ายพลเรือนกับเครื่องแบบปกติในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการได้
ข. ใช้อินธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินธนูของลูกจ้างประจำกับเครื่องแบบปกติในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการได้
ค. เครื่องแบบพิธีการให้ใช้ในลักษณะอย่างเดียวกันกับลูกจ้างประจำ
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 15 นาง ข. ถูกส่วนราชการบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนดเวลาจ้าง โดยนาง ข. ไม่มีความผิดหลังจากปฏิบัติงานติดต่อกันมาแล้ว 9 ปี เช่นนี้ นาง ข. มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิดในข้อใด
ก. 3 เท่า ของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ
ข. 6 เท่า ของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ
ค. 8 เท่า ของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ
ง. ไม่มีสิทธิได้รับ

ข้อ 16 สิทธิการลาของพนักงานราชการมีกี่ประเภท

ก. 6 ประเภท

ข. 7 ประเภท

ค. 8 ประเภท

ง. 9 ประเภท


ข้อ 17 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร

ก. เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คลอดบุตร

ข. ลาได้ครั้งหนึ่งติดต่อกันไม่เกิน 15 วันทำการ

ค. ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาไม่เกิน 30 วันทำการ

ง. ต้องเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย


ข้อ 18 พนักงานราชการต้องสิ้นสุดสัญญาจ้างเมื่ออายุเท่าใด

ก. 55 ปี

ข. 55 ปีบริบูรณ์

ค. 60 ปี

ง. 60 ปีบริบูรณ์


เฉลยคำตอบ
ข้อ 1 ตอบ ค. ระบบพนักงานราชการ (Government Employee System) ใช้ระบบสัญญาจ้างเป็นกลไกรองรับการจ้างงาน ถือเป็นกลไกสำคัญในการบริหารพนักงานราชการ
ข้อ 2 ตอบ ข. ดูระเบียบฯ ข้อ 9 วรรคหนึ่ง ส่วนราชการต้องจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเป็นระยะเวลา 4 ปี ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ และแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ ตามแนวทางการจัดกรอบอัตราอัตรากำลังพนักงานราชการที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) กำหนด (ปัจจุบัน คพร. ได้อนุมัติการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการให้ส่วนราชการต่างๆ เป็นรอบที่ 5 (ปีงบประมาณ 2564 - 2567)) 
ข้อ 3 ตอบ ค. ดูระเบียบฯ ข้อ 6 พนักงานราชการมี 2 ประเภท ได้แก่ พนักงานราชการทั่วไป กับ พนักงานราชการพิเศษ
ข้อ 4 ตอบ ง. ข้อ ก. ข. และ ค. เป็นปรัชญาของระบบพนักงานราชการ ดูคู่มือการบริหารระบบพนักงานราชการ สำนักงาน ก.พ. (พ.ศ. 2563)
ข้อ 5 ตอบ ก. ดูระเบียบฯ ข้อ 2 กำหนดวันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป
ข้อ 6 ตอบ ง. ดูระเบียบฯ ข้อ 5 กำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรักษาการตามระเบียบ
ข้อ 7 ตอบ ค. ดูระเบียบฯ ข้อ 8 วรรคหนึ่ง (6) โดยหลักผู้ที่ได้ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการ จะต้องไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา แต่มีข้อยกเว้นคือ เป็นความผิดจากการประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษมาแล้วเกิน 5 ปี
ข้อ 8 ตอบ ค. ดูระเบียบฯ ข้อ 24 (8) การกระทำความผิดอาญาโดยมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือหนักกว่าโทษจำคุก ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 9 ตอบ ข. ดูระเบียบฯ ข้อ 25 วรรคหนึ่ง ถ้าผลการสอบสวนปรากฏว่าพนักงานราชการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีคำสั่งไล่ออก (พนักงานราชการไม่มีโทษปลดออก)
ข้อ 10 ตอบ ก. ดูระเบียบฯ ข้อ 35 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
ข้อ 11 ตอบ ข. ดูประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 วันลาพักผ่อนสะสมสูงสุดไม่เกิน 15 วันทำการ
ข้อ 12 ตอบ ค. ดูประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 ลาคลอดบุตรได้ 90 วัน (ได้ค่าตอบแทนระหว่างลาไม่เกิน 45 วัน)
ข้อ 13 ตอบ ข. ดูระเบียบฯ ข้อ 26 โทษทางวินัยไม่ร้ายแรงได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินค่าตอบแทน และลดเงินค่าตอบแทน
ข้อ 14 ตอบ ค. ดูระเบียบฯ ข้อ 12 และประกาศ คพร. เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 เครื่องแบบพิธีการให้ใช้ในลักษณะอย่างเดียวกันกับลูกจ้างประจำ (หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0106/2137 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2555 ตอบข้อหารือว่า พนักงานราชการไม่ใช่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนและไม่ใช่ลูกจ้างประจำ จึงไม่สามารถนำอินธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินธนูของเครื่องแบบปฏิบัติราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือเครื่องแบบปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำ ไปใช้กับเครื่องแบบปกติในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ)
ข้อ 15 ตอบ ค. ดูประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวน 8 เท่า ของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันที่ออกจากราชการโดยไม่มีความผิด
ข้อ 16 ตอบ ข. ปัจจุบันพนักงานราชการมีสิทธิลา 7 ประเภท ได้แก่ 1) ลาป่วย 2) ลาคลอดบุตร 3) ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร 4) ลากิจส่วนตัว 5) ลาพักผ่อน 6) ลาเพื่อรับราชการทหาร และ 7) ลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ ตามประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566)
ข้อ 17 ตอบ ค. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการ ตามข้อ 5 (2/1) ของประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566)
ข้อ 18 ตอบ ง. พนักงานราชการต้องสิ้นสุดสัญญาจ้างเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่พนักงานราชการมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เนื่องจากข้อ 4 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2551 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2519 กำหนดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ตามหนังสือคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.5/15 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560

ดาวน์โหลดไฟล์ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)