หลักสูตรการอบรมผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยความเห็นชอบของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข ได้ออก ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดหลักสูตรการอบรมผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2563 ให้เป็นไปตาม กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัตินักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยการอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยหัวข้อวิชา ต่อไปนี้

1) หมวดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและขั้นตอนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
    ก. ความยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็ก
    ข. กระบวนการสืบสวนสอบสวน
    ค. การดำเนินคดีอาญาและการสืบพยานสำหรับเด็ก
    ง. ความรู้ว่าด้วยพยานหลักฐานในคดีที่มีเด็กเข้ามาเกี่ยวข้อง
    จ. กฎหมายเกี่ยวกับการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน
    ฉ. แนวคิดและหลักการสืบพยานเด็ก
    ช. ความผิดที่เด็กและเยาวชนมักกระทำผิดหรือตกเป็นผู้เสียหาย

2) หมวดความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาและการสังคมสงเคราะห์
    ก. จิตวิทยาพัฒนาการเด็ก วัยรุ่น และความรู้ด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
    ข. พยาธิสภาพและผลกระทบของเด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมและถูกทอดทิ้ง
    ค. เทคนิคในการสัมภาษณ์ การสังเกต และการช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ
    ง. เทคนิคการให้การปรึกษา
    จ. การทำงานแบบสหวิชาชีพ
    ฉ. บทบาทหน้าที่และการเตรียมความพร้อมของนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
    ช. หลักการ วิธีการทางสังคมสงเคราะห์และจรรยาบรรณในการทำงานกับเด็กในกระบวนการยุติธรรม

3) หมวดความรู้ว่าด้วยการกระทำทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก
    ก. การกระทำทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็ก
    ข. การพิสูจน์ทราบการกระทำทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็ก
    ค. กระบวนการช่วยเหลือ เยียวยาทางจิตใจ และบำบัดฟื้นฟูเด็กที่ถูกทารุณกรรม

4) หมวดความรู้เสริมและอื่นๆ
    ก. การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (สำหรับการปฏิบัติงานสืบพยานเด็ก)

ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้ารับการอบรมตามหัวข้อวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สำหรับการประเมินผลการฝึกอบรมและการทดสอบความู้ ประกอบด้วย
    1. การทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรมรายวิชา ร้อยละ 5
    2. การมีส่วนร่วมในการประชุมและเข้ารับการอบรม ร้อยละ 15
    3. การมีส่วนร่วมในการประชุมกลุ่มย่อยรูปแบบต่างๆ ร้อยละ 30
    4. การประเมินเจตคติ และการสอบรวมก่อนสิ้นสุดการอบรม ร้อยละ 50
โดยผู้เข้ารับการอบรม จะต้องสอบผ่านในคะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

ที่มา ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดหลักสูตรการอบรมผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2563 (คลิกดูประกาศและเนื้อหาหลักสูตร)
#นักเรียนกฎหมาย
9 ตุลาคม 2563

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 (ชุดที่ 1)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

สาระสำคัญ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (44 ข้อ)