โครงสร้าง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561


พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตราขึ้นเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพ และมั่นคงอย่างยั่งยืนตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกรอบการดำเนินการทางการคลังและงบประมาณของรัฐ การกำหนดวินัยทางการคลัง ด้านรายได้และรายจ่ายทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ การบริหารทรัพย์สินของรัฐและเงินคงคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะ

กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งสิ้น 87 มาตรา โดยมีโครงสร้างทางกฎหมายดังนี้
บทบัญญัติทั่วไป
หมวด 1 บททั่วไป
หมวด 2 นโยบายการเงินการคลัง
    ส่วนที่ 1 คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ
    ส่วนที่ 2 การดำเนินการทางการคลังและงบประมาณ
หมวด 3 วินัยการเงินการคลัง
    ส่วนที่ 1 รายได้
    ส่วนที่ 2 รายจ่าย
    ส่วนที่ 3 การจัดให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและการบริหารทรัพย์สินของรัฐ
    ส่วนที่ 4 การก่อหนี้และการบริหารหนี้
    ส่วนที่ 5 เงินนอกงบประมาณและทุนหมุนเวียน
    ส่วนที่ 6 การคลังท้องถิ่น
หมวด 4 การบัญชี การรายงาน และการตรวจสอบ
หมวด 5 การตรวจเงินแผ่นดิน
บทเฉพาะกาล
#นักเรียนกฎหมาย
16 สิงหาคม 2563

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566