คดีนี้สืบเนื่องมาจาก ในคดีอาญา พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยฟ้องนาย ว. จำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และนาย ส. จำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานในความผิดดังกล่าว ต่อมาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 ปี จำเลยที่ 2 กำหนด 2 ปี จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี ปรับ 10,000 บาท รอการลงโทษ 2 ปี และคุมความประพฤติไว้ 1 ปี และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาโดยอัยการสูงสุดรับรอง และโจทก์ยื่นคำฟ้องฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา และยื่นคำฟ้องฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าไม่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย มีคำสั่งไม่อนุญาต ยกคำร้อง และไม่รับฎีกา จำเลยที่ 1 โต้แย้งว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น