รัฐธรรมนูญ' 64 แก้ไขที่มาของ ส.ส.


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 ได้แก้ไขที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และหลักเกณฑ์ในการคำนวณคะแนนเสียงเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะเริ่มใช้บังคับสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปที่จะมีขึ้นในครั้งหน้า

1. ที่มาของ ส.ส. 
  1.1 ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ คือ
      - แบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน 
      - แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน 

  1.2 การเลือกตั้ง ส.ส. ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยใช้บัตรเลือกตั้งแบบละ 1 ใบ

  1.3 หากตำแหน่ง ส.ส. ว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้งหรือประกาศชื่อ ส.ส. ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ ส.ส. ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่

  1.4 หาก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนไม่ถึง 100 คน ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่

2. หลักเกณฑ์การกำหนดจำนวน ส.ส. แต่ละจังหวัด 
  2.1 ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวน ส.ส. 400 คน จำนวนที่ได้ ให้ถือว่าเป็นจำนวนราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน

  2.2 จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน ก็ให้มี ส.ส. ในจังหวัดนั้นได้ 1 คน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

  2.3 จังหวัดใดมีราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน ให้มี ส.ส. ในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ต่อจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน

  2.4 เมื่อได้จำนวน ส.ส. ของแต่ละจังหวัดแล้ว ถ้ายังไม่ครบ 400 คน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณมากที่สุด ให้มี ส.ส. เพิ่มขึ้นอีก 1 คน และให้เพิ่ม ส.ส. ตามวิธีการนี้แก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจาการคำนวณ ในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบ 400 คน

  2.5 จังหวัดใดมีการเลือกตั้ง ส.ส. ได้เกิน 1 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวน ส.ส. ที่พึงมี โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน

3. หลักเกณฑ์การคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้ง ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศ แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น

4. บทเฉพาะกาล
หลักเกณฑ์ดังกล่าว จะใช้บังคับเมื่อมีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปครั้งแรก หลักจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนี้ โดยในระหว่างที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป ก็ให้ ส.ส. มีที่มาและหลักเกณฑ์ตามเดิม


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 (ชุดที่ 1)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

สาระสำคัญ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (44 ข้อ)