จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา


   ฎีกาของจำเลยฉบับลงวันที่ 19 เมษายน 2562 จำเลยอ้างว่ามิได้กระทำความผิด ขอให้ยกฟ้อง ต่อมาจำเลยยื่นฎีกาฉบับลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 โดยศาลชั้นต้นรับเป็นคำแถลงการณ์ เนื่องจากยื่นเกินกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา แต่ตามเนื้อหาเป็นการขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา ซึ่งแม้จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะการแก้ไขคำให้การจะต้องกระทำก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสอง แต่การที่จำเลยยื่นคำแถลงการณ์โดยขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงโดยไม่โต้แย้งข้อที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยอีกต่อไปว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่

อ้างอิง
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2563
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
  มาตรา 163 บัญญัติว่า "เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้ เมื่ออนุญาตแล้วให้ส่งสำเนาแก้ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จำเลยเพื่อแก้ และศาลจะสั่งแยกสำนวนพิจารณาฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้
   เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของเขาก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ส่งสำเนาแก่โจทก์"
#นักเรียนกฎหมาย
7 สิงหาคม 2563

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 5)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 6)